วิธีรักษาเชื้อราบนหนังศีรษะ หยุดปัญหากวนใจ ให้หนังศีรษะสุขภาพดี

เชื้อราบนหนังศีรษะ วิธีรักษาเชื้อราบนหนังศีรษะ Tinea Capitis

เชื้อราบนหนังศีรษะ เป็นสาเหตุให้หนังศีรษะเป็นขุย และมีอาการคันมาก หนังหัวเป็นเชื้อราสามารถสร้างผลกระทบต่อความมั่นใจ และทำให้บุคลิกภาพไม่ดี อีกทั้งยังทำให้ผมร่วงเป็นหย่อม ผมบางส่วนบนศีรษะหายไป จนทำให้หมดความมั่นใจ สร้างความเครียด ทำให้เสียโอกาสดี ๆ ในชีวิต

จะดีกว่าไหมหากเรารู้ทันอาการขี้กลากขึ้นหัว โรคเชื้อราบนหนังศีรษะ เพื่อหาทางรักษายังไงจึงจะถูกต้อง ในบทความนี้ Absolute Hair Clinic จะให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเชื้อราบนหนังศีรษะในเบื้องต้น ทั้งอาการของโรคหนังศีรษะเป็นเชื้อราเป็นอย่างไร การรักษาโรค รวมทั้งการป้องกันโรคไม่ให้เกิดขึ้นกับคนในครอบครัว

ทำความรู้จักกับ Absolute Hair Clinic คลินิกรักษาปัญหาเกี่ยวกับเส้นผมและหนังศีรษะ โดยแพทย์เฉพาะทาง ประสบการณ์สูง : Absolute Hair Clinic (Home)

เชื้อรา กลาก บนหนังศีรษะคืออะไร

เชื้อราบนหนังศีรษะ หรือที่เรียกว่า โรคกลากเชื้อราบนหนังศีรษะ (Tinea Capitis) คือโรคติดเชื้อที่มีเชื้อราเป็นสาเหตุ สามารถเกิดได้ทั้งที่รากผม เส้นผม หนังศีรษะชั้นบน หรือแม้แต่ที่ผิวหนังส่วนอื่น ๆ หรือที่เล็บด้วย

ส่วนมากเชื้อราพวกนี้จะทำให้เกิดขุยหรือสะเก็ดที่หนังศีรษะ มีอาการคัน ผมร่วงเป็นหย่อม และอาจจะมีอาการอักเสบร่วมด้วย โดยผู้ที่ได้รับเชื้อราที่หัวมักจะแสดงอาการใน 7 – 14 วัน หรืออาจจะไม่แสดงอาการ แต่เป็นพาหะได้ ขึ้นอยู่กับว่าภูมิคุ้มกันทำงานได้ดีหรือเปล่า หากร่างกายแข็งแรง ก็จะเป็นพาหะอย่างเดียว

ด้วยเหตุนี้ เราจึงพบว่าผู้เป็นเชื้อราบนหนังศีรษะ มักจะเป็นเด็กช่วงอายุ 4 – 14 ปี หรือในผู้ใหญ่ที่ภูมิคุ้มกันต่ำ เป็นโรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน หรือเป็นโรคที่มีผลข้างเคียงทำให้ภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ

เชื้อราที่เกิดบนหนังศีรษะ

โรคเชื้อราบนหนังศีรษะ

เชื้อราที่ทำให้เกิดโรคกลากเชื้อราบนหนังศีรษะจะเป็นเชื้อราในกลุ่ม Dermatophytes โดยจะพบรากลุ่มนี้ในคน สัตว์เลี้ยงอย่างเช่น สุนัข แมว หรือสัตว์ฟาร์ม อย่างวัว ควาย อีกทั้งยังพบได้ทั่วไปในดินอีกด้วย

โดยสายพันธุ์ย่อยแต่ละสายพันธุ์ จะส่งผลให้เกิดโรคเชื้อราบนหนังศีรษะในลักษณะอาการที่ต่างกันไปเล็กน้อย ซึ่งสายพันธุ์ย่อยที่พบบ่อยมี 2 สายพันธุ์ ดังนี้

  1. Trichophyton – เมื่อติดเชื้อจะทำให้เส้นผมเปราะขาดง่ายตั้งแต่ที่โคนผม ผมบริเวณที่หลุดไปเป็นหย่อม จะเห็นเป็นจุดสีดำ 
  2. Microsporum – เป็นราที่พบได้บ่อยในสุนัข และแมว บางครั้งสัตว์เลี้ยงของเราอาจจะไม่แสดงอาการ แต่สามารถเป็นพาหะนำเชื้อรามาให้เราได้ เชื้อราชนิดนี้จะทำให้หนังศีรษะแห้ง คันมาก และโคนเส้นผมจะเปลี่ยนเป็นสีเทาจากการที่เคราตินโดนทำลาย

ในท้ายที่สุดไม่ว่าจะติดเชื้อราจากสายพันธุ์ไหน การที่หัวเป็นเชื้อราก็สามารถทำให้ผมร่วงเป็นหย่อมได้เช่นกัน หลังการรักษาเมื่อเชื้อราหายไปจนหมด ผมจะกลับมางอกใหม่เอง แต่ในบางกรณีถ้าเป็นมากจนเกิดการอักเสบร่วมด้วย จะทำให้เกิดแผลเป็นที่หนังศีรษะ ผมไม่สามารถขึ้นได้อีก จนต้องรักษาด้วยการปลูกผมลงในแผลเป็น

การปลูกผมลงในแผลเป็นคืออะไร ? มีวิธีการรักษาอย่างไรบ้าง ? : ปลูกผมลงในแผลเป็น

สาเหตุของ โรคกลาก เชื้อราบนหนังศีรษะ

เชื้อราบนหัว เป็นโรคติดต่ออย่างหนึ่ง ดังนั้นสาเหตุของอาการมักมาจากการติดเชื้อราจากสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ซึ่งสามารถติดได้จากทั้งคน สัตว์ และสิ่งของ

1. ติดต่อจากคนสู่คน

การติดต่อของเชื้อราที่หัวจากคนสู่คน เป็นเรื่องที่พบได้ก็ต่อเมื่อสัมผัสกัน หรือคลุกคลีกันระดับหนึ่ง ผู้ที่ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน มักมีของใช้เป็นพาหะร่วมด้วย ทำให้ติดเชื้อง่ายขึ้น

เชื้อราบนหนังศีรษะเด็ก มักจะติดกันจากลักษณะการติดเชื้อแบบนี้ ซึ่งจะพบได้มากในเด็กที่ไปโรงเรียน หรือสถานรับเลี้ยงเด็ก เนื่องจากเด็กมักไม่ระวังตัว เล่นคลุกคลีกันเป็นกลุ่มหลายคน ทั้งยังมีภูมิคุ้มกันโรคน้อย เมื่อติดเชื้อราที่หัวขึ้นก็จะแสดงอาการใน 7 – 14 วัน

2. ติดต่อจากสัตว์สู่คน

การติดต่อจากสัตว์สู่คน พบได้มากในผู้ที่เลี้ยงสัตว์ เมื่อคลุกคลีกับสัตว์เลี้ยงมาก ๆ หรือไม่ได้ล้างมือหลังจากสัมผัสสัตว์เลี้ยง ก็อาจจะทำให้เกิดขี้กลากขึ้นหัวจากการติดเชื้อราจากสัตว์ได้

เชื้อราในสัตว์มีทั้งที่แสดงอาการ และไม่แสดงอาการ หากไม่แสดงอาการ สัตว์จะสามารถเป็นพาหะทำให้เชื้อราติดสู่คนได้

3. ติดต่อสู่คนโดยมีสิ่งของเป็นพาหนะ

การติดต่อสู่คนโดยมีสิ่งของเป็นพาหะเป็นเคสที่พบได้มาก เนื่องจากผู้คนมักไม่ค่อยระวังในการใช้ของบางอย่างร่วมกัน เช่นหวี ผ้าเช็ดผม หมวก หรือเสื้อผ้า

เมื่อผู้ที่เป็นกลากบนหนังศีรษะใช้ของต่างๆ เชื้อราสามารถติดไปกับสิ่งของเหล่านั้น เมื่อมีคนอื่นใช้ต่อ ก็เสี่ยงต่อการเป็นโรคกลากเชื้อราบนหนังศีรษะไปด้วย

กรณีที่หลายคนไม่ค่อยทราบ คือการติดเชื้อราบนหนังศีรษะแบบนี้มักพบได้บ่อยในร้านทำผม เพราะคนใช้บริการมาก ผู้ใช้บริการหลายคนอาจจะไม่รู้ว่าตัวเองกำลังป่วย หรือเป็นภาหะของโรคอยู่ ร้านทำผมบางร้านก็อาจจะไม่ได้ทำความสะอาดหวี หรือกรรไกรตัดผมหลังทำให้ลูกค้าทุกคน จึงอาจมีโอกาสรับเชื้อราจากร้านทำผมจนติดโรคกลากหรือเชื้อราบนหนังศีรษะได้

แม้จะติดเชื้อได้หลากหลายรูปแบบ แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะติดเชื้อ เนื่องจากเชื้อราไม่สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ หากไม่มีแผลเปิด ไม่เกาศีรษะ หรือไม่มัดผมแน่นจนโคนผมเกือบหลุดออกมา แต่หากมีการเปิดที่ผิวหนังแม้เพียงเล็กน้อย เชื้อราก็จะสามารถเข้าไปก่อโรคได้ทันที

ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันด้วย เชื้อราไม่ใช่เชื้อโรคร้ายแรง ร่างกายสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ตามปกติ ดังนั้นคนส่วนใหญ่จะติดเชื้อก็ต่อเมื่อภูมิคุ้มกันต่ำ อาจจะจากการป่วย เป็นโรคบางอย่าง ร่างกายไม่แข็งแรง หรือยังเด็กเกินไป

ปัจจัยเสี่ยงของเชื้อราบนหนังศีรษะ

ปัจจัยเสี่ยงของเชื้อราบนหนังศีรษะ

เชื้อราบนหนังศีรษะผมร่วงไม่ใช่โรคที่สามารถติดกันได้ง่ายก็จริง แต่ก็สามารถเป็นพาหะได้ และถ้ามีปัจจัยเสี่ยงมาก ก็จะยิ่งทำให้มีโอกาสเป็นโรคกลากเชื้อราบนหนังศีรษะได้ง่าย โดยปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้หนังหัวเป็นเชื้อรามีดังนี้

  • เด็กวัยประมาณ 4 – 14 ปี พบได้มากในเด็กอนุบาลจนถึงประถม หรือเด็กในสถานรับเลี้ยง
  • อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เป็นครอบครัว และมีการสัมผัส ใช้ชีวิตร่วมกันอย่างใกล้ชิด
  • ใช้ของใช้ร่วมกัน เช่น หวี หมวก ผ้าเช็ดผม มีดโกน เสื้อผ้า
  • มีสัตว์เลี้ยง และสัมผัสสัตว์เลี้ยง ทั้งสัตว์เลี้ยงในบ้าน และสัตว์ฟาร์ม
  • ไม่ล้างมือหลังจากสัมผัสสัตว์เลี้ยง
  • ไม่สระผมบ่อยเท่าที่ควร โดยผู้มีหนังศีรษะปกติ ควรสระผมสัปดาห์ละประมาณ 3 ครั้ง
  • มีบาดแผลบนหนังศีรษะ มีผลทั้งแผลเปิดใหญ่ และแผลเล็ก ๆ
  • ผู้ที่มัดผมแน่นเกินไป
  • ผู้ที่เกาศีรษะแรง ๆ เป็นประจำ
  • ตัดผม หรือทำผมในร้านที่ไม่ได้ทำความสะอาดอุปกรณ์หลังใช้กับลูกค้าแต่ละคน
  • ร่างกายอ่อนแอ
  • เป็นโรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน หรือมีผลข้างเคียงทำให้ภูมิคุ้มกันผิดปกติ เช่นโรคมะเร็ง โรคเอดส์  โรคผื่นภูมิแพ้ที่ผิวหนัง และอื่น ๆ
  • หนังศีรษะเปียกชื้นเป็นเวลานาน เช่น การมีเหงื่อเยอะ ใส่หมวกขณะมีเหงื่อออก หรือผมเปียกเป็นเวลานาน ๆ
  • อยู่ในที่อากาศชื้น ชุมชนแออัด สุขอนามัยไม่ดี

อาการเชื้อราบนหนังศีรษะ

ผู้ที่เป็นเชื้อราบนหนังศีรษะอาการจะแสดงใน 7 – 14 วัน หลังจากได้รับเชื้อ หลังจากนั้นจะมีอาการดังต่อไปนี้

  • เป็นผื่นวงกลมที่ศีรษะ มีขอบชัด
  • ผมร่วงเป็นหย่อมในบริเวณที่เป็นผื่น
  • หนังศีรษะมีขุย สะเก็ด และรังแค
  • รู้สึกคัน และระคายเคืองที่ศีรษะอย่างมาก
  • ผมเปราะ ขาดง่าย เนื่องจากเชื้อราเข้าไปทำลายเคราตินในผมที่เพิ่งขึ้น
  • อาจมีจุดสีดำจากตอผมที่ขาดไป ในบริเวณที่ผมร่วงเป็นหย่อม
  • ผู้ที่เป็นพาหะ อาจมีอาการแค่เป็นรังแคมากกว่าปกติ
  • หากพบในเด็ก อาจจะมีอาการร่วม คือ ต่อมน้ำเหลืองที่คอหรือหลังหูโต

นอกจากนี้เชื้อราหนังศีรษะ อาการจะต่างกันไปตามชนิดของเชื้อรา และตามการตอบสนองของภูมิคุ้มกันในร่างกาย หากเชื้อราก่อโรคเป็นเชื้อราที่ทำให้เกิดผลรุนแรง หรือภูมิคุ้มกันในร่างกายทำงานมากจนเกินไป ก็อาจจะทำให้เกิดอาการอักเสบรุนแรงได้ โดยอาการดังกล่าวมีลักษณะดังนี้

  • หนังศีรษะบริเวณที่ติดเชื้อรามีสีแดง
  • มีตุ่มหนองเล็ก ๆ หรือเป็นฝี
  • อาจจะมีหนองเป็นก้อน นูนออกมาจากหนังศีรษะ เรียกว่าชันตุ (Kerion)
  • อาจจะมีไข้ หรือเจ็บระบบบริเวณที่เกิดการอักเสบ
  • ถึงแม้ว่าเชื้อราบนหนังศีรษะจะใช้ยารักษาจนหายแล้วก็ตาม รอยแผลที่เกิดจากการอักเสบจะกลายเป็นแผลเป็น ทำให้ผมไม่ขึ้นในบริเวณที่เกิดโรคเชื้อราบนหนังศีรษะอย่างถาวร

ผมร่วงเป็นหย่อมจากเชื้อรา มักถูกสับสนกับโรคผมร่วงเป็นหย่อม ทั้งสองอย่างต่างกันอย่างไร ? คุณกำลังผมร่วงเป็นหย่อมจากเชื้อรา หรือจากโรคเกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน ? : ผมร่วงเป็นหย่อม

วิธีรักษาเชื้อราบนหนังศีรษะ

หลายคนที่เป็นโรคเชื้อราบนหนังศีรษะ มักมีข้อสงสัยว่าจะใช้ยาอะไรดีจึงจะฆ่าเชื้อราที่หัวได้โดยไม่ต้องพบแพทย์เพราะอาจมีความอาย แต่ในความเป็นจริงแล้วควรเข้าพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องจะดีที่สุด

และถ้าหากผมเริ่มร่วงเป็นกระจุก ผมร่วงเป็นหย่อม มีรอยแดง ขุย หรือสะเก็ดที่ศีรษะ ควรพบแพทย์ทันทีเพื่อเข้ารับการรักษาหนังศีรษะเป็นเชื้อรา ไม่ควรซื้อยามาทา หรือทานเอง เนื่องจากหากเป็นหนัก อาจจะทำให้เกิดแผลเป็นบนศีรษะจนผมร่วงถาวรได้

เชื้อราบนหนังศีรษะรักษาได้ ในกรณีที่ไม่ได้มีการอักเสบร่วมด้วยแพทย์จะรักษาโดยใช้วิธีกําจัดเชื้อราบนหนังศีรษะออกไปจากร่างกาย ด้วยวิธีการดังนี้

  • ใช้ยาสระผมฆ่าเชื้อรา อาทิตย์ละประมาณ 3 ครั้ง หรือใช้วันเว้นวัน สามารถใช้ยาทาเชื้อราบนหนังศีรษะร่วมด้วยได้
  • ใช้ยารักษาเชื้อราบนหนังศีรษะแบบเม็ด ทานร่วมกับยาแก้เชื้อราบนหนังศีรษะแบบทา หรือยาสระผมฆ่าเชื้อรา เนื่องจากยาเม็ดที่ใช้ทานสามารถไปส่งผลที่รากผมได้ดีกว่า

ในขั้นตอนการรักษาหัวเป็นเชื้อรานั้นไม่ต้องโกนผมออกก็สามารถรักษาได้ตามปกติ เพียงแค่ทานยา ทายา และสระผมตามที่แพทย์บอกอย่างเคร่งครัด

ทานยาประมาณ 6 – 12 สัปดาห์เชื้อราที่หัวก็จะหายไป ใช้เวลาประมาณ 4 – 6 เดือนผมก็จะฟื้นฟูตัวเองจนหายเป็นปกติ ผมที่ร่วงไปก็จะขึ้นมาใหม่ได้เองโดยไม่ต้องปลูกผม

แพทย์อาจจะแนะนำให้กระตุ้นรากผมในช่วงหลังจากเชื้อราที่หัวหายไป เพื่อให้ผมที่ขึ้นใหม่ขึ้นหนาอย่างเดิมหลังถูกทำลายจากเชื้อรา ด้วยการทำ PRP ผม, ฉีดสเต็มเซลล์ผม, หรือใช้ Fotona Laser กระตุ้นรากผม บางคนอาจจะใช้วิธีฟื้นฟูผมโดยไม่ต้องเข้าคลินิกจากการทานอาหารบำรุงผม ก็สามารถฟื้นฟูให้เส้นผมกลับมาขึ้นได้อย่างแข็งแรงอีกครั้ง

ในกรณีที่ผมไม่ขึ้น หรือขึ้นแล้วบางทั้งที่ไม่ได้เป็นแผลเป็น อาจจะเกิดจากสาเหตุอื่นที่แสดงอาการหลังจากรากผมอ่อนแอลง เช่น อาการผมบางจากพันธุกรรมที่เกิดจากฮอร์โมน DHT ในกรณีนี้อาจจะต้องใช้ยาแก้ผมร่วงร่วมด้วย

วิธีแก้เชื้อราบนหนังศีรษะในกรณีที่อักเสบมาก คือ อาจจะต้องลดภูมิคุ้มกันลง เพราะอาการอักเสบเกิดจากร่างกายตอบสนองกับเชื้อราได้ดีเกินไป จนภูมิคุ้มกันทำงานมากกว่าปกติ จนทำให้เกิดหนอง หรือชันตุ ในกรณีนี้แพทย์อาจจะให้ยาแก้อักเสบ และยากดภูมิร่วมด้วย เพื่อให้อาการบรรเทาลง

หากอักเสบมากแล้วไม่รีบมารักษา หลังหายอาจจะทำให้เกิดเป็นแผลเป็นขนาดใหญ่บนศีรษะ ที่ผมจะไม่ขึ้นมาอีกเลย หากรักษาก็ต้องปลูกผมถาวร และถ้าเป็นมากจนแผลเป็นหนาเกินไป การปลูกผมถาวรก็อาจจะไม่ได้ผล

ดังนั้นหากรู้ตัวว่าเป็นเชื้อราบนหนังศีรษะ อย่าอายและถามว่าควรใช้อะไร แต่ให้รีบมาพบแพทย์ เพื่อให้หายเร็วขึ้น และสามารถลดโอกาสเกิดแผลเป็นหลังเกิดเชื้อราบนหนังศีรษะได้

หากผมไม่ขึ้น สามารถแก้ไขได้โดยการปลูกผมถาวร เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการปลูกผม :

กำลังกังวลกับเชื้อราบนหนังศีรษะ ผมร่วงเป็นหย่อม ไม่มั่นใจ สามารถส่งรูปอาการมาสอบถาม ขอคำปรึกษาจากแพทย์เฉพาะทางของ Absolute Hair Clinic ได้ที่ Line: @Absolutehairclinic

วิธีป้องกันเชื้อราบนหนังศีรษะ

ป้องกัน เชื้อราบนหนังศีรษะ

โดยทั่วไป เชื้อราบนหนังศีรษะสามารถป้องกันได้โดยการลดความเสี่ยงลงด้วยวิธีการต่างๆ ดังนี้

  • รักษาความสะอาด ด้วยการสระผมบ่อย ๆ ล้างมือหลังสัมผัสกับสัตว์ หรือดิน
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ที่ติดเชื้อ หรือถ้าจำเป็นควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังการสัมผัส
  • พาสัตว์เลี้ยงไปตรวจสุขภาพเป็นประจำ
  • ไม่เกาศีรษะแรง ๆ
  • ไม่ใช้สิ่งของที่ใช้กับร่างกายร่วมกับผู้อื่น
  • รักษาร่างกายให้แข็งแรง ไม่ให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอจนติดโรคได้
  • ให้ความรู้กับเด็ก ผู้ปกครอง และครูที่ดูแลเด็กในโรงเรียน เกี่ยวกับโรคกลากเชื้อราบนหนังศีรษะ เพื่อให้ป้องกัน และรับมือได้ถูกวิธี
  • ทำความสะอาดพื้นที่ หรือสิ่งของที่จำเป็นต้องใช้ร่วมกันเป็นประจำ

หากมีคนในครอบครัว หรือคนที่อาศัยอยู่ในที่เดียวกันติดเชื้อรา และเป็นเชื้อราบนหนังศีรษะ ควรป้องกันคนอื่น ๆ ในครอบครัวจากการติดเชื้อรา ดังนี้

  • ให้คนอื่น ๆ ในบ้านเข้ารับการตรวจกับแพทย์ รวมถึงสัตว์เลี้ยงก็ต้องตรวจด้วย เพราะมีความเสี่ยงที่จะเป็นเชื้อราได้สูง
  • หากไม่ได้ติดเชื้อรา ให้คนอื่น ๆ ในบ้านใช้แชมพูฆ่าเชื้อราแบบเดียวกับที่ผู้ป่วยใช้ด้วย โดยให้ใช้อาทิตย์ละ 2 – 3 ครั้งเป็นเวลา 6 สัปดาห์ เพื่อป้องกันการเกิดโรคหนังศีรษะเป็นเชื้อรา
  • ทำความสะอาดบ้านเพื่อสุขอนามัยที่ดี
  • ของส่วนตัวของผู้ที่ติดเชื้อ ให้นำไปทำความสะอาด และฆ่าเชื้อ ถ้าเป็นผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดผม ให้ซักด้วยน้ำร้อน จากนั้นตากให้แห้งสนิท หากเป็นหวี หรือแปรงผม ให้แช่น้ำยาซักผ้าไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง ทำแบบนี้ติดกันเป็นเวลา 3 วัน เพื่อให้แน่ใจว่าเชื้อราหายไปจริง ๆ
  • ไม่คลุกคลีกับผู้ป่วย และล้างมือหลังสัมผัสกัน
  • ไม่ให้คนในบ้านใช้สิ่งของร่วมกันในช่วงเวลานี้

สรุป ‘เชื้อราบนหนังศีรษะ’

เชื้อราบนหนังศีรษะเป็นโรคที่จะเกิดในเด็กเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็เกิดได้กับผู้ใหญ่ที่ร่างกายไม่แข็งแรงเช่นกัน เมื่อเป็นก็จะเกิดอาการผมร่วงเป็นหย่อม คันมาก รังแคเยอะ อาจจะอักเสบเป็นหนองร่วมด้วย สร้างความไม่มั่นใจให้กับผู้ที่เป็นโรคนี้

ทั้งนี้ โรคกลากเชื้อราบนหนังศีรษะสามารถรักษาได้ และหากพบแพทย์ไวก็จะยิ่งหายเร็ว ผมขึ้นเร็ว โอกาสเป็นแผลเป็นน้อย หากรู้ตัวว่าเป็นโรคเชื้อราบนหนังศีรษะก็ควรเข้าพบแพทย์เพื่อรักษาก่อนจะลุกลามจนอาการหนัก

สามารถสอบถามเพิ่มเติม หรือขอคำปรึกษาเกี่ยวกับเชื้อราบนหนังศีรษะได้จากแพทย์เฉพาะทางด้านเส้นผม และหนังศีรษะจาก Absolute Hair Clinic ที่ Line: @Absolutehairclinic

รู้จักกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ พร้อมทั้งผลงานของแพทย์แต่ละท่านจาก Absolute Hair Clinic :


References

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณเองได้โดยการคลิกตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยการเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหาให้เหมาะสมกับความสนใจของคุณ หากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจของคุณได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า