อาการผมร่วงเป็นหย่อม เป็นวง แก้ไขได้ สาเหตุและวิธีรักษาให้หายขาด

ผมร่วงเป็นหย่อม Alopecia Areata

ผมร่วงเป็นหย่อม เป็นโรคที่มักเกิดขึ้นโดยที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้ตัว เพราะไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า ไม่คัน ไม่ระคายเคือง หนังศีรษะสีเป็นปกติ ไม่แดง ไม่เป็นขุย รู้ตัวอีกทีผมก็มักจะร่วงไปจนเห็นหนังศีรษะ ให้คนอื่นๆทักแล้ว

แล้วโรคผมร่วงเป็นหย่อมสาเหตุเกิดจากอะไร? ต่างจากโรคอื่นที่ทำให้ผมร่วงเป็นหย่อมหรือไม่? ถ้าเป็นแล้วต้องรักษาอย่างไร? ทาง Absolute Hair Clinic จะตอบทุกข้อสงสัยให้กับคุณ

Absolute Hair Clinic คลินิกดูแลหนังศีรษะและเส้นผม โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง : Absolute Hair Clinic (Home)

อาการผมร่วงแบบอื่นๆ นอกจากผมร่วงเป็นหย่อมมีอะไรบ้าง? เกิดจากอะไร? : ผมร่วง

โรคผมร่วงเป็นหย่อม (Alopecia Areata)

โรคผมร่วงเป็นหย่อม (Alopecia Areata) คือโรคชนิดหนึ่ง ที่จะทำให้ผมร่วงเป็นวงที่หนังศีรษะ ขนาดประมาณเหรียญสิบ สามารถมีได้ตั้งแต่ 1 – 2 วง ไปจนถึงหลายวงทั้งศีรษะเลย โดยผิวหนังบริเวณที่ผมร่วงจะดูเป็นปกติทุกอย่าง ไม่แดง ไม่มีอาการคัน เห็นเป็นผิวหนังเรียบๆปกติ

อาการผมร่วงเป็นวงแบบนี้ สามารถหายไปเอง และผมในบริเวณดังกล่าวจะงอกใหม่ได้ในเวลาประมณ 6 – 12 เดือน แต่บางรายก็ไม่งอกเลย ดังนั้นเมื่อเป็นโรคผมร่วงเป็นหย่อมก็ควรพบแพทย์ เพื่อรักษาให้ผมงอกอีกครั้ง หรือตรวจดูให้แน่ใจ เพราะผมร่วงเป็นหย่อมสามารถเกิดจากโรคอื่นๆได้เช่นกัน

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโรคผมร่วงเป็นหย่อมที่น่าสนใจ

  • อาการผมร่วงเป็นหย่อมมักเกิดขึ้น และขยายพื้นที่อย่างรวดเร็ว
  • ขนบริเวณอื่นสามารถร่วงเป็นวงร่วมด้วยได้ เช่นบริเวณหนวด เครา หรือบริเวณอื่นๆตามร่างกายที่มีขนขึ้น
  • ผมร่วงเป็นหย่อมมักถูกสับสนกับโรคอื่นๆที่ทำให้ผมร่วงเป็นหย่อมเหมือนกัน เช่นโรคกลุ่มที่ทำให้ผมร่วงเป็นหย่อมจากการอักเสบของหนังศีรษะ อย่างโรค Frontal Fibrosing Alopecia (FFA) และ Lichen Planopilaris (LPP) หรือโรคเชื้อราบนหนังศีรษะผมร่วงเป็นหย่อม ที่เรียกว่า Tinea Capitis
  • ความเครียดทำให้ผมร่วงเป็นหย่อมได้  เป็นที่มาของอาการเครียดแล้วผมร่วง
  • ไม่ใช่โรคติดต่อ แต่เป็นโรคที่สืบทอดทางพันธุกรรมได้ โดย 1 ใน 5 ของคนที่เป็นโรคนี้ คนในครอบครัวมีประวัติผมร่วงเป็นวงเป็นมาก่อน
  • อาการผมร่วงเป็นหย่อมในคนส่วนใหญ่จะไม่รุนแรง บริเวณที่ผมร่วงไม่ได้ลุกลามมากนัก และสามารถหายเองได้เมื่อเวลาผ่านไป
  • แต่ถ้าลุกลามเป็นหนักขึ้นเรื่อยๆ ก็อาจจะเป็นโรคผมร่วงหมดศีรษะ (Alopecia Totalis) หรือถ้ารุนแรงมากๆ ก็อาจจะลุกลามไปเรื่อยๆจนเป็นโรคผมร่วงทั่วตัว (Alopecia Universalis) ได้
ผมร่วงเป็นหย่อมเชื้อราวิธีรักษา

ผมร่วงเป็นหย่อม เป็นกระจุก เกิดจากอะไร

การจะบอกว่าผมร่วงเป็นหย่อมเกิดจากอะไรนั้น เป็นสิ่งที่ไม่สามารถยืนยันได้อย่างชัดเจนในปัจจุบัน ในทางวิทยาศาสตร์ เชื่อกันว่า โรคผมร่วงเป็นหย่อมเกิดจากการอักเสบที่รากผมใต้ผิวหนังในบริเวณที่ผมร่วง สามารถเกิดได้ด้วยเหตุผลต่างๆดังต่อไปนี้

  1. โรคภูมิต้านทานเนื้อเยื่อตัวเอง (Autoimmune Diseases) โรคนี้เป็นโรคที่ภูมิคุ้มกันในร่างกายทำงานผิดปกติ จนทำให้ระบบภูมิคุ้มกันเข้าใจว่าเนื้อเยื่อในร่างกายบางส่วนเป็นสิ่งแปลกปลอม เมื่อภูมิคุ้มกันเข้าใจว่ารากผมเป็นสิ่งแปลกปลอม และโจมตีรากผม รากผมจะเกิดการอักเสบ และทำให้ผมร่วง
  2. ความเครียดสะสม อาจจะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ
  3. คนในครอบครัวเคยเป็นโรคผมร่วงเป็นหย่อมมาก่อน
  4. เป็นโรคภูมิแพ้ต่างๆ อย่างโรคภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic Dermatitis) ที่สามารถทำให้เกิดอาการอักเสบที่ผิวหนังได้ทั่วร่างกาย
  5. เชื้อไวรัสบางชนิด

โรคที่มักพบร่วมกับอาการผมร่วงเป็นหย่อม

โรคบางโรคไม่ได้ทำให้ผิวหนังอักเสบโดยตรง แต่จะมีผลข้างเคียงของโรคที่จะทำให้มีอาการผมร่วงเป็นหย่อมร่วมด้วย โดยโรคส่วนใหญ่จะเป็นโรคที่มีเป็นผลมาจากระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติเช่นเดียวกับโรคผมร่วงเป็นหย่อม 

เมื่อภูมิคุ้มผิดปกติ ระบบภูมิคุ้มกันจะสร้าง antibody ไปโจมตีเนื้อเยื่อที่ร่างกายเข้าใจว่าเป็นสิ่งแปลกปลอม จนทำให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นผิดปกติ อวัยวะในร่างกายไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ จนเป็นที่มาของโรคต่างๆ รวมถึงผมร่วงเป็นหย่อมในที่สุด โรคที่มักพบร่วมกับอาการผมร่วงเป็นหย่อม มีดังนี้

  • โรคเบาหวานประเภทที่ 1 

โรคเบาหวานประเภทที่ 1 เกิดจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายผิดปกติจนไปทำลายเนื้อเยื่อตับอ่อน เมื่อตับอ่อนถูกทำลาย ก็ไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอ และทำให้เป็นโรคเบาหวานในที่สุด 

โรคเบาหวานประเภทที่ 1 ไม่ได้ทำให้ผมร่วงโดยตรง แต่การที่ภูมิคุ้มกันผิดปกติจนไปทำลายตับอ่อน ก็จะทำให้มีโอกาสที่ภูมิคุ้มกันจะไปทำลายรากผมเช่นกัน ทำให้เกิดการอักเสบ และผมร่วงเป็นหย่อมได้

  • โรคเกี่ยวกับไทรอยด์

โรคที่เกี่ยวกับไทรอยด์ส่วนใหญ่เกิดจากภูมิคุ้มกันผิดปกติ จนไปทำลายเนื้อเยื่อที่ไทรอยด์ โรคเกี่ยวกับไทรอยด์จึงทำให้ผมร่วงเป็นหย่อมได้ด้วยสาเหตุเดียวกันกับโรคเบาหวานประเภทที่ 1 คือภูมิคุ้มกันผิดปกติ จนทำให้รากผมอักเสบ เป็นสาเหตุของผมร่วงเป็นหย่อมได้

  • โรคด่างขาว

โรคด่างขาวเกิดจากภูมิคุ้มกันผิดปกติ จนไปทำลายเซลล์ที่มีชื่อว่าเมลาโนไซต์ (Melanocyte) ซึ่งเป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่ผลิตเม็ดสี เมื่อไม่มีเซลล์ผลิตเม็ดสี ผิวก็จะเห็นเป็นรอยด่าง สีไม่สม่ำเสมอ และเมื่อภูมิคุ้มกันผิดปกติ ภูมิคุ้มกันดังกล่าวก็สามารถไปทำลายรากผมจนทำให้ผมร่วงเป็นหย่อมได้เช่นกัน

  • โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์เกิดจากภูมิคุ้มกันผิดปกติเช่นกัน เนื่องจากผู้ที่เป็นโรคนี้ ภูมิคุ้มกันจะไปทำลายเยื่อหุ้มข้อที่อยู่ที่รอบต่อระหว่างกระดูก

  • ภาวะลำไส้เป็นแผล

โรคนี้เกิดจากความผิดปกติของภูมิคุ้มกันเช่นกัน สามารถเกิดได้จากทั้งที่ภูมิคุ้มกันร่วงกายทำงานได้ไม่เต็มที่ จนทำให้สิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกายทำให้เกิดการอักเสบ และสามารถเกิดจากภูมิคุ้มกันในร่างกาย ทำลายเนื้อเยื่อบริเวณลำไส้ของตัวเองได้เช่นกัน

กำลังกังวลว่าตัวเองอาจจะกำลังเป็นโรคผมร่วงเป็นหย่อม สามารถติดต่อเพื่อปรักษากับแพทย์เฉพาะทางได้ที่ Line: @Absolutehairclinic

ชนิดของโรคผมร่วงเป็นหย่อม

  • Alopecia areata (AA) โรคนี้เป็นการผมร่วงเป็นหย่อม ๆ อาจเป็นหย่อมเล็กน้อยหรือหย่อมใหญ่ขึ้นไปก็ได้ เป็นสาเหตุผมร่วงแบบ alopecia areata คือเกิดจากการตอบโต้ของเซลล์ภูมิคุ้มกันที่โจมตีเซลล์ขนในร่างกาย ทำให้เกิดการรุกรามของผมร่วง โรคผมร่วงเป็นหย่อม ๆ ชนิดนี้อาจเกิดขึ้นบนคิ้ว หนวด หรือบริเวณขนบนลำตัวร่วมด้วย
  • Alopecia totalis (AT) โรคนี้เป็นระดับที่รุนแรงกว่าชนิด AA โดยผมร่วงทั้งหมดบนศีรษะ ส่งผลให้ผมหายไปทั้งหมด รวมถึงคิ้วและหนวดด้วย ซึ่งผมร่วงเกิดจากปัจจัยพันธุกรรมหรือภูมิคุ้มกันและผู้ป่วยที่เป็น AT อาจมีปัญหาทางจิตเวชที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากการสูญเสียทั้งตัวตนและการเจริญของผม
  • Alopecia universalis (AU) โรคนี้เป็นระดับรุนแรงที่สุดของโรคผมร่วงเป็นหย่อม โดยอาการผมร่วงผิดปกตินี้จะกระจายทั่วศีรษะทั้งหมด รวมถึงร่วมกับการร่วงของขนในลำตัวทั้งหมด ผู้ป่วยที่เป็น AU อาจสูญเสียการปกคลุมของผิวหนังและเกิดความเสียสมดุลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับขน

สำหรับทุกประเภทของโรคผมร่วงเป็นหย่อมเหล่านี้ สามารถเกิดจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น พันธุกรรม ปัญหาภูมิคุ้มกัน การตอบสนองที่ผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน หรือปัจจัยสภาพแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นความรุนแรงของอาการเครียด หรือการติดเชื้อ ทำให้บางรายเกิดผมร่วงฉับพลัน

สำหรับการรักษาโรคผมร่วงเป็นหย่อมแต่ละประเภท มีทางเลือกที่แตกต่างกันไป ตั้งแต่การใช้ยาทางท้องถ่าย การใช้ยาทางภายนอก การรักษาด้วยแสงแดด การรักษาด้วยเลเซอร์ หรือการใช้วิธีคลอดฟื้นฟูศักยภาพของผม เพื่อที่จะช่วยให้ผมเติบโตกลับมาใหม่ได้

ลักษณะอาการโรคผมร่วงเป็นหย่อม

  • ผมร่วงเป็นวง ขนาดประมาณเหรียญสิบ หรืออาจจะใหญ่กว่านั้น จะมีวงเดียว หรือหลายวงกระจายทั่วศีรษะก็ได้
  • ผิวหนังในบริเวณที่ผมร่วงจะไม่แดง ไม่มีขุย เป็นผิวสีอมชมพูเหมือนกับหนังศีรษะปกติ อาจมีอาการคันร่วมด้วยเล็กน้อย และอาจมีขนอ่อนๆเส้นบางสีขาวขึ้นบ้างในบริเวณนั้น
  • บริเวณรอบๆหย่อมผมที่ร่วงไป ผมจะมีลักษณะเป็นตอสั้น หรืออาจจะเป็นผมที่มีลักษณะเหมือนเครื่องหมายอัศเจรีย์ (!) เกิดจากผมส่วนที่ขึ้นมาในช่วงหลัง บางกว่าในช่วงแรก และไม่นานผมลักษณะดังกล่าวจะหลุดออก จนทำให้พื้นที่ผมร่วงเป็นหย่อมขยายเพิ่ม
  • อาจจะมีผมร่วงเป็นวงที่อื่นร่วมด้วย เช่นบริเวณหนวด เครา จอน หรือขนในส่วนอื่นๆของร่างกาย
  • มีข้อสังเกตุที่ทำให้โรคผมร่วงเป็นหย่อม ต่างจากอาการผมร่วงจากเชื้อรา การอักเสบบนผิวหนัง หรือการติดเชื้ออื่นๆ คือโรคผมร่วงเป็นหย่อมผิวหนังจะดูไม่มีความผิดปกติอะไรเลย ในขณะที่โรคอื่นๆจะทำให้ผิวหนังแดงกว่าปกติ มีขุยหรือสะเก็ดแผล มีอาการคันร่วมด้วย
ผมร่วงเป็นวง

ผมร่วงเป็นหย่อมๆ พบได้ในใครบ้าง

โรคผมร่วงเป็นหย่อมสามารถพบได้ทุกเพศ ทุกวัย ผมร่วงเป็นวงในผู้หญิง ในผู้ชาย ไม่ได้มีความแตกต่างกัน โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่จะอายุ 30 ปีขึ้นไป ผู้ที่ผมร่วงเป็นวงมักจะมีปัจจัยเสี่ยงร่วมกัน ดังนี้

  • เป็นผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับปัญหาภูมิคุ้มกันอยู่แล้ว
  • มีความเครียดสะสมมาก
  • ญาติที่น้อง หรือพ่อแม่เคยมีประวัติผมร่วงเป็นวง หรือป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันมาก่อน
  • เป็นผู้ที่เคยมีประวัติผมร่วงเป็นวง หรือโรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันมาก่อน
  • เล็บมือ เล็บเท้าผิดปกติ เช่นสีเล็บแปลกไป หน้าเล็บขรุขระ บางกว่าปกติ
  • ผมร่วงมากกว่าที่ควรเป็น

ทั้งนี้ แม้จะไม่ได้มีปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ ผมร่วงเป็นหย่อมก็อาจจะเกิดขึ้นได้จากสาเหตุอื่นที่การแพทย์ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูล หากพบว่าผมหลุดเป็นกระจุก ผมหายเป็นหย่อม ก็ควรพบแพทย์โดยเร็ว

กำลังสงสัยว่าอาจจะเป็นโรคผมร่วงเป็นหย่อม สามารถส่งรูปหนังศีรษะของคุณเพื่อสอบถามกับแพทย์เฉพาะทางจาก Absolute Hair Clinic ได้โดยตรงที่ Line: @Absolutehairclinic

โรคผมร่วงเป็นหย่อม Vs ผมร่วงเป็นหย่อมจากเชื้อรา

โรคผมร่วงเป็นหย่อมมีความแตกต่างจากผมร่วงเป็นหย่อมจากเชื้อรามาก ทั้งต้นเหตุ ลักษณะอาการ และวิธีรักษา แต่ผู้คนชอบสับสนกันบ่อย เนื่องจากทั้งสองโรคทำให้ผมร่วงเป็นหย่อมเหมือนกันนั่นเอง

โรคผมร่วงเป็นหย่อมจะเกิดจากการอักเสบใต้ผิวหนัง เพราะถูกระบบภูมิคุ้มกันทำลายเนื้อเยื่อบางส่วน ดังนั้นที่หย่อมผมร่วง จะมองไม่เห็นอาการอักเสบใดๆเลย ไม่แดง ไม่คัน ไม่มีขุย หรือสะเก็ด 

ส่วนการรักษาก็อาจจะไม่ต้องทำอะไร คนส่วนใหญ่สามารถหายเองได้ ถ้าต้องรักษา ก็จะรักษาที่ระบบภูมิคุ้มกันมากกว่าที่หนังศีรษะ หรือรักษาที่ต้นเหตุอื่น อย่างการลดความเครียดลง

ในขณะที่ผมร่วงเป็นหย่อมจากเชื้อรา จะเกิดจากปัจจัยภายนอกอย่างเชื้อรา ที่ทำให้เกิดการอักเสบที่ผิวหนัง ดังนั้นผู้ที่เป็นโรคนี้ จะเห็นว่าผิวหนังบริเวณที่ผมร่วงเป็นกระจุกจะบวมแดงเพราะการอักเสบ ทั้งยังมีสะเก็ดแผล และขุยสีขาวในพื้นที่ดังกล่าวด้วย

ส่วนผมร่วงเป็นหย่อมเชื้อราวิธีรักษาก็ต่างจากโรคผมร่วงเป็นหย่อมมาก เนื่องจากผมร่วงเป็นหย่อมเชื้อราวิธีรักษาคือต้องทายา หรือรับประทานยาไปจนกว่าเชื้อราจะหายไปทั้งหมดเท่านั้น ไม่สามารถหายเองได้

ข้อแตกต่างอีกข้อ คือหลังจากหายดีแล้ว โรคผมร่วงเป็นหย่อม ผมสามารถขึ้นใหม่เองได้ แต่การเกิดเชื้อราบนหนังศีรษะผมร่วงเป็นหย่อม อาจจะทิ้งรอยแผลเป็นที่ผมไม่สามารถขึ้นในบริเวณนั้นได้อีก จึงทำให้ต้องรักษาโดยการปลูกผมถาวรลงในแผลเป็นต่อไป

ปลูกผมถาวรคืออะไร? ปลูกผมถาวรลงในแผลเป็นได้จริงหรือ? :

ปลูกผม

ปลูกผมลงในแผลเป็น

ดังนั้น หากผมร่วงเป็นกระจุกจนทำให้เห็นหนังศีรษะ สิ่งแรกที่ควรทำคือสังเกตุว่าบริเวณที่ผมร่วงมีลักษณะแบบไหน เป็นแบบโรคผมร่วงเป็นหย่อม หรือผมร่วงเป็นหย่อมจากเชื้อรา เพื่อประเมินตัวเองได้เบื้อต้นก่อนการพบแพทย์ จะเป็นผลดีต่อการรักษาต่อไป

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเชื้อราบนหนังศีรษะที่ทำให้ผมร่วงเป็นหย่อม : เชื้อราบนหนังศีรษะ

การวินิจฉัยโรคผมร่วงเป็นหย่อม

เริ่มแรก แพทย์จะประเมินเบื้องต้นก่อนว่า ลักษณะหนังศีรษะบริเวณที่ผมร่วงเป็นอย่างไร ถ้าไม่มีแผล ไม่มีรอยแดง หรือสะเก็ดใดๆ แพทย์ก็จะเริ่มประเมินในขั้นถัดไป

แพทย์จะเริ่มซักประวัติเกี่ยวกับเรื่องความเครียด โรคที่เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน หรือโรคข้างเคียงที่เกิดจากภูมิคุ้มกันบกพร่องเช่นกัน เช่นโรคเบาหวานประเภทที่ 1 หรือโรคไทรอยด์

เนื่องจากโรคผมร่วงเป็นหย่อมมีสาเหตุที่ไม่ตายตัว ในบางคนอาจหาสาเหตุไม่ได้ แพทย์ก็จะรักษาตามสาเหตุเท่าที่รู้ในแต่ละบุคคล 

ถ้าเกิดจากระบบภูมิคุ้มกัน ก็จะใช้ยาที่แก้ไขเกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน ถ้าเกิดจากความเครียด ก็จะเน้นไปที่การพักผ่อน และอาจจะมีการใช้ยาแก้ผมร่วงร่วมด้วยในกรณีที่ผมใหม่ที่ขึ้นมาอ่อนแอเกินไปจากปัจจัยอื่นๆ

ผมขึ้นใหม่อาจจะบางได้จากฮอร์โมนที่ชื่อว่าฮอร์โมน DHT ฮอร์โมนที่ว่าคืออะไร? ทำให้ผมบางได้อย่างไร? : DHT

วิธีรักษาผมร่วงเป็นหย่อม

โรคผมร่วงเป็นหย่อม หรือ Alopecia Areata รักษาอย่างไร?

กว่า 50% ของคนที่ผมร่วงเป็นหย่อมหายเองได้ หรือถ้ากำลังรักษาโรคอื่นๆที่เกิดจากภูมิคุ้มกันบกพร่องอยู่แล้ว แล้วเป็นโรคผมร่วงเป็นหย่อมร่วมด้วย การรักษาที่ระบบภูมิคุ้มกันในขั้นตอนการรักษาโรคที่เป็นอยู่แล้ว ก็จะทำให้โรคผมร่วงเป็นหย่อมหายได้เช่นกัน

หลังจากผมร่วงเป็นหย่อม ผมจะขึ้นมาใหม่เอง โดยผมใหม่จะมีลักษณะบาง และเป็นสีขาวในช่วงแรก ถ้าการอักเสบใต้ผิวหนังดีขึ้น และหายไปเอง ผมก็จะกลับมางอกได้ใหม่ภายใน 6 – 12 เดือน

แต่ในกรณีที่เลยช่วงเวลานั้นมาแล้ว ผมยังไม่มีวี่แววว่าจะขึ้น แถมยังร่วงซ้ำ เป็นวงเพิ่มอีก ก็ควรเข้ารับการรักษากับแพทย์ โดยผมร่วงเป็นหย่อมมีวิธีการรักษาดังนี้

1. รักษาที่ระบบภูมิคุ้มกัน

หากผมร่วงเป็นหย่อมเนื่องจากเป็นโรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน จะไม่มีวิธีรักษาที่ทำให้หายขาด สามารถรักษาได้เพียงการกดภูมิคุ้มกันให้ทำงานน้อยลง และลดการอักเสบเท่านั้น เช่นการใช้ยากดภูมิแบบต่างๆ มีทั้งแบบสเตียรอยด์ และไม่ใช่สเตียรอยด์ บางครั้งแพทย์จะรักษาด้วยการเปลี่ยนถ่ายน้ำเหลือง

ข้อสำคัญอีกอย่างของการรักษาอาการผมร่วงเป็นหย่อมเนื่องจากระบบภูมิคุ้มกัน คือผู้ที่เข้ารับการรักษาจะต้องทำให้ตนเองแข็งแรงอยู่เสมอ เพื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันสามารถทำงานได้อย่างเป็นปกติมากที่สุด ผู้เข้ารับการรักษาควรพักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารครบห้าหมู่ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

2. ใช้ยาแก้ผมร่วง

บางครั้งสาเหตที่ผมไม่ขึ้นอาจจะไม่ใช่เพราะโรคผมร่วงเป็นหย่อมอย่างเดียว อาจจะมีปัจจัยอื่นๆที่ทำให้ผมร่วงผมบางเกิดร่วมด้วยหลังจากที่โรคผมร่วงเป็นหย่อมหายไปแล้ว ถ้าผมที่ร่วงไปไม่ขึ้น หรือเส้นบางมากเกินไปหลังจากพ้นช่วงที่รากผมควรฟื้นฟูตนเองได้แล้ว แพทย์จะแนะนำให้ใช้ยาแก้ผมร่วงร่วมด้วย

ยาแก้ผมร่วงที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมีอยู่ 2 ชนิด คือยาไฟแนสเตอรายด์ (Finasteride) ที่นิยมใช้ในผู้ชาย และยาไมนอกซิดิล (Minoxidil) ที่มีให้เลือกทั้งแบบทาและแบบเม็ด ผู้เข้ารับการรักษาจะเหมาะกับยาตัวไหนนั้น แพทย์จะเป็นประเมินให้ด้วยตัวเอง

ยาแก้ผมร่วงช่วยให้ผมงอกได้อย่างไร? มีผลข้างเคียงเยอะแค่ไหน? เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับยาแก้ผมร่วง : ยาแก้ผมร่วง

3. การกระตุ้นรากผม

กระตุ้นรากผม Fotona Laser โฟโตน่า เลเซอร์

หากไม่ต้องการใช่ยาแก้ผมร่วงเนื่องจากผลข้างเคียง หรือความไม่สะดวกต่างๆ สามารถกระตุ้นรากผมในบริเวณที่ผมร่วงเป็นกระจุก ให้รากผมกลับมางอกผมเส้นหนา คุณภาพดีเหมือนเดิมได้โดยการกระตุ้นรากผมด้วยวิธีต่างๆ

การกระตุ้นรากผมที่นิยมทำกันที่คลินิกได้แก่ การกระตุ้นด้วยเลเซอร์ LLLT, โฟโตน่า เลเซอร์ และการกระตุ้นด้วยสารในร่างกายของเราเอง อย่างการฉีดสเต็มเซลล์ผม และการฉีด PRP ผม

การกระตุ้นรากผมด้วยวิธีการแต่ละอย่าง ทำให้ผมกลับมางอกได้อย่างไร? ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากบริการของ Absolute Hair Clinic :

  1. การรักษาแพทย์ทางเลือก

แพทย์ทางเลือกส่วนใหญ่ยังไม่มีการยืนยันเป็นงานวิจัยว่าสามารถรักษาโรคผมร่วงเป็นหย่อมได้จริง แต่ก็มีผู้ที่รักษาแล้วได้ผลอยู่ โดยการรักษาทางเลือกที่นิยมทำกัน เช่น สุคนธบำบัด และการฝังเข็ม

  1. การดูแลผมด้วยวิธีอื่นๆ

ตัวอย่างการดูแลผม เช่นการทายา ในบริเวณที่ต้องการทำให้ผมขึ้น การทานอาหารเสริมต่างๆ และการทานอาหารบำรุงผม ที่สามารถหาทานได้ง่าย ในอาหารที่เราทานในชีวิตประจำวัน

อาหารบำรุงผมคืออะไร? สารอาหารแต่ละอย่างบำรุงผมได้อย่างไร? แล้วเราสามารถทานอาหารอะไรเพื่อบำรุงผมได้บ้าง? อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับอาหารบำรุงผม : อาหารบำรุงผม

ข้อสำคัญอีกอย่างในการดูแลผม คือผู้เข้ารับการรักษาต้องไม่ปล่อยให้ตัวเองเครียด เนื่องจากความเครียดเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่อาจจะทำให้เกิดโรคผมร่วงเป็นหย่อมได้ 

เนื่องจากอารมณ์ที่เกิดจากความเครียด ทำให้เกิดความผิดปกติในร่างกาย อีกทั้งความเครียดยังทำให้เกิดโรคทางจิตที่เรียกว่าโรคดึงผม (Trichotillomania) ที่จะยิ่งเป็นผลเสียกับหนังศีรษะได้อีกด้วย

ผมร่วงเป็นหย่อม รักษาที่ไหนดี

แม้ผมร่วงเป็นหย่อมจะเป็นโรคที่สามารถหายได้เองก็ตาม แต่ผู้ที่มีผมร่วงเป็นหย่อมควรรักษาแพทย์ตั้งแต่รู้ตัวว่าผมร่วงหายไปจนเห็นหนังศีรษะ เนื่องจากอาการผมร่วงเป็นหย่อมอาจจะเป็นอาการข้างเคียงของโรคทางภูมิคุ้มกันอื่นๆได้ ถ้ายิ่งรู้ตัวว่าป่วยเร็ว ก็จะยิ่งรักษาได้เร็ว

อีกทั้งถ้ารักษาอาการผมร่วงเป็นกระจุกได้เร็ว ก็มีโอกาสที่ผมจะขึ้นได้เร็วยิ่งขึ้นอีกด้วยแต่ว่าควรรักษาผมร่วงเป็นหย่อมที่ไหนดี? การเลือกคลินิกที่รักษาผมร่วงเป็นหย่อม ต้องเลือกคลินิกที่ตรวจรักษาโดยแพทย์เฉพาะทางด้านเส้นผมและหนังศีรษะเท่านั้น เนื่องจากผมร่วงเป็นหย่อมเกิดได้จากหลายสาเหตุ แพทย์ที่รักษาต้องมีความชำนาญในการวินิจฉัย เพื่อให้รักษาได้อย่างตรงจุดที่ Absolute Hair Clinic เราพร้อมรักษาโรคผมร่วงเป็นหย่อมให้กับคุณ ด้วยการการรักษาโดยวิธีการปลูกผม FUE จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านเส้นผมและหนังศีรษะ

  • ทีมแพทย์เป็นผู้เชี่ยวชาญสายตรงด้านเส้นผมและหนังศีรษะ เชี่ยวชาญด้านการรักษาปัญหาผม จนได้รับรางวัลทั้งในไทย และระดับโลกมากมาย
  • เชี่ยวชาญทั้งด้านการวินิจฉัยและการรักษา ด้วยประสบการณ์ในวงการแพทย์ที่ยาวนาน
  • อุปกรณ์ทุกชิ้นได้มาตรฐานเทคโนโลยีระดับโลก นำเข้าจากต่างประเทศ
  • แพทย์ตรวจ และรักษาเองทุกเคส เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดในขั้นตอนการรักษา
  • รับรองประสิทธิภาพด้วยผลการศึกษาระดับโลก

รู้จักกับแพทย์ พร้อมทั้งผลงานของแพทย์จาก Absolute Hair Clinic : 

นายแพทย์ก้องเกียรติ ลออวงศ์

รศ.ดร.พญ. รัชต์ธร ปัญจประทีป

รู้จักกับแพทย์ พร้อมทั้งผลงานของแพทย์จาก Absolute Hair Clinic

ข้อสรุป ‘ผมร่วงเป็นหย่อม’

ผมร่วงเป็นหย่อมเป็นโรคที่สามารถหายได้เอง ไม่เป็นอันตราย ไม่เจ็บ หรือระคายเคืองอะไรเลย แต่หากอาการผมร่วงเป็นหย่อมเกิดจากระบบภูมิคุ้มกัน ผู้ที่เป็นโรคนี้ก็ควรเข้ารับการรักษา เพื่อหาวิธีให้ผมหยุดร่วงในระยะยาวต่อไป

ผมร่วงเป็นหย่อมสามารถเกิดซ้ำได้ หากดูแลตัวเองไม่ดี ทานยาไม่ต่อเนื่อง หรือเครียดสะสมเรื้อรัง ดังนั้นผู้ที่ผมร่วงเป็นหย่อม หรือเคยผมร่วงเป็นหย่อม ควรดูแลตัวเองเป็นอย่างดี และเข้าพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อรักษาอาการผมร่วงเป็นหย่อมให้หาย

รักษาโรคผมร่วงเป็นหย่อมกับ Absolute Hair Clinic สามารถปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของเราได้ที่ Line: @Absolutehairclinic

References

James McIntosh. (2022,December). Alopecia areata: Causes, diagnosis and treatments. 

https://www.medicalnewstoday.com/articles/70956 

WebMD Editorial Contributors. (2022, April 26). Alopecia Areata.

https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/alopecia-areata 

Teresa Wright, Dermatologist. (2013). What Is Alopecia Areata?

https://www.texaschildrens.org/blog/2013/01/what-alopecia-areata 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณเองได้โดยการคลิกตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยการเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหาให้เหมาะสมกับความสนใจของคุณ หากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจของคุณได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า