เครียดแล้วผมร่วง จริงไหม แก้อย่างไร

เครียด ผมร่วง ทำอย่างไรดี

หลายคนคงจะพบเจอปัญหาผมร่วงง่ายมาก เส้นผมที่ร่วงกองบนพื้นเยอะจนกวาดเท่าไหร่ก็ไม่หมดสักที จนเกิดข้อสงสัยว่าผมร่วงเพราะอะไร เครียดแล้วผมร่วงจริงไหม จะมีวิธีจัดการกับอาการผมร่วงอย่างไรดี เราไปดูสาเหตุผมร่วง และการดูแลตนเองจากอาการผมร่วงกันได้ในบทความนี้


สารบัญบทความ


เครียดแล้วผมร่วงจริงไหม

คำถามยอดฮิตของคนที่มีอาการผมร่วง “เครียดแล้วผมร่วง จริงไหม?” คำตอบคือ จริง ความเครียดส่งผลให้เกิดอาการผมร่วงได้ เพราะความเครียดจะส่งผลให้เกิดความผิดปกติในร่างกายหลาย ๆ อย่าง หนึ่งในนั้นคืออาการผมร่วงนั่นเอง 

ซึ่งหากจะกล่าวว่าเครียดแล้วผมร่วงก็ดูจะกำปั้นทุบดินไปหน่อย หากให้เจาะจงถึงความเครียดที่ส่งผลให้เกิดอาการผมร่วงนั้นสามารถแบ่งอาการได้อีก 3 แบบ แต่จะขอกล่าวในหัวข้อถัดไป


ความเครียดทำให้ผมร่วงได้อย่างไร

เครียดแล้วผมร่วง จริงไหม

อย่างที่ได้กล่าวไปในหัวข้อข้างต้น ความเครียดที่ทำให้ผมร่วงมีหลายรูปแบบ เพราะความเครียดนั้นส่งผลให้ระบบต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งพฤติกรรมของเรานั้นผิดปกติไป โดยสามารถแบ่งสาเหตุความเครียดที่ทำให้เกิดอาการผมร่วงได้ทั้งหมด 3 แบบ ดังนี้

Alopecia areata

Alopecia Areata เป็นอาการผมร่วงจากความเครียดที่ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานมากและผิดปกติ ร่างกายจะเข้าใจว่ารากผมเป็นสิ่งแปลกปลอมและเข้าโจมตี ทำให้เกิดอาการผมร่วงเป็นหย่อม ๆ ในบางรายอาจมีอาการไม่รุนแรง แต่บางรายก็รุนแรงถึงขั้นศีรษะล้านเลยก็เป็นได้

Telogen effluvium

Telogen Effluvium เป็นอาการผมร่วงฉับพลัน โดยปกติแล้วเส้นผมคนเราจะมีระยะเจริญเติบโต ระยะหยุดเจริญเติบโต จนเข้าสู่ระยะพัก ซึ่งเมื่อเข้าสู่ระยะนี้รากผมจะหยุดสร้างเส้นผมและทำการผลัดเส้นผมเก่าออกนั่นเอง ปกติแล้วเส้นผมที่เข้าสู่ระยะพักจะมีเพียงแค่ 10-15% ของทั้งศีรษะเท่านั้น

แต่เมื่อใดก็ตามที่เกิดความเครียด จะทำให้เส้นผมเข้าสู่ระยะพักได้เร็วกว่าปกติ ทำให้ทั้งศีรษะมีเส้นผมเข้าสู่ระยะพักมากกว่าเดิม จากแค่ประมาณ 10% ก็อาจมากถึง 50% เลยก็ได้ การที่เส้นผมเข้าระยะพักมาก ทำให้เราสามารถสังเกตเห็นผมที่หลุดร่วงออกมามากกว่าปกติ เป็นอาการผมร่วงนั่นเอง

แต่นอกจากเครียดแล้วผมร่วงเข้าสู่ระยะพักแล้ว ยังมีสาเหตุอื่นที่ทำให้เส้นผมเข้าสู่ระยะพักเร็วอีกหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะโรคทางจิตเภท โรคทางกายเรื้อรังต่าง ๆ อาการข้างเคียงจากการบำบัด รักษาโรค หรือแม้กระทั่งระดับฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยน เป็นต้น

Trichotillomania

Trichotillomania เป็นอาการผมร่วงที่เกิดจากพฤติกรรมที่แสดงให้เห็นจากภายนอก เช่น การแคะ แกะ เกาหนังศีรษะ การดึงผมตนเอง โดยพฤติกรรมเหล่านี้อาจแสดงออกมาอย่างไม่รู้ตัว หรือในบางรายอาจรู้ตัว แต่ไม่สามารถคุมตัวเองได้ ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้มักมาจากความเครียด ความกังวลใจ และอาการด้านลบต่าง ๆ เป็นต้น


ผมร่วงจากสาเหตุอื่น

ไม่เพียงแต่เครียดแล้วผมร่วงเท่านั้น ยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้ผมร่วงได้อีก ดังนี้

  • ผมร่วงจากกรรมพันธุ์

คงจะเคยได้ยินกันมาบ้างเรื่องยีนหัวล้าน อาการผมร่วงจากกรรมพันธุ์เป็นอีกสาเหตุที่พบได้บ่อย ๆ โดยมักจะเกิดในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง โดยพันธุกรรมหรือยีนจะส่งผลต่อระดับฮอร์โมนและรากผมอย่างมาก 

เอนไซม์ Type 2 – 5 reductase สามารถเปลี่ยนฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน หรือฮอร์โมนเพศชายเป็น DHT ซึ่ง DHT นี้เองที่เป็นสาเหตุที่ทำให้ผมร่วง ยิ่งมี DHT มากเท่าไรผมยิ่งร่วงมากขึ้นเท่านั้น

  • ผมร่วงจากโรค

ผมร่วงจากโรคก็เป็นสาเหตุที่พบได้ไม่น้อยเลย โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวข้องกับศีรษะ เช่น โรคผมร่วงทั่วศีรษะ โรคผมร่วงเป็นหย่อม โรคเชื้อราบนหนังศีรษะ เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีโรคทางกายอื่น ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อรากผม ทำให้ผมร่วงได้ เช่น โรคติดเชื้ออื่น ๆ โรคที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน โรคผิวหนัง โรคไต โรคโลหิตจาง ต่อมไทรอยด์ และโรคอื่น ๆ อีกมากมาย

  • ผมร่วงจากฮอร์โมน

โดยเฉพาะในเพศชายที่มักจะเจออาการผมร่วงจากฮอร์โมนสูงมาก เนื่องจากฮอร์โมนเพศชายสามารถถูกเปลี่ยนให้กลายเป็นฮอร์โมน DHT ซึ่งจะไปทำให้วงจรชีวิตของเส้นผมสั้นลงและยังส่งผลให้รากผมฝ่อ เมื่อรากผมฝ่อก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ผมร่วง และศีรษะล้านในที่สุด

  • ผมร่วงหลังผ่าตัด

หลังได้รับการผ่าตัดไป 3-4 เดือนอาจมีอาการผมร่วงหลังผ่าตัดได้ อาจมีสาเหตุมาจากความเครียดหลังผ่าตัด ผลข้างเคียงจากยาสลบ หรือมาจากร่างกายยังฟื้นฟูไม่เต็มที่ การเสียเลือดมาก ทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงศีรษะได้น้อย

  • ผมร่วงจากเคมี

สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งที่เข้ารับการรักษาแบบประคับประคองด้วยการใช้เคมีบำบัดหรือทำคีโมก็จะช่วยชะลอไม่ให้เซลล์มะเร็งแบ่งตัวและโตขึ้นไว 

แต่ผลข้างเคียงของการใช้เคมีบำบัดและการทำคีโมคือ การที่ทำให้เซลล์ชะลอการแบ่งตัวนั้นอาจเกิดขึ้นกับเซลล์ปกติด้วย ซึ่งหนึ่งในนั้นคือเซลล์รากผมนั่นเอง การที่รากผมถูกชะลอการแบ่งตัวทำให้เส้นผมไม่แข็งแรงและเกิดอาการผมร่วงในที่สุด

  • ผมร่วงเพราะขาดสารอาหาร

มนุษย์ต้องการสารอาหารในการบำรุง ซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย หากร่างกายขาดสารอาหารที่จำเป็น หนึ่งในส่วนที่สังเกตได้ง่ายคืออาการผมร่วง เพราะมีสารอาหารมาบำรุงไม่เพียงพอนั่นเอง

  • ผมร่วงหลังคลอด

ในช่วงตั้งครรภ์ร่างกายจะมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงกว่าปกติมาก ซึ่งฮอร์โมนนี้ช่วยให้ผมขาดร่วงน้อยกว่าเดิม ผมสุขภาพดีขึ้น แต่ผู้หญิงหลังคลอดจะมีระดับฮอร์โมนเปลี่ยนไปอย่างมาก ฮอร์โมนเอสโตรเจนที่เคยพุ่งสูงกลับลดลงจนถึงระดับปกติ ทำให้ผมกลับมาสู่สภาพเดิม จึงเห็นว่าผมร่วงมากกว่าปกตินั่นเอง


เครียดแล้วผมร่วง ดูแลตัวเองอย่างไร

เครียดแล้วผมร่วง ควรทำอย่างไร

เครียดแล้วผมร่วง ควรทำอย่างไรดี? หากคุณเป็นหนึ่งในผู้ที่มีอาการผมร่วงจากความเครียดและอยากจะหาวิธีดูแลตนเองไม่ให้ผมร่วงไปมากกว่านี้จะต้องทำอย่างไร หรือจะฟื้นฟูผมให้กลับมาร่วงน้อยลงอย่างไร มาดูได้ในหัวข้อนี้

  • จัดการความเครียดแล้วผมร่วงด้วยการออกกำลังกาย

การออกกำลังกายนั้นนอกจากจะช่วยส่งเสริมให้สุขภาพกายดีขึ้นแล้ว ยังช่วยให้สุขภาพจิตดีขึ้นอีกด้วย จึงเป็นวิธีการลดความเครียดที่สามารถทำได้ง่ายและเป็นที่นิยมอย่างมาก

  • จัดการความเครียดแล้วผมร่วงด้วยการพักผ่อน

ผู้ที่มีความเครียดหลาย ๆ คนอาจเกิดจากการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ ดังนั้นหากอยากหายจากอาการผมร่วงก็ควรจะพักผ่อนให้ได้อย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงต่อวัน ก็จะทำให้ระดับความเครียดลดลงได้

  • จัดการความเครียดแล้วผมร่วงด้วยการรับประทานอาหาร

เชื่อว่าหลายคนมักจะรับประทานอาหารมากกว่าปกติเวลามีเรื่องเครียด ซึ่งการรับประทานอาหารนั้นช่วยลดความเครียดได้จริง แต่ทั้งนี้ควรรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์และพอดี เพราะถึงแม้ว่าอาหารจะช่วยลดความเครียดแต่หากรับประทานอย่างไม่ระวังก็อาจส่งผลให้เกิดความเครียดจากน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งยังเครียดจากโรคอื่น ๆ ที่รุมเร้าอีกต่างหาก

แล้วถ้าอย่างนั้นเครียดแล้วผมร่วง กินอะไรดี? อาหารที่สามารถช่วยลดความเครียดได้ เช่น มัทฉะ ปลาที่มีไขมันโอเมก้า 3 บลูเบอรี่ เครื่องใน ซึ่งอาหารเหล่านี้ช่วยลดความเครียดและป้องกันภาวะวิตกกังวลและซึมเศร้าได้ด้วย

นอกจากนี้ควรจะรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อเส้นผมและหนังศีรษะ เช่น สารอาหารกลุ่มไบโอติน สังกะสี วิตามินบี ธาตุเหล็ก ซิลิก้า วิตามินซี ทองแดง ซึ่งสารอาหารเหล่านี้ช่วยบำรุงเส้นผมและหนังศีรษะให้แข็งแรง ลดการขาดหลุดร่วงได้


รักษาผมร่วงจากความเครียด

รักษาผมร่วงจากอาการเครียด

หากลองดูแลตัวเองจากอาการเครียดแล้วผมร่วงตามวิธีด้านบนแล้วก็ยังไม่หาย นั่นอาจหมายถึงว่าคุณเป็นผู้ที่มีอาการผมร่วงรุนแรง และหากไม่เข้ารับการรักษาให้เร็ว การรักษาก็จะยากขึ้นไปเรื่อย ๆ ดังนั้นควรจะเข้ารับการปรึกษากับแพทย์เฉพาะทางเพื่อแก้ปัญหาผมร่วงให้เร็วที่สุด

การเลือกคลินิกรักษาเส้นผมและหนังศีรษะนั้นสำคัญอย่างมาก ควรจะเข้ารับการรักษาที่คลินิกที่มีแพทย์เฉพาะทาง เพื่อให้การรักษาอาการผมร่วงนั้นประสบผลสำเร็จมากที่สุด ลดโอกาสผิดพลาดที่ทำให้สูญเสียโอกาสที่จะกลับมามีผมสุขภาพดีอีกครั้ง 

นอกจากนี้คลินิกนั้น ๆ ยังต้องมีมาตรฐานรับรอง มีเทคโนโลยีและเครื่องมือที่ทันสมัยและครบครันอยู่เสมอ Absolute Hair Clinic เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สามารถทำให้คุณได้รับการรักษาที่ดีที่สุด เพราะเรา…

  • ดูแลผู้มีอาการผมร่วงทุกเคสโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านเส้นผมและหนังศีรษะ ไม่ปล่อยให้ทีมงานทำเอง
  • มีตัวเลือกวิธีการรักษามากมาย เพื่อหาวิธีที่เหมาะกับปัญหาผมร่วงของคุณให้มากที่สุด
  • รักษาทุกเคสด้วยอุปกรณ์ที่สะอาด ปลอดเชื้อ ได้มาตรฐาน
  • มีอุปกรณ์ทุกชิ้นเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการรับรองจากทั้งในไทยและต่างประเทศ ให้คุณมั่นใจได้ว่ารักษาผมร่วงกับเราจะได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดอย่างแน่นอน

สรุปเรื่องเครียดแล้วผมร่วง

เครียดแล้วผมร่วงเป็นปัญหาที่ทำให้เกิดความไม่มั่นใจในตนเอง ส่งผลกระทบต่อจิตใจอย่างมาก หากปล่อยไว้ไม่เข้ารับการรักษาก็อาจนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ร้ายแรงอย่างศีรษะล้านในที่สุด ดังนั้นจึงควรดูแลตนเองลดความเครียดเพิ่มเส้นผมบนศีรษะ แต่หากทำแล้วไม่ได้ผลก็ควรเข้ารับการรักษากับแพทย์โดยตรง เพื่อให้ผมกลับมามีสุขภาพดีอีกครั้ง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือขอคำปรึกษาปัญหาผมร่วง ผมบางกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจาก Absolute Hair Clinic โดยตรง : Line: @Absolutehairclinic


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณเองได้โดยการคลิกตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยการเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหาให้เหมาะสมกับความสนใจของคุณ หากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจของคุณได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า