ผมร่วงหนักมาก เกิดจากอะไร? อาการ สาเหตุ วิธีแก้ไข แนะนำโดยแพทย์

หากคุณเป็นคนที่กำลังมีปัญหาผมร่วง ผมบาง ผมร่วงเยอะมาก กวาดบ้านทีได้ผมเป็นกำ ต้องหยิบผมออกจากแปรงหวีผมทุกวัน สระผมแล้วผมร่วง แถมทำให้ท่อตันทุกครั้งที่สระ ผมร่วงหนักมากจนผมที่หน้าผากหรือกลางศีรษะเริ่มบาง ควรหาทางแก้ไขก่อนรากผมเสื่อมและสายเกินแก้

แต่แล้วผมร่วงเกิดจากอะไร ? ควรแก้ด้วยวิธีไหน ? วิธีทำให้ผมไม่ร่วงมีอะไรบ้าง ? และจะรู้ได้อย่างไรว่าคุณกำลังผมร่วงมากจนมีปัญหา ? ในบทความนี้ Absolute Hair Clinic มีคำตอบให้คุณ

สาเหตุของผมร่วง

ก่อนหาทางแก้ผมร่วง เราควรทำความเข้าใจก่อนว่าผมร่วงเกิดจากอะไร

ผมร่วงเป็นสภาวะปกติที่เกิดกับผมของเรา ในหนึ่งวันผมของเราสามารถร่วงได้ประมาณ 50 – 100 เส้นโดยที่ไม่เกิดผลเสียอะไร เนื่องจากการผมร่วงเป็นส่วนหนึ่งในวงจรชีวิตของเส้นผม

ที่ไม่บางลง เป็นเพราะในขณะที่ผมส่วนหนึ่งเข้าสู่ระยะที่ผมร่วงและหยุดสร้างเส้นผม เส้นผมส่วนใหญ่บนศีรษะจะยังอยู่ในระยะเจริญเติบโตนั่นเอง

ผมร่วงจะมีปัญหาก็ต่อเมื่อเกิดสิ่งผิดปกติขึ้นกับร่วงกายเรา อาจจะด้วยพันธุกรรม ฮอร์โมน โรค หรือยาต่างๆ จนทำให้ผมที่ร่วงมีปริมาณมากกว่าผมที่เติบโตอยู่บนศีรษะ ทำให้เริ่มเห็นว่าผมบางลงเรื่อยๆ จนอาจจะเกิดศีรษะล้านได้ในที่สุด

จะรู้ได้อย่างไรว่าผมร่วงมากกว่าปกติ ? วิธีทดสอบว่าคุณกำลังมีอาการผมร่วง ผมบางหรือเปล่า : การวัดผมร่วงโดยการหวีผมหนึ่งนาที

ส่วนสาเหตุผมร่วงนั้นมีหลายอย่าง สามารถแบ่งได้ดังนี้

ผมร่วงจากฮอร์โมน

ฮอร์โมนที่ส่งผลให้ผมร่วง และบางลง เป็นฮอร์โมนเพศชาย อาการผมร่วง ผมบางจึงสามารถพบในเพศชายได้มากกว่าเพศหญิง โดยฮอร์โมนเพศชายที่ทำให้ผมร่วงได้มากที่สุด คือฮอร์โมนไดไฮโดรเทสทอสเตอโรน (Dihydrotestosterone) หรือที่นิยมเรียกสั้นๆ ว่า ฮอร์โมน DHT

โดย DHT นี้จะทำให้วงจรชีวิตของเส้นผมสั้นลง มีการผลัดผมในบริเวณหน้าผาก และกลางศีรษะมากขึ้น ผมที่ขึ้นมาใหม่ก็จะบางลง เส้นเล็กลงกว่าเดิม จะสุดท้ายรากผมจะค่อยๆฝ่อไป กลายเป็นอาการศีรษะล้านในที่สุด

ผมร่วงกรรมพันธุ์

ผมร่วงเยอะมาก

ผมร่วง ผมบางเนื่องจากพันธุกรรมพบได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง

ผมร่วงในผู้ชายเกิดจากพันธุกรรมมากถึง 95% โดยพันธุกรรมดังกล่าว จะส่งผลกับรากผมและฮอร์โมน 2 ประการ ดังนี้

  1. พันธุกรรมจะทำให้รากผมบริเวณหน้าผาก และกลางกระหม่อมมี Androgentic receptor ที่ทำหน้าที่ได้ดี ซึ่ง receptor ตัวนี้จะตอบสนองกับ DHT เมื่อมีตัวรับที่ทำงานได้ดี ฮอร์โมนตัวนี้จึงทำให้ผมร่วงได้มากขึ้นกว่าปกติ
  2. รากผมที่หน้าผากกับกลางกระหม่อมจะมีเอนไซม์ที่ชื่อว่า Type 2 – 5 reductase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่จะช่วยเปลี่ยนฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (testosterone) หรือที่รู้จักกันในชื่อของฮอร์โมนเพศชาย ให้กลายเป็น DHT ยิ่งมีปริมาณ DHT มากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งทำให้ผมร่วงได้มากเท่านั้น

ในผู้หญิงเองก็มีฮอร์โมนเพศชายอย่างฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน และฮอร์โมน DHT เช่นกัน แต่ผู้หญิงจะไม่ผมร่วงด้วยเหตุผลด้านฮอร์โมน เพราะนอกจากผู้หญิงจะมีปริมาณฮอร์โมนดังกล่าวที่น้อยกว่าแล้ว ในผู้หญิงยังมีเอนไซม์ที่ชื่อว่า Cytochrome P450 Aromatase ด้วย

โดยเอนไซม์ Cytochrome P450 Aromatase มีหน้าที่เปลี่ยนฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ให้เป็นฮอร์โมนเพศหญิงตัวหนึ่งที่มีชื่อว่า Estrodiole ซึ่งฮอร์โมนดังกล่าวจะไปช่วยต้านการทำงานของฮอร์โมนเพศชาย ด้วยเหตุนี้ DHT จึงไม่ทำให้เกิดการผมร่วงในเพศหญิงนั่นเอง

ส่วนผมร่วงในผู้หญิงนั้น ส่วนมากเกิดจากพันธุกรรมเช่นกัน แม้จะทราบแล้วว่าผมร่วงพันธุกรรมในเพศหญิงไม่เกี่ยวกับฮอร์โมน DHT แต่เราก็ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด การแพทย์ในปัจจุบันยังคงศึกษาเรื่องนี้อยู่ เพื่อหาทางรักษาที่ต้นเหตุต่อไป อ่านเรื่องนี้โดยละเอียดที่ สาเหตุผมร่วง ผู้หญิง

ผมร่วงจากโรคต่าง ๆ

ผมร่วงเป็นหย่อม Alopecia Areata

โรคที่ทำให้ผมร่วงโดยตรง เช่น โรคผมร่วงทั่วศีรษะ (Telogen Effluvium) ที่จะทำให้ผมร่วงไวกว่าที่ควรเป็น, โรคผมร่วงเป็นหย่อม (Alopecia Areata) ที่ผมจะร่วงหายไปเป็นหย่อม มีตั้งแต่ 1 – 2 หย่อม ไปจนถึงทั่วศีรษะ, โรคกลากเชื้อราบนหนังศีรษะ (Tinea Capitis) ที่จะทำให้ผมร่วงเป็นหย่อมจากการติดเชื้อ, และโรคดึงผม (Trichotillomania) ที่เป็นความผิดปกติทางจิต ซึ่งผู้ป่วยจะระบายอารมณ์ด้วยการดึงผมตนเอง

นอกจากโรคที่กล่าวมา โรคอื่นๆ ยังมีผลข้างเคียงของโรคที่ทำให้ผมร่วงได้อีก เช่น โรคติดเชื้อต่างๆ เอชไอวี ซิฟิลิส ติดเชื้อรา โรคที่เกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน โรคผิวหนัง โรคไต ไทรอยด์ทำงานผิดปกติ โลหิตจาง และอีกมาก

ผมร่วงจากความเครียด

ผมร่วงเพราะเครียด

ความเครียดทำให้เกิดผมร่วงได้จากทั้งทางร่างกาย และจิตใจ

ความเครียดเป็นสิ่งที่ส่งผลให้ร่างกายบางส่วนทำงานต่างไปจากเดิม เช่นหัวใจเต้นเร็ว ความดันสูง กล้ามเนื้อและฮอร์โมนทำงานผิดปกติไป ด้วยเหตุผลดังกล่าวทำให้เครียดแล้วผมร่วง

ความเครียดอาจจะทำให้ผมเข้าสู่ระยะพักนานกว่าปกติ ผมร่วงง่าย ผมที่ขึ้นมาใหม่ก็จะเส้นเล็กและอ่อนแอกว่าเดิม หรือถ้าร้ายแรงกว่านี้ ความเครียดอาจจะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ และเข้าทำลายรากผม จนทำให้ผมร่วงเป็นหย่อม ผมร่วงเป็นวงได้ในที่สุด

นอกจากนี้ ความเครียดยังทำให้ผู้ป่วยบางรายระบายอารมณ์โดยการจิกทึ้ง หรือถอนผมตัวเอง จนทำให้เส้นผมอ่อนแอลง เมื่อทำมากๆเข้าจนควบคุมตนเองไม่ได้จะกลายเป็นโรคดึงผม (Trichotillomania) ในที่สุด

ผมร่วงหลังผ่าตัด

หลังผ่าตัด 3 – 4 เดือน ผมจะมีโอกาสร่วงได้ อาจจะด้วยความเครียด หรือผลข้างเคียงจากยาสลบที่ใช้ ซึ่งเป็นได้ทั้งแบบดมไอระเหย และรูปแบบฉีดเลย

นอกจากการผ่าตัดอื่นๆแล้ว การผ่าตัดเพื่อปลูกผมเองก็ทำให้ผมร่วงได้เช่นกัน ซึ่งอาการผมร่วงนี้จะเรียกว่าอาการ Shock Loss อาจเกิดได้จากความเครียด ยาสลบ และการพักฟื้นของตัวรากผมเอง เพราะหลังการปลูกผม รากผมและหนังศีรษะจะบอบช้ำ ทำให้รากผมบริเวณที่ปลูกผมเข้าสู่ระยะพัก จนทำให้ผมร่วงในที่สุด

ผ่าตัดปลูกผมคืออะไร ? มีกี่วิธี ? แล้ววิธีไหนดีกว่ากัน ?
ปลูกผม
ปลูกผม FUE
ปลูกผม FUT
ข้อแตกต่าง FUE Vs FUT

ผมร่วงหลังคลอด

ผมร่วงหลังคลอด คุณแม่หลังคลอด

ผมร่วงหลังคลอดเกิดจากระดับฮอร์โมนเพศที่เปลี่ยนไป เมื่อผู้หญิงตั้งครรภ์จะมีฮอร์โมนเพศหญิงที่ชื่อว่าเอสโตรเจน (Estrogen) สูงกว่าปกติ โดยฮอร์โมนตัวนี้จะช่วยทำให้ผมสุขภาพดีขึ้น ขาดร่วงน้อยลง

หลังคลอดบุตร ฮอร์โมนเอสโตรเจนจะลดลงจนเป็นปกติ เมื่อเอสโตรเจนลดลง ผมก็จะไม่แข็งแรงเท่าเดิม ผมที่ควรจะร่วงตั้งแต่หลายเดือนก่อนแต่ไม่ร่วงเพราะฮอร์โมน ก็จะกลับมาร่วงเมื่อฮอร์โมนหายไป หลังคลอดผมจึงดูร่วงเยอะกว่าปกตินั่นเอง

ผมร่วงจากเคมี

ผมร่วงจากเคมี เคมีบำบัด หรือที่หลายคนรู้จักในชื่อคีโมผมร่วง คือผลข้างเคียงจากการรักษาโรคมะเร็งรูปแบบหนึ่ง เคมีบำบัดทำให้ผมร่วงได้ เนื่องจากเคมีบำบัดจะช่วยลดการแบ่งตัวของเซลล์ ถ้าเคมีดังกล่าวไปออกฤทธิ์ที่เซลล์มะเร็ง ก็จะทำให้มะเร็งเติบโตได้ช้าลง

แต่เคมีบำบัดจะเข้าสู่ร่างกายทางกระเสเลือด เราจึงไม่สามารถเจาะจงได้ว่าอยากให้เคมีออกฤทธิ์ที่ไหน เมื่อเคมีดังกล่าวมาที่ผม ก็จะทำให้รากผมแบ่งเซลล์เพื่อสร้างผมได้ช้าลง รากผมที่ปกติจะแบ่งตัวเร็วเพื่อให้ผมยาว พอถูกทำให้แบ่งตัวช้าลง ผมที่ได้ก็จะไม่แข็งแรง จนทำให้ผมร่วงไปในที่สุด

ผมร่วงเพราะขาดสารอาหาร

ผมร่วงขาดสารอาหารอะไร

สารอาหารบางอย่างเป็นส่วนประกอบในการสร้างเส้นผม และช่วยในการบำรุงเส้นผม หากขาดสารอาหารดังกล่าวไป จะทำให้ผมไม่แข็งแรง ขาดร่วงได้ง่าย

แล้วผมร่วงขาดสารอาหารอะไร ? สารอาหารดังกล่าว ได้แก่โปรตีน ธาตุเหล็ก สังกะสี วิตามินบี ดีและไบโอติน เป็นต้น โดยโปรตีนจะเป็นส่วนที่สำคัญมาก เนื่องจากส่วนประกอบหลักของเส้นผมคือโปรตีนนั่นเอง

อ่านเพิ่มเติม : 10 อาหารบำรุงผม พร้อมสารอาหารที่เส้นผมต้องการ รักษาผมร่วง ผมบาง จากภายใน

การใช้ชีวิตประจำวันอื่น ๆ

  • หวีผมมากเกินไป หรือหวีผมในขณะที่เปียก ทำให้ผมชั้นนอกถูกทำลาย และขาดร่วงได้ง่าย
  • แต่งผมโดยใช้ความร้อน หรือสารเคมีบ่อยๆ จนทำให้ผมแห้งเสีย ขาดร่วงง่าย
  • ลดน้ำหนักผิดวิธี ทานโปรตีนน้อยเกินไป ขาดแร่ธาตุบางอย่างที่ช่วยให้ผมแข็งแรง
  • ทานอาหารรสจัดมากเกินไป ส่งผลกับความดันจนทำให้สารอาหารไปเลี้ยงผมไม่เพียงพอ
  • ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือสูบบุหรี่จัด ทำให้เส้นเลือดหดตัวจนเลือดไปเลี้ยงผมไม่เพียงพอ
  • รัดผมแน่นเกินไป

ต้องการรักษาผมร่วงผมบาง เรียนรู้การรักษาแบบต่างๆจากบริการของเรา : Absolute Hair Clinic (Home)

เรื่องที่คนมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับผมร่วง

  1. การไหลเวียนโลหิตไม่ดี ทำให้ผมร่วง

เป็นเรื่องเข้าใจผิด เนื่องจากการไหลเวียนโลหิตไม่ได้ทำให้ผมร่วง แต่การที่เส้นเลือดฝอยน้อยจนเข้าไม่ถึงรากผมอย่างเพียงพอต่างหากที่ทำให้ผมร่วง

เมื่อเลือดเข้าไม่ถึงรากผมมากนัก ก็ไม่สามารถลำเลียงสารอาหารไปให้รากผมสร้างผมได้อย่างเพียงพอ ผมที่สร้างออกมาก็จะไม่แข็งแรง เส้นเล็ก ขาดร่วงง่าย เมื่อสารอาหารไปเลี้ยงได้น้อยลงเรื่อยๆ ก็จะทำให้รากผมฝ่อไปในที่สุด

ปัญหาผมบางในผู้เข้ารับการรักษาบางรายจึงเป็นการกระตุ้นหนังศีรษะให้สร้างเส้นเลือดฝอยมากขึ้น เช่น การทำ PRP ผม, การฉีดสเต็มเซลล์ผม, การทำเลเซอร์ LLLT, และการทำโฟโตน่าเลเซอร์

  1. ไขมันอุดที่รูขุมขน และหนังศีรษะมัน

คนมักเข้าใจว่าผมร่วงเกิดจากไขมันมาอุดที่รูขุมขนจนสารอาหารไปเลี้ยงผมไม่ได้ ทำให้ผมไม่ขึ้น หรือผมบางลง อีกทั้งผมมันยังทำให้ผมขาดร่วงง่ายกว่าเดิม ซึ่งเป็นเรื่องที่เข้าใจผิดมาก

ผมสร้างขึ้นจากส่วนของรากผมที่ฝังตัวอยู่ในหนังศีรษะของเรา โดยสารอาหารจะถูกส่งผ่านเส้นเลือดไปที่รากขนโดยตรงภายในผิวหนัง ดังนั้นไขมันที่อยู่ตามรูขุมขนด้านนอกไม่ได้เกี่ยวกับการรับสารอาหารของเส้นผมเลย

ไขมันที่อยู่ตามเส้นผม หรือหนังศีรษะของเรานั้น มาจากต่อมไขมันภายในรูขุมขน ที่จะผลิตไขมันออกมาเคลือบเส้นผมและหนังศีรษะไว้ เพื่อให้ผมไม่ขาดง่าย ไม่แตกปลาย หวีง่าย ทั้งยังควบคุมความเป็นกรดด่างของหนังศีรษะด้วย

ส่วนที่เห็นว่าคนผมบางมักจะมีหนังศีรษะมัน เป็นเพราะคนผมบางไม่มีผมที่จะคอยดูซับไขมันไว้เหมือนคนที่มีผมปกติ ผมจึงดูมันกว่าทั้งที่ปริมาณไขมันมีเท่ากัน และไขมันที่ผมก็ไม่ได้ทำให้ผมบางแต่อย่างใด คนผมบางมักจะผมมัน จึงสามารถสร้างความเข้าใจผิดได้นั่นเอง

โดยสรุปก็คือไขมันบนหนังศีรษะเป็นประโยชน์มาก และไม่ได้ทำให้ผมร่วงแต่อย่างใด

  1. สระผมบ่อยเกินไป

เวลาที่เราสระผมมักจะมีผมหลุดร่วงออกมามาก ทำให้คนส่วนใหญ่เข้าใจไปว่าสระผมแล้วผมร่วง ยิ่งสระผมบ่อย ผมก็ยิ่งร่วงมาก ซึ่งไม่เป็นความจริงเลย

เมื่อผมเปียก ผมจะอ่อนแอลง และมีน้ำหนักมาก ทำให้ผมที่กำลังจะร่วงตามวงจรชีวิตของผมอยู่แล้ว หลุดออกมาเกือบทั้งหมด ทำให้เหมือนว่ามีผมร่วงเยอะ แต่ความเป็นจริงแล้วผมในส่วนนั้น เป็นส่วนที่จะต้องร่วงออกมาอยู่แล้วนั่นเอง

  1. แพ้ยาสระผม

บางคนใช้ยาสระผมยี่ห้อหนึ่งในช่วงที่ผมร่วงเยอะ จึงทำให้เข้าใจไปว่าตนเองแพ้ยาสระผม ความจริงแล้วการแพ้ยาสระผมในลักษณะนี้ เป็นไปไม่ได้เลย

ยาสระผมที่ขายอยู่ตามท้องตลาดปัจจุบันไม่ได้มีสารรุนแรงถึงขนาดทำให้แพ้ หากแพ้สารเคมีในยาสระผมจริงๆ หนังศีรษะจะเป็นขุย มีผื่นแดงขึ้น และจะทำให้ผมร่วงเป็นหย่อม ไม่ใช่สาเหตุการเกิดผมร่วงผมบางทั้งศีรษะอย่างแน่นอน

  1. การสวมหมวก หรือหมวกกันน็อกนาน ๆ

การสวมหมวกแล้วทำให้ศีรษะล้าน เป็นเพียงความเชื่อโบราณ และความเข้าใจผิดเท่านั้น เนื่องจากคนมักเข้าใจกันว่าการสวมหมวกคือสาเหตุผมร่วง โดยจะทำให้ผมเข้าถึงออกซิเจนได้น้อยลง ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ออกซิเจนจะเข้ามาเลี้ยงที่หนังศีรษะผ่านทางเลือด ไม่ใช่ทางอากาศแต่อย่างใด

ทั้งนี้การสวมหมวกมาก ๆ ก็มีผลกับการผมร่วงที่เกิดจากเชื้อราได้ เนื่องจากเมื่อสวมหมวกนานจนเหงื่อออกมาก จนหนังศีรษะความชื้นสูง จะทำให้เชื้อราเติบโตได้ดี ดังนั้นหากเป็นเชื้อราที่ศีรษะอยู่แล้ว ก็ไม่ควรสวมหมวกนานจนเกินไป

กำลังผมร่วงอยู่ใช่ไหม ? ต้องการปลูกผมเพื่อรักษาอาการผมร่วง ผมบาง :
ปลูกผมที่ไหนดี
ราคาปลูกผม

ผมร่วงและวงจรชีวิตเส้นผม

บนหนังศีรษะของเรามีรูขุมขนประมาณ 50,000 รูขุมขน แต่ละรูขุมขนมีผมอยู่ได้ตั้งแต่ 1 – 4 เส้น ทำให้ทั้งศีรษะมีผมอยู่ทั้งหมด 100,000 เส้น และผมร่วงเป็นเรื่องปกติมากๆ เนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของวงจรชีวิตเส้นผม โดยวงจรเส้นผมจะวนเวียนไปตามนี้

ผมร่วงเกิดจาก
  1. ระยะเจริญเติบโต (Anagen) เส้นผมส่วนใหญ่ประมาณ 85 – 90% อยู่ในระยะนี้ โดยที่ระยะเจริญเติบโตดังกล่าวจะเป็นระยะที่เกิดขึ้นนานที่สุดในวงจรชีวิตของเส้นผม คือประมาณ 2 – 6 ปี หรือ 1,000 วัน จะนานแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับพันธุกรรมของแต่ละคน ยิ่งระยะนี้เกิดขึ้นนาน ผมก็จะยิ่งยาวได้มาก นอกจากนี้ระยะเจริญเติบโตยังเป็นระยะที่ต่อมรากผมอยู่ลึกที่สุดด้วย
  2. ระยะหยุดเจริญเติบโต (Catagen) เป็นระยะที่เส้นผมจะหยุดงอก รากผมหยุดแบ่งเซลล์ และต่อมรากผมจะค่อยๆเคลื่อนตัวสูงขึ้น มีผมเพียงแค่ 1% บนศีรษะอยู่ในระยะนี้ และเส้นผมจะอยู่ในระยะนี้เพียง 2 – 3 สัปดาห์
  3. ระยะพัก (Telogen) เป็นระยะมีประมาณ 10 – 15% ของผมทั้งศีรษะ รากผมจะฟื้นฟูตัวเองเพื่อเตรียมสำหรับสร้างผมใหม่ ในช่วงต้นของระยะนี้ ต่อมรากผมจะถูกดันขึ้นจนสูงที่สุด หลังจากนั้นรากผมจะพักฟื้นฟูตัวเอง จะไม่มีการสร้างผมประมาณ 1 – 4 เดือน หรือประมาณ 100 วัน ก่อนที่ต่อมรากผมจะลดลงมาอยู่ระดับเดิม และเข้าสู่ระยะเจริญเติบโต สร้างผมใหม่ จนดันให้ผมเก่าหลุดออกมาในที่สุด (Exogen Phase)

ผมของเราจะงอกได้เดือนละประมาณ 1 เซนติเมตร กว่าผมจะร่วงผมก็จะสามารถยาวได้ประมาณ 30 – 100 เซนติเมตรเลยทีเดียว นอกจากนี้รูขุมขนแต่ละรูสามารถผลิตผมได้มากถึง 20 ชุดตลอดชีวิตของเรา โดยชุดหลังๆเส้นผมจะบาง และร่วงไวกว่าชุดแรก ดังนั้นหากไม่ได้มีปัญหาเกี่ยวกับโรคต่างๆ พันธุกรรม หรือฮอร์โมน เราก็จะสามารถมีผมไปได้ตลอดชีวิตหากดูแลรักษาผมให้ดี

การแบ่งชั้นของเส้นผม

ผมร่วง วิธีรักษา

หากผ่าเส้นผมออกในแนวขวาง ใต้กล้องจุลทรรศน์เราจะเห็นว่าผมของเรามีสามชั้น เรียงตั้งแต่ชั้นนอกสุดได้ดังนี้

  1. ชั้นคิวติเคิล (Cuticle) เป็นชั้นที่จะเคลือบอยู่ด้านนอกสุดของเส้นผม ทำให้เส้นผมเงางาม ไม่เปราะแตกง่าย ชั้นนี้จะค่อนข้างบางและโปร่งใส สามารถเสียหายได้ง่ายจากสารเคมี ความร้อน แสงแดด และการหวีผมที่มากเกินไป
  2. ชั้นคอร์เทค (Cortex) เป็นชั้นที่ประกอบด้วยเส้นใยโปรตีนขนาดเล็กและเม็ดสีจำนวนมาก เม็ดสีเหล่านั้นจะแทรกอยู่ตามเส้นใยโปรตีน เป็นส่วนที่ทำให้เราเห็นสีผมนั่นเอง
  3. ชั้นในสุด เป็นชั้นที่จะมีเฉพาะในผมที่เส้นใหญ่มากเท่านั้น ชั้นในสุดจะเป็นอากาศกลวงๆ หรืออาจเป็นท่อลำเลียงสารอาหารที่ใช้หล่อเลี้ยงผม

ผมทั้งหมดของเรา ประกอบด้วยโปรตีนเป็นส่วนใหญ่ โดยจะมีมากถึง 65-95% มีไขมัน 25% และมีน้ำอยู่อีกเล็กน้อยในปริมาณที่ไม่แน่นอน เนื่องจากผมดูดซับน้ำได้ดีมาก ผมสามารถดูดซับน้ำได้มากถึง 40% ของน้ำหนักผมในตอนที่แห้งเลยทีเดียว

เส้นผมของแต่ละคนจะเป็นอย่างไร มีปริมาณมากแค่ไหน ผมเส้นเล็กหรือใหญ่ กระจายตัวได้ดีหรือไม่ เป็นผมหยิก ผมตรง หรือมีสีอะไร จะขึ้นอยู่กับพันธุกรรมทั้งหมด รวมถึงอาการผมร่วงเองก็เกี่ยวกับพันธุกรรมอย่างมากเช่นกัน

อาการผมร่วงแบบไหนที่ควรพบแพทย์

ผมร่วง

ผมร่วงเป็นเรื่องปกติก็จริง แต่หากผมร่วงมากเกินไป หรือมีอาการผมร่วงที่ผิดปกติก็ควรพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษา โดยวิธีสังเกตตัวเองว่าควรพบแพทย์หรือเปล่า มีข้อสังเกตดังนี้

  1. ผมร่วงมากกว่า 100 เส้นต่อวัน โดยให้นับตอนที่ทำกิจกรรมระหว่างวัน เช่นเส้นผมที่ติดบนหวีในแต่ละวัน ผมบนหมอน ผมในห้องครัว ผมที่โต๊ะทำงาน หรือให้นับช่วงสระผม ว่าผมร่วงไปกี่เส้น หากสระผมทุกวัน สระครั้งหนึ่งผมร่วงเกิน 100 เส้นถือว่าผิดปกติ แต่ถ้าสระผมวันเว้นวัน ผมต้องร่วงเกิน 200 เส้นจึงจะถือว่าผิดปกติ
  2. ลองหวีผมก่อนสระผม ว่าถ้าหวีผม 1 นาที จะมีผมร่วงออกมากี่เส้น ถ้ามีผมร่วงเกิน 10 – 20 เส้น ก็ควรไปพบแพทย์
  3. สังเกตว่ามีหย่อมที่ผมหายไปบนศีรษะ ผมร่วงเป็นหย่อม หรือผมร่วงเป็นวงขนาดเท่าเหรียญสิบ

หากมีอาการเหล่านี้ ควรพบแพทย์ด้านเส้นผม และหนังศีรษะ เนื่องจากอาจเกิดโรคบางอย่างที่ทำให้ผมร่วง หรืออาจมีปัญหาผมร่วง ผมบางจากฮอร์โมนและพันธุกรรมได้ หากรีบรักษาก็จะสามารถแก้ไขได้เร็ว สามารถรักษาด้วยวิธีเบื้องต้นที่ไม่ต้องมีการผ่าตัดได้

วิธีแก้ผมร่วง

ผมร่วงอาจจะดูเป็นปัญหาที่เล็กน้อย แต่หากไม่แก้ไข ในระยะยาวอาจเกิดปัญหาได้ โดยวิธีแก้ผมร่วงไม่ได้มีแค่การพบแพทย์เพื่อทำการรักษา หรือให้ยามาทานเท่านั้น แต่แพทย์จะยังปรับพฤติกรรมของเราในการใช้ชีวิต เพื่อให้การรักษาได้ผลดีมากขึ้นด้วย โดยการรักษาจะแบ่งออกเป็น 2 วิธีดังนี้

วิธีรักษาผมร่วงด้วยตัวเอง

วิธีนี้เป็นวิธีเบื้องต้น ที่เราทำด้วยตัวเองที่บ้านได้ก่อนไปพบแพทย์ หรืออาจจะไม่ต้องไปพบแพทย์ด้วยซ้ำหากทำแล้วหายดี อีกทั้งวิธีดังกล่าวยังเป็นวิธีที่แพทย์มักให้ทำควบคู่กับการรักษาไปด้วยเพื่อให้ผลการรักษาดีขึ้น โดยวิธีรักษาจะมีดังนี้

  • เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ อุดมไปด้วยโปรตีน แร่ธาตุ และวิตามินต่างๆที่จำเป็นต่อการสร้างและบำรุงเส้นผม ไม่ทานอาหารรสจัดเกินไป
  • ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่
  • ไม่มัดผมแน่น หรือหวีผมบ่อยจนเกินไป
  • รักษาเส้นผมไม่ให้โดนแสงแดด ความร้อน หรือสารเคมีมากจนเกินไป
  • ดูแลสุขภาพจิตของตนเอง พยายามผ่อนคลาย ไม่ทำให้ตนเองรู้สึกเครียดจนเกินไป

วิธีรักษาผมร่วงทางการแพทย์

รักษาผมร่วง

หากผมร่วงในระยะที่รุนแรงขึ้น หรือรักษาผมร่วงด้วยตัวเองแล้วไม่หาย แพทย์จะแนะนำให้รักษาด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อลดผมร่วงดังนี้

  • ทานยาแก้ผมร่วง เพื่อรักษาอาการผมร่วงในระยะยาว
  • การฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้น หรือที่เรียกว่าการทำ PRP ผม เพื่อเพิ่มอาหารผม ทำให้ผมงอกได้ดีขึ้น
  • การฉีดสเต็มเซลล์ผม เพื่อกระตุ้นให้ผมงอก และสร้างเส้นเลือดฝอยให้ไปเลี้ยงผมอย่างทั่วถึงมากขึ้น
  • การใช้เลเซอร์รักษาผมร่วง (Fotona Laser, LLLT) เพื่อกระตุ้นให้เส้นผมและหนังศีรษะทำงานได้ดีขึ้น
  • การปลูกผมด้วยวิธีปลูกผม FUE หรือปลูกผม FUT ในกรณีที่รากผมฝ่อจนไม่สามารถงอกผมใหม่ได้แล้ว

รักษาผมร่วงที่ไหนดี

ผมร่วงเป็นปัญหาที่อาจจะใหญ่ขึ้นเรื่อยๆเมื่อเวลาผ่านไป ดังนั้นการเลือกคลินิกที่จะรักษาเราอย่างดีตั้งแต่ต้น เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ยิ่งรักษาดี รักษาเร็ว โอกาสที่ผมจะร่วงจนผมบาง หรือศีรษะล้านจะยิ่งมีน้อย

ข้อที่ควรพิจารณาในการเลือกคลินิกรักษาผมร่วง ผมบาง คือคลินิกนั้นต้องดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ แพทย์ต้องเป็นผู้วินิจฉัยเอง และเลือกวิธีการรักษาให้เองทุกเคส เพื่อไม่ให้มีข้อผิดพลาดจนเสียโอกาสที่จะมีผมสุขภาพดีไป นอกจากนี้คลินิกยังต้องสะอาด ได้มาตรฐาน และมีเครื่องมือครบครันอยู่เสมอ

อ่านเพิ่มเติม Checklist พิจารณาคลินิกปลูกผม ปลูกผมที่ไหนดีที่สุด! : ปลูกผมที่ไหนดี

Absolute Hair Clinic คลินิกปลูกผมโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เป็นตัวเลือกคลินิกปลูกผมที่ยอดเยี่ยมของคุณ

  • Absolute Hair Clinic ดูแลผู้มีอาการผมร่วงทุกเคสโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านเส้นผมและหนังศีรษะ ไม่ปล่อยให้ทีมงานทำเอง
  • มีตัวเลือกวิธีการรักษามากมาย เพื่อหาวิธีที่เหมาะกับปัญหาผมร่วงของคุณให้มากที่สุด
  • รักษาทุกเคสด้วยอุปกรณ์ที่สะอาด ปลอดเชื้อ ได้มาตรฐาน
  • อุปกรณ์ทุกชิ้นเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการรับรองจากทั้งในไทยและต่างประเทศ ให้คุณมั่นใจได้ว่าปลูกผมกับเราจะได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดอย่างแน่นอน

สนใจติดต่อได้ที่

LINE: @Absolutehairclinic

โทร: 087-275-2989, 095-927-3938

เว็บไซต์: https://absolutehairclinic.com/

รู้จักกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ พร้อมทั้งผลงานของแพทย์แต่ละท่านจาก Absolute Hair Clinic :

รู้จักกับแพทย์ พร้อมทั้งผลงานของแพทย์จาก Absolute Hair Clinic

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับผมร่วง

กินคีโตผมร่วง จริงไหม

กินคีโตแล้วผมร่วง เป็นเรื่องจริง แต่จะเกิดแค่กับกรณีที่กินคีโตแบบหักดิบ งดกินแป้งทั้งหมดตั้งแต่ครั้งแรก เมื่อสารอาหารที่ร่างกายได้รับเปลี่ยนไปมาก ร่างกายจะปรับตัวไม่ทัน จนเกิดอาการช็อก และเครียดในระดับเซลล์ ซึ่งสามารถส่งผลให้ผมร่วงได้

ดังนั้นหากต้องการกินคีโตให้ผมไม่ร่วง ควรค่อยๆลดคาโบไฮเดรตและน้ำตาลลง แล้วจึงค่อยงดในเวลาต่อมาเพื่อให้ร่างกายได้ปรับสภาพตามอาหารที่เปลี่ยนไป

หากผมร่วงจากคีโตสามารถรักษาด้วยการปรับพฤติกรรมในเบื้องต้น หรือพบแพทย์เพื่อรักษาโดยการบำรุงผม ยังไม่จำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัดปลูกผมถาวร เพราะผมที่ร่วงไปสามารถขึ้นใหม่ได้เมื่อเวลาผ่านไป

กินผงชูรสเยอะ ผมร่วง จริงไหม

ไม่มีงานวิจัยใดบอกว่าการกินผงชูรสทำให้ผมร่วงได้ ดังนั้นความเข้าใจนี้จึงเป็นเรื่องที่ผิด แต่การกินรสจัดก็มีผลให้ผมร่วงได้ในทางอ้อมเหมือนกัน เนื่องจากอาหารรสจัดจะทำให้เส้นเลือดหดเกร็ง ส่งผลกับความดันจนทำให้เลือดไปเลี้ยงรากผมไม่เพียงพอ

ทั้งนี้แม้จะมีผลบ้าง แต่การทานอาการรสจัดก็ไม่ได้ทำให้ผมร่วง เพียงแต่ว่าหากมีอาการผมร่วงอยู่แล้ว การกินรสจัดจะทำให้อาการผมร่วงแย่ลงเล็กน้อยเท่านั้น

ทานยาคุม ผมร่วงจริงหรือ

ทานยาคุมสามารถผมร่วงได้จริง อาจจะเป็นผลมาจากตัวยาบางตัวในยาที่เป็นปัจจัยทำให้ผมร่วง หรืออาจจะเกิดจากระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนไป เพราะยาคุมมักมีผลกับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ทำให้ผมแข็งแรง เมื่อระดับฮอร์โมนเปลี่ยนก็อาจจะทำให้ผมร่วงได้

ผมร่วง ดัดผมได้ไหม

คนผมร่วงสามารถตัดผมได้ตามปกติ แต่ผมที่สั้นลงไม่ได้ทำให้ผมร่วงน้อยลง เนื่องจากปัญหาผมร่วงมักจะเกิดที่รากผม ไม่ว่าผมสั้นหรือผมยาว หากมีปัญหาผมร่วงอยู่แล้ว ผมก็จะร่วงเท่าเดิม

ที่คนเข้าใจว่าผมสั้นแล้วผมจะร่วงน้อยลง เป็นเพราะปริมาณผมที่ร่วงออกมาดูน้อยกว่าผมที่ร่วงตอนผมยาว แต่ในความเป็นจริงแล้ว หากลองนับจำนวนเส้นผมที่ร่วงดู ก็จะเห็นว่ามีปริมาณเท่า ๆ กัน

โกนผม ทำให้ผมหนาขึ้นไหม

โกนผมไม่ได้ทำให้ผมหนาขึ้น เนื่องจากปัญหาผมบางเกิดจากรากผมสร้างผมได้บางลงกว่าเดิมจากหลายๆปัจจัย ทั้งพันธุกรรม ฮอร์โมน อายุ หรือโรคต่างๆ ดังนั้นไม่ว่าจะโกนผมกี่รอบ หากไม่รักษาอาการผมร่วง ผมที่ขึ้นมาก็จะบางเท่าเดิม หรืออาจจะบางมากกว่าเดิมเมื่อเวลาผ่านไป

รังแค ทำให้ผมร่วงหรือไม่

รังแคไม่ได้ทำให้ผมร่วง แต่การที่เราเกาศีรษะเนื่องจากรังแค ส่วนนี้ต่างหากที่ทำให้ผมร่วง

รังแคสามารถก่อให้เกิดอาการคัน หรือระคายเคืองที่หนังศีรษะได้ หากเราเกามากเกินไปก็อาจจะทำให้ผมขาดร่วง และทำให้รากผมถูกทำลายได้ นอกจากนี้ การเกาจนเกิดสะเก็ดทำให้เป็นแผลเป็น ยังทำให้หนังศีรษะส่วนที่เป็นแผลเป็น ผมไม่ขึ้นถาวรอีกด้วย

เป็นแผลเป็นบนศีรษะ สามารถแก้ไขได้ด้วยการปลูกผมถาวร : ปลูกผมในแผลเป็น

สรุปเรื่องผมร่วง

ผมร่วงเป็นสิ่งที่สามารถสร้างปัญหาได้ตั้งแต่การสร้างความรำคาญใจ ไปจนถึงปัญหาความเครียดจากความไม่มั่นใจเนื่องจากผมบาง หรือศีรษะล้านได้ ดังนั้นหากรู้ตัวว่ากำลังผมร่วงจนผิดปกติ ควรปรับพฤติกรรมของตนเอง หรือพบแพทย์เพื่อรักษา ก่อนที่ผมจะร่วงจนศีรษะล้าน และสายเกินแก้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือขอคำปรึกษาปัญหาผมร่วง ผมบางกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจาก Absolute Hair Clinic โดยตรง : Line: @Absolutehairclinic

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณเองได้โดยการคลิกตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยการเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหาให้เหมาะสมกับความสนใจของคุณ หากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจของคุณได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า