รู้ทัน “โรคดึงผมตัวเอง” สาเหตุ อาการ การรักษา วิธีแก้ไข

โรคดึงผมตัวเอง

โรคดึงผม เป็นโรคทางจิตเวชอย่างหนึ่งที่ส่งผลมากกับการใช้ชีวิต บุคลิกภาพ และรูปลักษณ์ โรคจะทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ ทั้งดึงผม กัดเล็บ กัดปาก ถอนขนตัวเอง จนมีปัญหากับการเข้าสังคม และสูญเสียความมั่นใจจากผมที่หายไปเป็นหย่อมหลังการดึงผม

ดังนั้นหากไม่รีบรักษาให้ผมกลับมาอยู่ในสภาพเดิม อาจจะทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้ในที่สุด แต่การดึงผมตัวเองเป็นโรคได้อย่างไร? โรคดึงผม เกิดจากอะไร? วิธีแก้โรคดึงผมด้วยตัวเองต้องทำอย่างไรบ้าง ในบทความนี้ Absolute Hair Clinic จะให้ความรู้ทั้งหมดเกี่ยวกับโรคดึงผม

โรคดึงผมตัวเอง (Trichotillomania)

โรคดึงผม (Trichotillomania) คือโรคเกี่ยวกับภาวะทางจิตใจ ที่เมื่อดึงผมแล้ว จะรู้สึกผ่านคลาย หรือสบายใจมากขึ้น คนที่เป็นโรคนี้จะดึงผมซ้ำไปเรื่อยๆทั้งวัน เป็นเวลานานติดต่อกัน จนทำให้ผมร่วง ผมหายเป็นหย่อม หรือศีรษะล้านในที่สุด

คนเป็นโรคนี้อาจจะไม่ได้ทำแค่ดึงผมตัวเอง อาจจะใช้มือม้วนผมบ่อยๆ ดึงขนในส่วนอื่นๆของร่างกาย เช่นขนคิ้ว ขนตา บางคนก็จะแกะผิวหนัง กัดเล็บ กับปาก กระทั่งดึงขนสัตว์เลี้ยง ตุ๊กตา หรือดึงขนจากสิ่งของต่างๆก็มี บางคนก็กินผมที่ดึงออกมาเข้าไปด้วย จนอาจจะมีปัญหาเกี่ยวกับทางเดินอาหารในภายหลัง

โรคดึงผมตัวเองมักจะพบในวัยรุ่นเป็นส่วนใหญ่ มักพบในช่วงอายุ 10 – 17 ปี หากพบในผู้ใหญ่ ส่วนใหญ่จะเป็นเคสเรื้อรังที่เป็นมาตั้งแต่วัยรุ่น และไม่ได้เข้ารับการรักษาที่ถูกต้อง เคสที่พบในผู้ใหญ่จะพบในผู้หญิงได้มากกว่าผู้ชาย แต่สถิตินี้เป็นการเก็บจากผู้เข้ารับการรักษาเท่านั้น ในผู้ชายอาจจะมีผู้ป่วยจำนวนเท่าก็ได้ เพียงแค่ไม่ได้มาพบแพทย์กันมากเหมือนผู้หญิง

โรคดึงผม เกิดได้ทั้งตอนรู้ตัวและไม่รู้ตัว

โรคดึงผม จะแบ่งพฤติกรรมของผู้ป่วยออกเป็น 2 อย่างหลักๆ คือการดึงผมแบบรู้ตัว และไม่รู้ตัว

1. ดึงผมตัวเองแบบรู้ตัว (Focused)

เป็นการดึงผมที่ผู้ป่วยตั้งใจดึงจากภาวะทางอารมณ์บางอย่าง อาจจะมาจากการไม่พึงพอใจในผมของตัวเอง เห็นบางเส้นชี้ หรือหงิกเกินไป เมื่อดึงออกก็จะสบายใจขึ้น บางคนอาจจะรู้สึกคันยุบยิบ หรือเจ็บแปลบที่ศีรษะ เมื่อได้ดึงผมออก อาการเหล่านั้นจะหายไป บางคนจึงเรียกโรคนี้ว่าโรคดึงผมคัน

ผู้ป่วยบางคนก็ดึงผมเพราะเครียด ดึงผมเพื่อระบายอารมณ์ บางคนทำไปเพราะแค่รู้สึกว่าสบายใจที่ได้ดึงผมบ้าง หรือเพียงแค่อยากดึงเฉยๆก็มี ผู้ป่วยที่รู้ตัวแต่ก็ยังดึงผม ส่วนใหญ่จะรู้สึกว่ายั้งมือตัวเองไม่ได้ ดึงแล้วก็อยากดึงอีกไปเรื่อยๆไม่มีที่สิ้นสุด

2. ดึงผมตัวเองแบบไม่รู้ตัว (Automatic)

ผู้ที่ดึงผมแบบไม่รู้ตัว มักจะทำในเวลาที่เผลอ จากความคิดหรืออารมณ์บางอย่าง เช่นความเครียด เบื่อ เหงา เสียใจ หงุดหงิด บางคนก็ดึงในตอนที่ทำอะไรเพลินๆ เช่นอ่านหนังสือ หรือดูโทรทัศน์

ผู้ป่วยแบบนี้มักดึงผมไปโดยที่ตัวเองไม่รู้ตัว คนรอบข้างจึงต้องช่วยสังเกตุพฤติกรรม และเตือนดีๆเมื่อผู้ป่วยกำลังดึงผม ห้ามดุหรือใช้คำพูดรุนแรง เพราะอาจจะทำให้อาการแย่ลงได้

ส่วนใหญ่ผู้ที่เป็นโรคดึงผมตัวเอง มักจะมีอาการทั้งสองแบบผสมกัน ทั้งที่รู้ตัว และไม่รู้ตัว ทั้งนี้ตัวผู้ป่วยและคนรอบข้างจะต้องช่วยกันสังเกตุ เมื่อสงสัยว่าเป็นโรคนี้ก็ควรรีบรักษาแพทย์ หากปล่อยไว้จะกลายเป็นโรคเรื้อรังที่แก้ไขยาก อาจจะทำให้ศีรษะล้านจนเกิดความเครียด และเป็นโรคทางจิตอื่นๆร่วมด้วยได้ เช่น โรคซึมเศร้า หรือโรควิตกกังวลประเภทต่างๆ

อาการของโรคดึงผมตัวเอง

โรคดึงผม อาการ

โรคดึงผม อาการของโรคจะเกี่ยวกับพฤติกรรมทั้งหมด เนื่องจากเป็นโรคที่ผู้ป่วยจะมีปัญหามากเกี่ยวกับการยับยั้งช่างใจ โดยอาการของโรคมีดังนี้

  • ชอบดึงผมตัวเองหรือขนในร่างกาย ดึงซ้ำๆ และหยุดตัวเองไม่ได้
  • เมื่อพยายามหยุดจะรู้สึกอยากดึงมากขึ้นไปอีก หยุดดึงผมไม่ได้ อาจจะรู้สึกเครียดเพิ่มขึ้นเมื่อไม่ได้ดึง
  • เมื่อได้ดึงผมจะรู้สึกสบายใจขึ้น รู้สึกดี หรือพึงพอใจ
  • จะมีวิธีการดึงผมที่เป็นรูปแบบ อาจจะมีลักษณะการดึงที่ชอบที่สุด หรือลักษณะเส้นผมที่ชอบดึงที่สุด
  • รู้สึกว่าผมหายไปบางส่วน ผมร่วง ผมบาง ผมหายเป็นหย่อม หรือศีรษะล้าน
  • นำผมที่ดึงแล้วมาเล่นต่อ เช่น ใช้ฟันกัด เคี้ยว หรือกินผมเข้าไป บางคนจะนำผมที่ดึงมาดู อาจจะเล่นส่วนที่เป็นรากผม หรือนำเส้นผมมาลูบตามใบหน้าและริมฝีปาก
  • พยายามหยุดดึง หรือดึงผมให้น้อยลง แต่ไม่สำเร็จ
  • การดึงผมเริ่มมีปัญหากับการใช้ชีวิตประจำวัน มีปัญหากับคนรอบข้าง หรือไม่สามารถเข้าสังคมได้
  • บางคนจะพยายามปกปิดอาการของตนเอง ดึงผมแค่ในที่ลับตาคน หรืออาจจะใส่วิก ใส่หมวกเพื่อซ่อนสภาพหนังศีรษะไว้

สาเหตุของโรคดึงผมตัวเอง

การแพทย์ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของโรคที่แน่ชัด แต่ก็สันนิษฐานว่าน่าจะเกิดจากสภาพแวดล้อมเป็นหลัก และอาจจะถ่ายทอดต่อกันได้ทางพันธุกรรมด้วย เนื่องจากคนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคนี้ทั้งในเด็ก วัยรุ่น และผู้ใหญ่ มักจะมีประวัติว่าคนในครอบครัวเคยเป็นโรคดึงผมมาก่อน

นอกจากสาเหตุด้านสิ่งแวดล้อมและพันธุกรรม ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ก็มีโอกาสที่จะเป็นโรคดึงผมตัวเองได้มากกว่าคนปกติ โดยปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวมีดังนี้

ปัจจัยเสี่ยงของโรคดึงผมตัวเอง

  • อายุ ช่วงวัย

โรคดึงผมตัวเองเกิดได้ในทุกช่วงวัย ตั้งแต่เด็ก วัยรุ่น และวัยผู้ใหญ่ ซึ่งในแต่ละช่วงวัยจะมีความรุนแรงของโรคต่างกัน ดังนี้

ลูกชอบดึงผมตัวเอง โรคดึงผมในเด็ก

วัยเด็ก – เด็กมักทำโดยไม่รู้ตัว ไม่ค่อยเก็บซ่อนอาการของโรค สังเกตง่าย รักษาง่าย อาจจะแค่บอกหรือเตือนให้เปลี่ยนพฤติกรรม หรืออาจจะปรึกษาจิตแพทย์เด็ก สามารถรักษาให้หายได้โดยไม่ต้องใช้ยา

วัยรุ่น – อาจจะเกิดเพราะปัญหาการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน จึงส่งผลต่ออารมณ์และการแสดงออกในเรื่องต่างๆ หรืออาจจะมีปัญหาทางจิตอื่นๆร่วมด้วยได้ หากเป็นควรรีบพบแพทย์ เพราะถ้าปล่อยไว้ก็จะเป็นอย่างเรื้อรัง รักษายาก อาจจะต้องใช้ยารักษา

วัยผู้ใหญ่ – ส่วนใหญ่จะเป็นอาการเรื้อรังที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ช่วงวัยรุ่น รักษายาก อาจจะต้องใช้ยารักษาร่วมด้วย และอาจจะเกิดพร้อมกับอาการทางจิตอื่นๆได้ หากรู้ตัวควรรีบพบแพทย์เพื่อรักษา เนื่องจากหากปล่อยไว้อาจจะเป็นมากขึ้น หรือมีผลกระทบอื่นๆตามมาได้

  • โรคทางจิตเวช

โรคทางจิตอื่นๆ อาจจะส่งผลให้เกิดการดึงผมตัวเองได้ จนกลายเป็นโรคดึงผมตัวเองร่วมด้วยในที่สุด ตัวอย่างโรคทางจิต เช่น โรคซึมเศร้า (Major Depressive Disorder) และโรควิตกกังวลประเภทย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive-compulsive disorder หรือ OCD)

  • ความผิดปกติของสมอง หรือสารเคมีในสมอง

ส่วนใหญ่เป็นความผิดปกติในส่วนที่ควบคุมการกระทำ ไม่สามารถควบคุมตัวเองเพื่อไม่ให้ทำพฤติกรรมบางอย่างได้ หรือไม่สามารถควบคุมอารมณ์ การเคลื่อนไหว และนิสัยบางอย่าง ดังนั้นอาจจะมีผลต่ออารมณ์ และทำให้แสดงออกอย่างผิดปกติ เช่น ดึงผมเมื่อรู้สึกแย่ อารมณ์ไม่ดี หรือเผลอดึงผมตัวเองโดยที่ควบคุมไม่ได้ ห้ามตัวเองไม่ได้

  • สมาธิสั้น

ผู้ป่วยโรคสมาธิสั้นมักมีปัญหาในการควบคุมตัวเอง การดึงผมก็อาจจะเป็นพฤติกรรมหนึ่งที่ผู้ป่วยทำอย่างควบคุมไม่ได้

  • ความเครียด

ความเครียดทำให้สมดุลในร่างกายผิดเพี้ยนไป จนอาจจะทำให้ฮอร์โมน หรือสารเคมีในสมองผิดปกติได้ ในขณะเดียวกัน ความเครียดก็อาจจะทำให้เรารู้สึกอยากทำอะไรบางอย่างระบายความเครียดออกมา ซึ่งการระบายความเครียดดังกล่าว อาจจะเป็นการดึงผมก็ได้

ความเครียด ดึงผมตัวเอง จึงเป็นสิ่งที่พบร่วมกันได้บ่อย ผู้ป่วยบางคนรู้สึกว่าดึงผมเวลาเครียดแล้วรู้สึกดี รู้สึกสบายใจขึ้น ก็จะทำให้ยิ่งดึงผมไปเรื่อยๆ ทั้งรู้ตัวและไม่รู้ตัว เกิดเป็นโรคดึงผมในที่สุด

ผลกระทบที่เกิดจากโรคดึงผม

โรคดึงผม ผมบาง ผมร่วง

  • ผมบาง ผมร่วงเป็นหย่อม และศีรษะล้านจากการดึงผม – ผมที่ขึ้นมาใหม่หลังการดึงผมจะเส้นเล็ก และบางกว่าผมเดิม นอกจากนี้การดึงผมมากๆ ก็อาจจะหนังศีรษะอักเสบจนเกิดเป็นแผลเป็นได้ ทำให้ผมไม่ขึ้นอย่างถาวร
  • เสียความมั่นใจ ทำให้มีปัญหาในการเข้าสังคม – เนื่องจากผมร่วง ศีรษะล้าน ส่งผลต่อจิตใจ ทำให้รู้สึกแย่กับตัวเอง และสูญเสียความมั่นใจไปจนไม่กล้ามีเพื่อน หรือเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสังคม
  • เป็นโรคทางจิตเวชอื่นๆ – เกิดจากการเสียความมั่นใจ และความรู้สึกแปลกแยกจากสังคม อาจจะทำให้เกิดความเครียดทางอารมณ์ (Emotional Distress) และนำไปสู่การเกิดภาวะซึมเศร้าได้ (Depressed)
  • ทำให้เป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร – เกิดในกรณีที่กินผมเข้าไปหลังจากดึงผมออก ถ้ากินเข้าไปมากๆ จะเกิดการอุดตันในทางเดินอาหาร เพราะร่างกายของเราไม่สามารถย่อยเส้นผมได้ เมื่อก้อนเส้นผมไปขวางทางเดินอาหาร ก็จะเกิดเป็นลำไส้อุดตัน ขาดสารอาหารได้

เมื่อไหร่ที่ควรพบแพทย์

ถ้าเป็นโรคดึงผมตัวเองที่เกิดในผู้ใหญ่ หรือวัยรุ่น ควรพบแพทย์ทันทีเมื่อรู้ตัวว่าเป็น เพราะยิ่งหายเร็ว ก็จะยิ่งเป็นผลดี จะได้ไม่เกิดผลกระทบอื่นๆตามมา

ผู้ป่วยอาจจะลองเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยตัวเองดูก่อนก็ได้ เริ่มจากต้องรู้ตัวก่อนว่ากำลังดึงผม และทุกครั้งที่รู้ตัว ไม่ว่าจะรู้ด้วยตัวเอง หรือมีคนอื่นเตือนก็ตาม ให้หยุดดึงผมทันที อาจจะหาอะไรทำเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจของตนเอง หากทำได้ อาการจะค่อยๆดีขึ้น และหายไปเอง

หากทำไม่ได้ ก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิดอะไร เพราะบางครั้งโรคไม่ได้เกิดแค่เพราะภาวะจิตใจ แต่สมองก็อาจจะมีบางอย่างผิดปกติด้วย ทำให้หยุดดึงผมไม่ได้แม้จะพยายามมากแค่ไหนก็ตาม

เมื่อไหร่ที่พยายามห้ามตัวเองแล้วห้ามไม่ได้ การดึงผมเริ่มติดเป็นนิสัย เริ่มเป็นปัญหาที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตของตนเองและคนรอบข้าง ผมเริ่มหายไปจนเห็นหนังศีรษะ ผมบาง ศีรษะล้าน ก็ให้รีบพบแพทย์ได้แล้ว

ในช่วงแรก แพทย์จะแนะนำให้พบกับจิตแพทย์ก่อน เมื่อจิตแพทย์รักษาพฤติกรรมดึงผมแล้ว จึงค่อยมารักษาอาการผมบาง ผมร่วงเป็นหย่อม และศีรษะล้านจากแพทย์ด้านเส้นผมและหนังศีรษะในภายหลัง

กำลังกังวลเรื่องผมที่ร่วงไปจากการดึงผม ผมงอกใหม่บางและเส้นเล็ก ผมไม่งอกเนื่องจากแผลเป็นหลังรักษาโรคดึงผม สามารถส่งรูปเข้ามาเพื่อปรึกษาแพทย์จาก Absolute Hair Clinic ได้ที่ Line: @Absolutehairclinic

วิธีรักษาโรคดึงผม

การดึงผมตัวเอง

โรคดึงผมตัวเอง วิธีรักษาส่วนใหญ่จะเป็นการปรับพฤติกรรม โดยวิธีการนี้เรียกว่า Habit Reversal Training หรือ HRT เป็นการรักษาโดยการทำให้ผู้ป่วยรู้ตัวเองก่อนว่ากำลังดึงผมอยู่

ผู้ป่วยบางคน อาจจะไม่รู้ตัวเลยว่าตัวเองเป็นโรคดึงผม หรือไม่ยอมรับว่าตัวเองป่วย การไม่ยอมรับตัวเอง อาจจะทำให้ผู้ป่วยคิดว่าตัวเองเป็นปกติ และไม่ยอมให้ความร่วมมือในการรักษา ไม่ยอมปรับพฤติกรรม จิตแพทย์ก็จะต้องเริ่มจากทำให้ผู้ป่วยเรียนรู้และยอมรับพฤติกรรมการดึงผมของตัวเองก่อน

เมื่อรู้ตัวแล้ว จึงค่อยพยายามห้ามตัวเอง เวลาที่ผู้ป่วยรู้สึกอยากดึงผม แพทย์จะให้กำมือ หรือเมื่อรู้ตัวว่ากำลังจะดึงผมให้เปลี่ยนจากจับผม มาเป็นจับหูแทน เพื่อไม่ให้ใช้มือไปดึงผมอีก และเป็นการเบี่ยงความสนใจออกจากผมด้วย

นอกจากสองวิธีนี้ก็มีวิธีทางจิตวิทยาที่ช่วยปรับพฤติกรรมอีกมากมาย ถ้าใช้วิธีหนึ่งไม่ได้ผล แพทย์จะเปลี่ยนให้ไปใช้วิธีอื่นไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเจอวิธีที่ได้ผลมากที่สุด

นอกจากนี้ สาเหตุหนึ่งของโรคดึงผมตัวเองคือความผิดปกติของสารเคมีในสมอง จิตแพทย์จึงต้องใช้ยาร่วมด้วยในการรักษา อย่างเช่นยากล่อมประสาทโคลมิพรามีน (Clomipramine) หรือยาต้านซึมเศร้าในกลุ่ม SSRI ที่จะช่วยเพิ่มเซราโทนินในสมอง

นอกจากยาแล้ว แพทย์อาจจะให้ทานอาหารเสริมบางอย่างที่เป็นผลดีต่อระบบประสาทและสมอง และมีผลดีต่อการทำงานของสมองส่วนที่เกี่ยวกับอารมณ์ เช่น กรดอะมิโน

หากรู้สึกว่าตนเองหรือคนรอบข้างกำลังเริ่มเป็นโรคดึงผม อาจจะลองรักษาเบื้องต้นที่บ้านก่อน หากหายเองได้ก็อาจจะไม่ต้องเข้าพบจิตแพทย์

วิธีแก้ไขอาการชอบดึงผมตัวเองเบื้องต้น

วิธีแก้ วิธีรักษา โรคดึงผมตัวเอง

  • เพิ่มสมาธิ เพื่อให้รู้ตัวว่าตนเองกำลังดึงผมอยู่หรือเปล่า จะได้สามารถห้ามตัวเองได้ทัน เช่นการกำหนดลมหายใจ จดจ่อกับสิ่งที่ทำ เมื่อมีสมาธิมากขึ้น ความอยากดึงผมจะหายไปได้
  • หาอะไรทำเพื่อจดจ่อกับสิ่งใหม่ เบนความสนใจออกจากการดึงผม เช่นการใช้ของเล่นเสริมสมาธิ (Fidget toys) หรืออาจจะแค่หาอะไรให้มือบีบไปเรื่อยๆก็ได้
  • หาอะไรทำให้ตัวเองไม่ได้อยู่ว่างๆ เช่น การออกกำลังกาย
  • ตัดผมให้สั้นลง และใส่หมวกหรือผ้าโพกหัวที่แนบกับศีรษะเพื่อให้จับผมได้ยากขึ้น
  • แปะพลาสเตอร์ที่ปลายนิ้ว เพื่อให้ใช้มือดึงผมได้ยากขึ้น

ปัญหาใหญ่อีกอย่างหนึ่งหลังจากรักษาหายแล้ว คืออาการผมบาง ผมร่วงเป็นหย่อม ศีรษะล้าน ซึ่งอาจจะมีผลต่อความมั่นใจในตนเอง การเข้าสังคม ความเครียด จนสุดท้ายอาจจะเป็นโรคซึมเศร้า และกลับมาดึงผมแบบเดิมได้

ดังนั้นหลังจากรักษาอาการทางจิตหายดีแล้ว จิตแพทย์จะส่งต่อคนไข้ให้กับแพทย์ด้านเส้นผมและหนังศีรษะเพื่อรักษาอาการผมร่วง ให้กลับมาเป็นปกติดังเดิม

ผมบาง ผมร่วงเป็นหย่อม หรือศีรษะล้าน ในบางกรณีอาจจะไม่ต้องรักษา เพราะการดึงผมบางลักษณะไม่ได้ทำให้ผมร่วงอย่างถาวร หากรอให้ผมขึ้นสักระยะหนึ่งก็จะสามารถกลับมาเป็นปกติได้

แต่ในบางกรณี การดึงผมบ่อยๆ อาจจะเป็นการทำร้ายรากผม จนไม่สามารถสร้างผมให้หนาเท่าเดิมได้ หรืออาจจะสร้างแผลเป็นจนทำให้ผมในบริเวณนั้นไม่สามารถขึ้นได้อีก

โดยหากอาการผมบางเกิดจากรากผมอ่อนแอ แพทย์จะให้รักษาโดยการทำ PRP ผม, ฉีดสเต็มเซลล์ผม, ทำเลเซอร์ LLLT, Fotona Laser หรือใช้ยาแก้ผมร่วง เพราะการรักษาเหล่านี้จะไปฟื้นฟูรากผม และลดปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้ผมบาง

หากเป็นแผลเป็น แพทย์ก็จะรักษาโดยการปลูกผมลงในแผลเป็น ด้วยวิธีปลูกผม FUT หรือปลูกผม FUE เพื่อให้กลับมามีผมในตำแหน่งที่ผมหายไปอีกครั้ง โดยผู้ป่วยแต่ละคนจะปลูกผมด้วยวิธีใดนั้น แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาให้เอง

อ่านเพิ่มเติม : ปลูกผมถาวรคืออะไร เจ็บหรือไม่ แต่ละวิธีต่างกันอย่างไร?

คำถามเกี่ยวกับโรคดึงผมที่พบบ่อย

ดึงผมตัวเอง ผมจะขึ้นไหม

ดึงผมตัวเอง ผมสามารถขึ้นได้ ถ้าดึงไม่เยอะเกินไป และการดึงไม่สร้างรอยแผลเป็นไว้ หากดึงผมในจุดเดิมซ้ำๆ รากผมจะถูกทำลายไปเรื่อยๆ และผมชุดใหม่ที่ขึ้นมาก็จะไม่ดีเท่าเดิม คือจะเส้นเล็กกว่า และอ่อนแอกว่า

ดังนั้นแม้ผมจะขึ้นได้ ก็อาจจะทำให้ผมดูบางจนเห็นหนังศีรษะอยู่ดี แพทย์ก็จะรักษาโดยการกระตุ้นรากผม และฟื้นฟูรากผมให้กลับมาหนาอีกครั้ง หรือถ้าเป็นแผลเป็นแพทย์ก็จะให้ปลูกผมถาวร

โรคดึงผม รักษาที่ไหนดี

โรคดึงผมควรรักษาอาการทางจิตกับจิตแพทย์ก่อน เมื่ออาการดึงผมหายแล้ว ให้รักษาอาการผมบางที่คลินิกดูแลผม ที่แพทย์ผู้ดูแลเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเส้นผมและหนังศีรษะโดยตรง เพื่อสามารถรักษาได้ตรงจุด มีผมขึ้นเร็ว ผู้ป่วยจะได้รู้สึกดีกับตนเองมากขึ้น เริ่มเข้าสังคมเร็วขึ้น และเสี่ยงกลับมาเป็นโรคเดิมน้อยลง

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Checklist วิธีการเลือกคลินิกปลูกผมได้ที่ ปลูกผมที่ไหนดี? เคล็ดลับการเลือกคลินิกปลูกผมที่เหมาะสม ก่อนตัดสินใจปลูกผมถาวร

Absolute Hair Clinic คลินิกรักษาอาการผมร่วง ผมบางศีรษะล้าน เนื่องจากโรคดึงผม

ทีมแพทย์จาก Absolute Hair Clinic คือผู้เชี่ยวชาญสายตรงด้านเส้นผม เป็นผู้ที่ได้รับรางวัลทั้งในไทย และระดับโลกมากมาย

  • แพทย์ให้คำปรึกษา และรักษาเองทุกเคส
  • แพทย์เข้าใจคุณ และเข้าใจโรคที่คุณเผชิญเป็นอย่างดี
  • อุปกรณ์ทุกชิ้นได้มาตรฐาน นำเข้าจากต่างประเทศ เป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการยอมรับระดับโลก
  • ยืนยันผลลัพธ์ประสิทธิภาพสูง เห็นผลจริงอย่างชัดเจน
  • รับรองประสิทธิภาพด้วยผลการศึกษาที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ระดับโลก

รู้จักกับแพทย์ พร้อมทั้งผลงานของแพทย์จาก Absolute Hair Clinic

ข้อสรุป ‘โรคดึงผมตัวเอง’

โรคดึงผมตัวเองเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แม้จะเป็นโรคที่เกี่ยวกับปัญหาจิตเวช แต่ก็ส่งผลอย่างมากกับเส้นผมและหนังศีรษะ ดังนั้นหากรักษาทางจิตเวชหายแล้ว ควรรักษาปัญหาผมบาง ผมร่วง ศีรษะล้านด้วย เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้ตนเอง และกลับเข้าไปใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติอีกครั้ง

หากต้องการเรียกความมั่นใจกลับมาหลังเป็นโรคดึงผมด้วยการมีผมดกดำเหมือนเดิม สามารถปรึกษากับแพทย์จาก Absolute Hair Clinic เราพร้อมให้คำปรึกษากับทุกปัญหาผมของคุณ ที่ Line: @Absolutehairclinic

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณเองได้โดยการคลิกตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยการเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหาให้เหมาะสมกับความสนใจของคุณ หากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจของคุณได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า