ทำความรู้จัก ฮอร์โมน DHT คืออะไร ? ตัวการก่อปัญหาศีรษะล้าน ผมบาง ผมร่วงจากฮอร์โมน

DHT

เคยเป็นไหม ? ใช้ชีวิตปกติเหมือนเดิมทุกอย่าง แต่กลับผมร่วง จนผมบางอย่างไม่ทราบสาเหตุ ทานอาหารเสริม ยาบำรุง ใช้ยาสระผมบำรุงหนังศีรษะก็ยังไม่หาย นั่นเป็นเพราะสาเหตุที่ทำให้ผมของคุณร่วง ไม่ใช่สภาพแวดล้อม และการดูแลตัวเอง แต่เกิดจากพันธุกรรม และฮอร์โมนที่มีชื่อว่า DHT

ฮอร์โมน DHT คืออะไร ? ทำให้ผมร่วงได้อย่างไร ? แล้วมีวิธีไหนที่จะรักษาผมร่วงจากฮอร์โมนได้บ้าง ? หาคำตอบที่คุณสงสัยได้ในบทความนี้ : Absolute Hair Clinic (Home)

ฮอร์โมน DHT คืออะไร

ฮอร์โมนไดไฮโดรเทสโทสเตอโรน (Dihydrotestosterone) หรือที่เรามักจะรู้จักในชื่อ DHT hormone คือฮอร์โมนเพศชายที่สำคัญอย่างหนึ่ง มีผลกับการกำหนดลักษณะเพศชายตั้งแต่ที่ระยะตัวอ่อน

เมื่อเกิดและค่อยๆโตขึ้น ฮอร์โมน DHT จะช่วยให้ร่างกายแสดงออกถึงความเป็นเพศชาย โดยจะช่วยให้องคชาติและถุงอัณฑะเจริญขึ้น บำรุงต่อมลูกหมากและถุงน้ำเชื้อ ใบหน้า ร่างกาย ขนบริเวณต่างๆเปลี่ยนไป แสดงออกถึงลักษณะทางเพศมากขึ้น

ในผู้หญิงเองก็มีฮอร์โมนตัวนี้เช่นกัน แต่ไม่มากเท่าในเพศชาย เนื่องจากระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) ที่เป็นฮอร์โมนตั้งต้นของฮอร์โมนที่ใช้สร้าง DHT มีไม่มากเท่าในเพศชาย อีกทั้งในเพศหญิงยังมีเอนไซม์ที่ใช้เปลี่ยนฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน เป็นฮอร์โมนตัวอื่นที่ไม่ใช่ DHT อีกด้วย

ฮอร์โมน DHT เกิดจากอะไร

ร่างกายไม่ได้สร้างฮอร์โมน DHT ขึ้นมาจากอวัยวะหรือต่อมฮอร์โมนต่างๆโดยตรง แต่ร่างกายจะสร้างฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน แล้วจึงใช้เอนไซม์ที่ชื่อว่า Type 2 – 5 reductase เปลี่ยนเทสโทสเตอโรน ให้กลายเป็นฮอร์โมน DHT ดังนั้นฮอร์โมน DHT เกิดจากฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนนั่นเอง

เอนไซม์ Type 2 – 5 reductase จะอยู่ที่ต่อมลูกหมาก ถุงน้ำเชื้อ ผิวหนัง รากผม รูขุมขน ตับ และสมอง เมื่อฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนไปอยู่ที่เนื้อเยื่อดังกล่าว เทสโทสเตอโรนในบริเวณนั้นจะถูกเปลี่ยนให้กลายเป็น DHT

DHT เกิดจากอะไร

ขอบคุณรูปภาพจาก f1000research

เทสโทสเตอโรนในร่างกายไม่ได้ถูกเปลี่ยนเป็น DHT ทั้งหมด ร่างกายของเราจะมี DHT อยู่เพียง 10% เมื่อเพียบกับเทสโทสเตอโรนทั้งร่างกาย แต่ในเนื้อเยื่อที่สามารถพบเอนไซม์ Type 2 – 5 reductase ปริมาณมาก สามารถพบ DHT ได้มากกว่าเทสโทสเตอโรนถึง 10 เท่าเลยทีเดียว

ข้อแตกต่าง ฮอร์โมน DHT และ Testosterone

เทสโทสเตอโรน กับ DHT แม้จะมีโครงสร้างทางเคมี และการทำงานที่ใกล้เคียงกัน คือการแสดงออกถึงความเป็นเพศชาย แต่ในความเป็นจริงแล้ว ฮอร์โมนทั้งสองส่งผลกับร่างกายต่างกัน ดังนี้

ฮอร์โมน Testosterone

ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนช่วยในเรื่องการสร้างอสุจิ ภาวะเจริญพันธุ์ แรงขับเคลื่องทางเพศ และการแข็งตัวของอวัยวะเพศ นอกจากนี้ยังควบคุมลักษณะของเพศชายอื่นๆ อย่างการพัฒนากล้ามเนื้อ กระดูก ทำให้เสียงทุ้มต่ำ ควบคุมการผลิตไขมันบนผิวหนัง และทำให้เกิดสิว

นอกจากนี้ เทสโทสเตอโรนยังลดความเสี่ยงโรคหลอดหัวใจ ป้องกันโรคกระดูกพรุน ควบคุมระดับคอเรสเตอรอล และทำให้ร่างกายย่อยน้ำตาลได้ดีขึ้นด้วย

ฮอร์โมน DHT

ฮอร์โมน DHT จะส่งผลต่างจากเทสโทสเตอโรน อาจจะมีผลแบบเดียวกับเทสโทสเตอโรนบ้าง แต่จะเน้นไปที่เรื่องขนและผมเป็นส่วนใหญ่ ฮอร์โมนนี้จะสร้างขนบนใบหน้า รักแร้ หัวหน่าว และขนอื่นๆตามร่างกาย และ DHT ที่เนื้อเยื่อบริเวณรากผมยังเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้เกิดอาการผมร่วงในเพศชายด้วย

นอกจากนี้ DHT ยังส่งผลเสียเช่นกัน DHT ทำให้แผลที่ผิวหนังหายช้าลง เป็นตัวการที่ทำให้ต่อมลูกหมากโต เสี่ยงเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก และโรคหลอดเลือดหัวใจด้วย

กำลังผมร่วง ผมบางอยู่ใช่ไหม ? เรียนรู้วิธีการรักษาผมร่วง ผมบางโดยไม่ต้องผ่าตัด :

ประโยชน์ของฮอร์โมน DHT

  • ทำให้ร่างกายทำงานได้อย่างเป็นปกติ
  • ทำให้ร่างกายแสดงออกถึงลักษณะทางเพศ เช่น เสียงทุ้ม อวัยวะเพศเจริญขึ้น และเกิดขนในที่ต่างๆ
  • มีผลต่อการสะสมไขมันในร่างกาย
  • ทำให้ร่างกายยังมีกล้ามเนื้อ และยังคงมีอารมณ์ทางเพศเมื่ออายุมากขึ้น

หากมีฮอร์โมน DHT มากเกินไปจะเป็นอย่างไร

DHT ย่อมาจาก Dihydrotestosterone คือ ฮอร์โมนที่เกิดจากการทปฏิกิริยาของเอ็นไซม์ 5-alpha reductase ซึ่งเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนให้กลายเป็น DHT โดย DHT เป็นฮอร์โมนที่มีความเข้มข้นมากกว่าเทสโทสเตอโรน และมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาและควบคุมเซลล์เพศชาย ซึ่งรวมถึงการปรับฮอร์โมนเจริญเติบโตของเส้นผมและระบบที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของเส้นผม

การมีฮอร์โมน DHT (Dihydrotestosterone) มากเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของเส้นผม มีภาวะผมร่วงฉับพลันแล้วยังส่งผลในด้านต่าง ๆ ดังนี้

  • การเจริญเติบโตของเส้นขนอื่น ๆ DHT อาจส่งผลให้เกิดการเจริญเติบโตของขนในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ขนที่หน้าอก ขนคิ้ว หรือขนรักแร้ ทำให้คุณอาจต้องการการดูแล ยิ่งเพิ่มความกังวลและความไม่มั่นใจมากยิ่งขึ้น
  • สภาวะผิวหนังแพ้ง่าย การมีระดับ DHT สูงอาจเป็นสาเหตุให้ผิวหนังแพ้ง่าย ทำให้เกิดการระคายเคือง การอักเสบหรือการเกิดสิวบริเวณใบหน้า หน้าผาก หรือแผ่นหลัง
  • เล็บเปราะ ไม่แข็งแรง การมีระดับ DHT สูงอาจมีผลต่อความแข็งแรงและสภาพของเล็บ โดยทั่วไปแล้ว DHT มีบทบาทในการเจริญเติบโตของเล็บ และการรักษาความแข็งแรงของเล็บ การมีระดับ DHT สูงเกินไปอาจส่งผลให้เล็บเปราะหรืออ่อนแรงขึ้นได้

ผลกระทบของ DHT อาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล และอาจขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ เช่น พันธุกรรม สุขภาพโดยรวม และสภาวะสุขภาพอื่น ๆ ซึ่งก็ต้องนำไปสู่ขั้นตอนการรักษาต่อไป เช่น แชมพูยับยั้งฮอร์โมน dht ยาไฟแนสเตอรายด์ ยังมียาแก้ผมร่วงอีกตัวหนึ่ง ชื่อว่ายาไมนอกซิดิล

ผลกระทบของการมีฮอร์โมน DHT น้อยเกินไป

การมี DHT ในปริมาณมาก ทำให้เกิดผลเสีย เสี่ยงโรคต่างๆมากมาย ทั้งยังทำให้ผมร่วงได้มากด้วย แต่ถ้ามีฮอร์โมนตัวนี้ในปริมาณที่น้อยเกินไป ก็สามารถส่งผลเสียได้เช่นกัน โดยผลเสีย มีดังนี้

  • อวัยวะเพศ และอวัยวะที่เกี่ยวข้องเช่นอัณฑะและต่อมลูกหมาก ไม่เจริญตามที่ควร
  • ในผู้ชายอาจทำให้เกิดก้อนต่อมน้ำเหลืองที่เต้านม
  • มีปัญหาเกี่ยวกับการสะสมไขมันในร่างกาย
  • เสี่ยงเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก และโรคหลอดเลือดหัวใจมากขึ้น

ฮอร์โมน DHT และปัญหาผมร่วง

ปัญหาผมร่วงจากฮอร์โมนผู้ชายมีตัวการสำคัญคือ DHT หากยิ่งมีปัญหาผมร่วงจากพันธุกรรมด้วยแล้ว ฮอร์โมน DHT จะยิ่งทำให้ผมร่วงหนักขึ้นไปอีก

DHT ทำให้ผมร่วงได้โดยการที่จะเข้าไปจับกับ Androgen receptor ที่รากผม และทำให้ระยะเวลาต่างๆในวัฏจักรของเส้นผมเปลี่ยนไป

โดยปกติแล้ว เส้นผมจะมีระยะเจริญเติบโต 2 – 6 ปีแล้วจึงหยุดเจริญ หลังจากนั้นจะเข้าสู่ระยะพัก ที่จะไม่มีการสร้างผมอีกเป็นเวลาประมาณ 1 – 4 เดือน แต่ถ้ารากผมได้รับอิทธิพลจากฮอร์โมน DHT ผมจะมีระยะเจริญที่สั้นลง และมีระยะพักที่นานขึ้น
หลังจากนั้
นระยะพักจะค่อยๆนานขึ้นเรื่อยๆ ทำให้รากผมสร้างผมได้สั้นลง เส้นเล็กลง ทำให้ผมดูบางกว่าที่ควรเป็น จนถึงช่วงเวลาหนึ่ง รากผมจะไม่สร้างผม และฝ่อไป เป็นสาเหตุของอาการศีรษะล้านนั่นเอง

หากเป็นโรคทางพันธุกรรมที่ทำให้ผมร่วงผมบางอยู่แล้ว DHT จะยิ่งส่งผลได้มาก เนื่องจากพันธุกรรมจะทำให้ Androgen receptor ที่รากผมทำงานได้ดีมากขึ้น DHT จึงเข้าไปทำให้ผมร่วง ผมบางได้มากขึ้นนั่นเอง ดังนั้นหากผมร่วง ผมบาง แพทย์จะรักษาในขั้นเริ่มต้นด้วยการใช้ยาแก้ผมร่วง เพื่อลดระดับฮอร์โมน DHT ลง

อาการผมร่วงที่เกิดจากฮอร์โมน DHT

DHT ผมร่วง

อาการผมร่วงเพราะฮอร์โมน DHT นั้น จะเริ่มเกิดเมื่ออายุเริ่มมากขึ้น ผมจะเริ่มร่วงมากกว่าปกติ คือเกิน 100 เส้นต่อวัน แนวผมด้านหน้าบริเวณหน้าผากจะค่อยๆร่นขึ้นไปเรื่อยๆ ผมที่กลางกระหม่อมก็ค่อยๆบางลงจนเห็นหนังศีรษะ จนทำให้ศีรษะล้านในที่สุด

จะรู้ได้อย่างไรว่าผมร่วงมากเกินไป และควรเข้าพบแพทย์ได้แล้ว ? : การวัดผมร่วงโดยการหวีผมหนึ่งนาที

หากผมร่วงมาก รากผมเดิมที่อยู่บนศีรษะฝ่อจนไม่สามารถขึ้นได้แล้ว แพทย์จะแนะนำให้แก้ไขด้วยการปลูกผมถาวร โดยจะนำผมส่วนที่อยู่บริเวณท้ายทอย หรือหลังกกหู ย้ายมาปลูกใหม่ในบริเวณที่ศีรษะเถิก หรือผมบาง

ที่สามารถใช้ผมส่วนท้ายทอยได้นั้น เป็นเพราะผมในส่วนท้ายทอยจะไม่มี Androgen receptor ทำให้ฮอร์โมน DHT ไม่สามารถทำให้ผมที่ท้ายทอยร่วงอย่าง และถึงแม้จะย้ายไปปลูกในตำแหน่งใหม่รากผมก็จะยังไม่มี Androgen receptor และ DHT ก็ทำให้ผมร่วงไม่ได้อยู่ดี

ปลูกผมถาวรคืออะไร ? ปลูกผม FUT ปลูกผม FUE คืออะไร ? ต่างกันอย่างไร ?

วิธีลดฮอร์โมน DHT

ฮอร์โมน DHT ที่มากเกินไป อาจจะทำให้ผมร่วง ผมบางได้มาก วิธีลดฮอร์โมน DHT จึงเป็นการแก้ไขอาการผมร่วง ผมบางที่เกิดจากฮอร์โมนอีกวิธีหนึ่ง ซึ่งสามารถลด DHT ได้ด้วยวิธีการต่างๆ ดังนี้

การใช้ยาแก้ผมร่วง

ยาแก้ผมร่วงที่ช่วยในการลดระดับฮอร์โมน DHT คือยาไฟแนสเตอรายด์ (Finasteride) ยาตัวนี้จะไปช่วยลดกระบวนการการเปลี่ยนเทสโทสเตอโรนให้เป็น DHT ทำให้ฮอร์โมน DHT ในร่างกายลดลงมากถึง 60%

เมื่อ DHT ลดลง ผมก็ขึ้นได้มากขึ้น มีระยะเจริญนานขึ้น ผมก็บางน้อยลง ทั้งนี้ยาไฟแนสเตอรายด์เองก็มีผลข้างเคียงเช่นกัน โดยอาจจะทำให้สมรรถภาพทางเพศลดลง แต่จะหายไปเองเมื่อเลิกใช้ หรือใช้ในระยะยาว

นอกจากยาไฟแนสเตอรายด์ ยังมียาแก้ผมร่วงอีกตัวหนึ่ง ชื่อว่ายาไมนอกซิดิล (Minoxidil) ด้วย ซึ่งไมนอกซิดิลเป็นยาที่ตั้งต้นเพื่อรักษาโรคความดันโลหิตสูง แต่พบว่ามีสรรพคุณที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของเส้นผม

ไมนอกซิดิลได้รับการอนุมัติให้ใช้ในรูปแบบทาภายนอกเพื่อรักษาผมร่วงจากฮอร์โมน ผู้ชายและผู้หญิง โดยการทำงานหลักจะขยายหลอดเลือดในเซลล์ผิวหนังของศีรษะ ทำให้เกิดการเพิ่มการไหลเวียนเลือดและส่งเสริมการเจริญเติบโตของเซลล์ผมด้วย อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับยาแก้ผมร่วง : ยาแก้ผมร่วง

ยาแก้ผมร่วงมีผลข้างเคียงทั้งหมด ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการตัดสินใจใช้ยาแก้ผมร่วงทุกชนิด ปรึกษาแพทย์จาก Absolute Hair Clinic ได้ที่ Line: @Absolutehairclinic

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

การปรับพฤติกรรมบางอย่าง นอกจากจะสามารถลดระดับ DHT ได้แล้ว ยังสามารถลดอาการผมร่วงเนื่องจากสาเหตุอื่นๆได้ด้วย พฤติกรรมที่เราควรทำได้แก่ การควบคุมน้ำหนัก ออกกำลังกายสม่ำเสมอ งดสูบบุหรี่ นวดกระตุ้นหนังศีรษะเป็นประจำ การลดความเครียดและมีเวลาให้ตนเองได้ผ่อนคลายก็ช่วยได้มากเช่นกัน

การทานสารอาหารบำรุงผม

สารอาหารบำรุงผมบางชนิด เป็นสารที่ช่วยลดการสร้าง DHT โดยธรรมชาติ อย่างอาหารที่มีสังกะสี ที่จะไปขัดขวางกระบวนการการเปลี่ยนเทสโทสเตอโรน ให้เป็น DHT สารอาหารอีกตัวที่ช่วยได้มากคือวิตามินบี 7 หรือไบโอติน ที่อาจจะไม่ได้ลดระดับ DHT ลง แต่จะไปช่วยให้รากผม และเส้นผมแข็งแรงขึ้น ทนต่อผลของฮอร์โมน DHT ได้ดีขึ้น

เราสามารถเสริมวิตามินและแร่ธาตุเหล่านี้ได้โดยการทานอาหารจำพวกผักใบเขียว ผลไม้ ปลาไขมันสูง ถั่ว ธัญพืช และผลิตภัณฑ์จากนมไขมันต่ำ

สารอาหารบำรุงผมมีอะไรบ้าง ? สารอาหารแต่ละอย่างทำหน้าที่บำรุงผมอย่างไร ? : อาหารบำรุงผม

ฮอร์โมน DHT ในผู้หญิง

DHT ผู้หญิง

ฮอร์โมน DHT แม้จะเป็นฮอร์โมนเพศชาย แต่ก็สามารถพบได้ในเพศหญิงเช่นกัน ในเพศหญิงจะพบ DHT น้อยกว่าในเพศชาย เนื่องจากมีประมาณฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนที่เป็นตัวตั้งต้นในการผลิต DHT น้อยกว่า

นอกจากนี้ในเพศหญิงยังมีเอนไซม์ที่ชื่อ Cytochrome P450 Aromatase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่จะเปลี่ยนเทสโทสเตอโรนเป็นฮอร์โมนเพศหญิงที่ชื่อ Estrodiole ทำให้ DHT ในเพศหญิงมีปริมาณน้อย อีกทั้งฮอร์โมนดังกล่าวยังช่วยต้านการทำงานของ DHT ได้อีกด้วย

นอกจาก Estrodiole แล้ว ในเพศหญิงยังมีฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ที่เป็นฮอร์โมนที่ช่วยเสริมความแข็งแรงของเส้นผม ในปริมาณมาก ดังนั้นในเพศหญิงมีโอกาสผมร่วง ผมบางเพราะฮอร์โมน DHT น้อยมาก

หากเกิดผมร่วงจากฮอร์โมนผู้หญิง ก็มักจะเกิดจากฮอร์โมนไม่สมดุล ร่างกายผลิตเทสโทสเตอโรนในปริมาณที่มากเกินไป ทำให้ DHT มากขึ้น หรืออาจจะเกิดจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนน้อยกว่าปกติ ซึ่งอาจเกิดหลังคลอดบุตร ในวัยทอง หรือในผู้ที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรม

สาเหตุอื่นที่ทำให้ผมร่วง

ผมร่วงเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในคนหลายคน ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่อาจมีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องกัน สำหรับบางคนสาเหตุอาจมาจากพันธุกรรม เนื่องจากมีคนในครอบครัวที่มีประวัติผมร่วง ผมร่วงจากฮอร์โมน ผู้หญิง หรือผู้ชายก็สามารถมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนในร่างกายได้เช่นกัน ซึ่งในผู้หญิงอาจเกิดขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ หยุดยาคุมกำเนิด หรือการสูบบุหรี่ อย่างอื่นๆ ที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับฮอร์โมนที่ส่งผลต่อระบบเส้นผม

  • เครื่องมือทำผมที่มีความร้อนสูง เช่น การใช้เครื่องเป่าผมร้อน เครื่องหนีบผม รวมถึงการใช้เคมีภัณฑ์ที่มีส่วนผสมเข้มข้น เช่น การทำสีผม การยืดผม
  • การรับประทานอาหารที่ไม่สมดุลหรือขาดสารอาหารสำคัญ การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในน้ำหนักหรือการควบคุมน้ำหนัก
  • การรับประทานอาหารที่ไม่สมดุลหรือขาดสารอาหารสำคัญ หรือวิตามินที่มีส่วนช่วยในการเจริญเติบโตของเส้นผม
  • การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในน้ำหนักหรือการควบคุมน้ำหนัก
  • ฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงเกินไป ในร่างกายผู้ชายหรือผู้ที่ไม่ได้อยู่ในช่วงตั้งครรภ์ ส่งผลให้เกิดผมร่วงได้

จะเห็นได้ว่าสาเหตุที่ทำให้ผมร่วงมีหลายปัจจัย ซึ่งการรักษาผมร่วงควรเน้นการหาสาเหตุหลักและควรหาวิธีแก้ผมร่วงให้ตรงจุด แต่ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านเส้นผมเพื่อรับคำแนะนำและการดูแลที่เหมาะสมต่อสภาพผมของคุณ

คำถามที่พบบ่อย

ระดับฮอร์โมน DHT เพิ่มขึ้นตามอายุหรือไม่

ระดับฮอร์โมน DHT จะไม่เพิ่มขึ้นตามอายุ ในทางกลับกัน ฮอร์โมนดังกล่าวจะน้อยลงเมื่ออายุมากขึ้นด้วย

แล้วทำไมผมถึงร่วงเมื่ออายุมากขึ้น ทั้งที่ DHT น้อยลง? คำตอบคือผมของเรา รวมถึงสภาพร่างกายและจิตใจของเรา ไม่แข็งแรงเท่าเดิม DHT จึงทำให้ผมของเราร่วงได้มากกว่าเดิม

รากผมของเราผลิตผมออกมาชุดหนึ่งใช้เวลา 2 – 6 ปี ก่อนจะร่วงไปและงอกขึ้นมาใหม่ ผมของเราสามารถงอกได้ถึง 20 ชุดในช่วงชีวิตหนึ่ง แต่ชุดหลังที่ผลิตออกมา จะไม่ได้แข็งแรงเท่าชุดแรก ยิ่งเวลาผ่านไป ผมของเราจะบาง และอ่อนแอลงเรื่อย ๆ

นอกจากนี้สุขภาพร่างกาย พฤติกรรมการใช้ชีวิต รวมถึงสภาพจิตใจมีผลต่อผมทั้งหมด ยิ่งอายุมาก ร่างกายยิ่งเสื่อมโทรม ทำให้รากผมเสื่อมโทรมไปตามกาลเวลาด้วย และถ้ายังทานแต่อาหารไม่มีประโยชน์ ไม่ดูแลตนเอง เครียด ไม่พักผ่อนให้เพียงพอ ผมก็จะยิ่งร่วงง่ายเข้าไปอีก

วิธีลดฮอร์โมน DHT ที่ดีที่สุด

วิธีลดฮอร์โมน DHT ที่ดีที่สุด คือการใช้ยาแก้ผมร่วงไฟแนสเตอรายด์ (Finasteride) เนื่องจากเป็นยาที่ออกฤทธิ์ต้านกระบวนการผลิต DHT โดยตรง จึงสามารถทำให้ DHT ลดลงได้จริง และทำให้ลดลงได้มากถึง 60% หรือหากอยากได้ผลมากกว่านี้ ยาอีกตัวหนึ่งที่เพิ่งเริ่มใช้กันคือ ยาดูทาสเตอรไรด์ (Dutasteride) ก็สามารถลดปริมาณ DHT ได้ดี สามารถลดได้มากถึง 90% เลยทีเดียว แต่ยาตัวนี้ค่อนข้างใหม่ ไม่มีงานวิจัยรองรับมากเท่าไฟแนสเตอรายด์ และยังไม่ได้รับอนุญาตจากองค์การอาหารและยาให้ใช้ยาตัวนี้ในไทยด้วย
ผมของคุณ

กำลังร่วงเพราะฮอร์โมน DHT หรือสาเหตุอื่น ? สามารถขอคำปรึกษากับแพทย์เฉพาะทาง จาก Absolute Hair Clinic ได้โดยตรง : Line: @Absolutehairclinic

รู้จักกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ พร้อมทั้งผลงานของแพทย์แต่ละท่านจาก Absolute Hair Clinic :

ข้อสรุป ‘ฮอร์โมน DHT’

ฮอร์โมน DHT เป็นเหตุผลหลักของอาการผมร่วงในเพศชาย ซึ่งสามารถรักษาได้ด้วยการดูแลตนเอง ทานอาหารที่มีประโยชน์ และทานยาแก้ผมร่วง ผมบาง เพื่อลดระดับฮอร์โมน DHT ลง
ทั้งนี้ ก่อนการตัดสินใจทานยาแก้ผมร่วงทุกครั้ง ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านปัญหาผมก่อน เพื่อให้มีผลข้างเคียงกับร่างกายน้อยที่สุด และเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะกับปัญหาผมของคุณมากที่สุด

Absolute Hair Clinic ให้คำปรึกษาปัญหาผมร่วงผมบาง พร้อมเลือกวิธีรักษาอาการผมร่วงที่เหมาะกับคุณ : Line: @Absolutehairclinic

References

Tim Jewell. (2560). What You Need to Know About DHT and Hair Loss., (Online). Available from: https://www.healthline.com/health/dht 

Tim Newman. (2558). Everything you need to know about DHT., (Online). Available from:  https://www.medicalnewstoday.com/articles/68082

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณเองได้โดยการคลิกตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยการเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหาให้เหมาะสมกับความสนใจของคุณ หากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจของคุณได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า