“ผู้หญิงหัวล้าน” หลายคนคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว เพราะเชื่อว่าต้องเป็นโรคบางอย่างก่อนผู้หญิงจึงจะหัวล้านได้แบบผู้ชาย แต่ในความเป็นจริงแล้ว ผู้หญิงสามารถหัวล้านได้โดยที่ไม่ต้องเป็นโรค แต่เป็นลักษณะที่ส่งต่อผ่านพันธุกรรม หรืออาจเกิดจากฮอร์โมนในร่างกายเองก็ได้เช่นกัน
นอกจากพันธุกรรมแล้ว อาการหัวล้านในผู้หหญิงเกิดจากสาเหตุอะไรได้อีก? ในบทความนี้ Absolute Hair Clinic จะพูดถึง 10 สาเหตุที่ทำให้ผู้หญิงหัวล้าน พร้อมวิธีรักษา และวิธีป้องกันหัวล้าน เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่อาจทำให้ผู้หญิงหัวล้านถาวร
รู้จักศีรษะล้านในผู้หญิง
ผู้หญิงหัวล้านได้ไหม? ความจริงแล้วผู้หญิงสามารถหัวล้านได้ไม่ต่างจากผู้ชาย และมีโอกาสเกิดขึ้นได้ค่อนข้างมากด้วย เพียงแต่ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะไม่ปล่อยให้ตนเองหัวล้านมากเท่าผู้ชาย จึงไม่ค่อยพบเห็นผู้หญิงหัวล้านเท่าใดนัก
1 ใน 3 ของผู้หญิงทั้งหมด เคยประสบกับภาวะผมร่วงมากกว่าปกติ และ 2 ใน 3 ของผู้หญิงวัยใกล้หมดประจำเดือนกำลังประสบกับภาวะผมบางในผู้หญิง หากปล่อยไว้ให้ลุกลามโดยไม่แก้ไข อาจทำให้เกิดหัวล้านผู้หญิงในที่สุด
ส่วนใหญ่มาจากพันธุกรรมและฮอร์โมน
รูปแบบของหัวล้านผู้หญิง จะเริ่มที่อาการผมบางในช่วงกลางศีรษะ มองจากภายนอกจะเริ่มเห็นหนังศีรษะ จุดที่เห็นหนังศีรษะจะเริ่มขยายออกเป็นวงกลม ทำให้ผู้หญิงหัวล้านตรงกลางศีรษะในที่สุด รูปแบบผู้หญิงหัวล้านในลักษณะนี้จะเรียกว่า “Female Hair Loss Pattern” โดยรูปแบบดังกล่าวจะแบ่งแยกย่อยออกเป็น 3 รูปแบบตามความรุนแรงของอาการศีรษะล้าน ได้แก่
- Type I – ผมบางลงกว่าปกติ เริ่มเห็นหนังศีรษะตรงกลาง
- Type II – ผมบางปานกลาง เห็นหนังศีรษะมากขึ้นกว่า Type I
- Type III – ผมบางลงมาก เห็นหนังศีรษะเป็นบริเวณกว้าง
ผู้หญิงหัวล้าน ส่วนใหญ่จะล้านในช่วงกลางศีรษะ แต่ก็มีกรณีที่พบได้น้อยคือเริ่มบางจากด้านหน้าเหมือนกับผู้ชาย จะเรียกรูปแบบนี้ว่า “Frontal” กรณีที่พบได้น้อยอีกกรณีหนึ่งคือศีรษะล้านมากจนเหลือผมน้อยหรือไม่มีเลย จะเรียกรูปแบบนี้ว่า “Advance”
เปรียบเทียบลักษณะหัวล้านในผู้หญิงและผู้ชาย
ผู้ชายหัวล้าน จะเริ่มล้านที่ด้านหน้าและกลางศีรษะ สามารถเกิดขึ้นพร้อมๆกันหรืออย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ หลังจากนั้นเมื่อศีรษะล้านมากขึ้น จะล้านทั้งด้านหน้าและกลางศีรษะ พื้นที่ที่ศีรษะล้านในทั้งสองตำแหน่งจะค่อยๆขยายขึ้นและบรรจบกันในที่สุด หากไม่แก้ไขศีรษะจะล้านเรื่อยๆ ทำให้เหลือผมแค่บริเวณท้ายทอยและหลังกกหู
สาเหตุที่เหลือผมในสองบริเวณนี้เป็นเพราะ สาเหตุหลักที่ทำให้ผู้ชายศีรษะล้านคือฮอร์โมน DHT ฮอร์โมนตัวนี้จะไปออกฤทธิ์ที่รากผม ทำให้ผมมีระยะเจริญเติบโตน้อยลง ระยะที่รากผมไม่สร้างผมยาวนายขึ้น จนทำให้ผมบางและรากผมฝ่อในที่สุด แต่เส้นผมที่ท้ายทอยและหลังกกหูเป็นเส้นผมที่เรียกว่า “เส้นผมถาวร” เนื่องจากฮอร์โมน DHT ไม่ออกฤทธิ์ที่ผมในบริเวณดังกล่าวนั่นเอง
ในขณะที่ผมผู้หญิงจะบางและล้านช่วงกลางศีรษะเท่านั้น ไม่ได้ค่อยพบกรณีที่ล้านจากด้านหน้าเท่าไหร่นัก อีกทั้งเมื่อผมบางและร่วง ผมที่หลังกกหูและท้ายทอยสามารถบางได้เช่นกัน เนื่องจากสาเหตุหลักของผมร่วงในผู้หญิงไม่ได้เกิดจากระดับฮอร์โมน DHT เพิ่มขึ้นเหมือนในผู้ชาย แต่มาจากฮอร์โมนเพศหญิงที่ช่วยให้เส้นผมแข็งแรง ลดระดับลงเมื่ออายุมากขึ้น เมื่อผมบาง จึงมีผลกับผมทั้งศีรษะนั่นเอง
กรรมพันธุ์
หัวล้าน ผมบางกรรมพันธุ์ในผู้หญิง สามารถพบได้มาก ในปัจจุบันยังไม่สามารถทราบได้ว่าผู้หญิงหัวล้านกรรมพันธุ์เกิดจากยีนตัวใด แต่ยีนดังกล่าวทำให้ระยะเจริญของเส้นผมลดลง และระยะพักใช้เวลานานขึ้น
ระยะเจริญและระยะพักคืออะไร? เส้นผมของคนเรามีวัฏจักรของตัวเอง โดยเริ่มจากระยะเจริญ เป็นระยะที่เส้นผมจะค่อยๆเติบโตขึ้นเรื่อยๆบนศีรษะ เป็นเวลาประมาณ 2 – 6 ปีจากนั้นเส้นผมจะหยุดเจริญ และเข้าสู่ระยะพัก ในระยะนี้รากผมจะไม่สร้างเส้นผมอีกเป็นเวลาประมาณ 1 – 4 เดือน ก่อนเส้นผมชุดใหม่จะงอกออกมาและดันเส้นผมเดิมให้ร่วงไป
หากระยะเจริญน้อยลง แสดงว่าผมบนศีรษะสามารถร่วงออกได้เร็วมากกว่าปกติ หากระยะพักเพิ่มขึ้น แสดงว่ารากผมจะไม่สร้างผมนานกว่าปกติ ทำให้ผมโดยรวมบางลง และถ้าระยะพักนานขึ้นเรื่อยๆ ระยะเจริญน้อยลงเรื่อยๆ สุดท้ายแล้วรากผมจะไม่สร้างผมและฝ่อไป ทำให้ผู้หญิงหัวล้านในที่สุด
ทั้งนี้ ผู้หญิงหัวล้านกรรมพันธุ์ เกิดจากคนละสาเหตุ และเกิดจากยีนคนละตัวกับหัวล้านกรรมพันธุ์ในผู้ชาย เพราะหัวล้านกรรมพันธุ์ในผู้ชายส่งผลให้รากผมตอบสนองกับฮอร์โมน DHT ได้ดีขึ้น จนทำให้ศีรษะล้านได้มากขึ้น ในขณะที่ผู้หญิงมี DHT น้อยเกินกว่าจะสร้างผลกระทบให้กับเส้นผมได้มากนั่นเอง
ฮอร์โมน
อาการผมร่วงหัวล้านในผู้หญิงส่วนใหญ่ นอกจากจะเกิดจากพันธุกรรมแล้ว ยังเกิดจากฮอร์โมนได้มากเช่นกัน ฮอร์โมนที่มีผลกับผมส่วนใหญ่จะเป็นฮอร์โมนเพศ ถ้าระดับฮอร์โมนเพศผิดปกติอาจทำให้ผมร่วงได้ โดยฮอร์โมนที่ทำให้ผู้หญิงหัวล้าน จะเกี่ยวกับระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) เป็นส่วนใหญ่
ฮอร์โมนเอสโตรเจนมีผลทำให้ผู้หญิงมีผมดกหนาและแข็งแรงกว่าผู้ชาย ฮอร์โมนตัวนี้จะทำให้เส้นผมมีระยะเจริญที่ยาวนานมากกว่าปกติ แต่หากระดับฮอร์โมนตัวนี้ต่ำลงจากเหตุผลหลายๆอย่างก็จะทำให้ผมร่วง และทำให้ผู้หญิงหัวล้านในที่สุด
นอกจากนี้ หากเป็นผู้หญิงที่มีพันธุกรรมหัวล้านอยู่แล้ว ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ต่ำลงจะทำให้อาการของหัวล้านกรรมพันธุ์แสดงออกมาชัดขึ้นด้วย เพราะไม่มีฮอร์โมนที่ช่วยให้เส้นผมแข็งแรงเท่าเดิม
สาเหตุที่ทำให้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำลง เช่น วัยทอง ภาวะหลังคลอดบุตรที่ทำให้ผมร่วงหลังคลอด และการใช้ยาคุมกำเนิด ล้วนทำให้ผมร่วง หัวล้านได้ทั้งสิ้น
ผู้หญิงสามารถผมร่วงจากฮอร์โมน DHT ได้เช่นกัน แต่จะพบได้ค่อนข้างน้อย เนื่องจากฮอร์โมน DHT สร้างมาจากฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชาย ในร่างกายผู้หญิงนั้น นอกจากจะมีฮอร์โมนเพศชายน้อยแล้ว ยังมีเอนไซม์ที่จะเปลี่ยนเทสโทสเตอโรนเป็นฮอร์โมนตัวอื่นที่ช่วยต้านการทำงานของฮอร์โมน DHT ด้วย ฮอร์โมน DHT จึงมีโอกาสทำให้ผู้หญิงผมร่วงได้น้อยมากนั่นเอง
อายุ
ผมบาง หัวล้านในผู้หญิง สามารถเกิดจากอายุที่มากขึ้นได้เช่นกัน เพราะนอกจากอายุจะทำให้ระดับฮอร์โมนเพศที่ส่งผลกับผมอย่างฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงแล้ว ยังทำให้ผมบางลงกว่าที่เคยเป็นอีกด้วย
รากผมของคนเราสามารถงอกผมได้ประมาณ 20 ชุดตลอดชีวิต เส้นผมชุดแรกๆจะดก หนา แข็งแรง ส่วนรากผมชุดหลังๆที่ผลิตออกมาจะเส้นเล็ก บาง และมีระยะเจริญที่สั้นลง จากความเสื่อมสภาพของรากผมตามอายุขัย
ความเครียด
ความเครียดเป็นภาวะทางจิตใจที่สามารถส่งผลกับร่างกายได้มาก โดยเฉพาะระบบฮอร์โมน หากความเครียดไปรบกวนฮอร์โมนเพศ หรือฮอร์โมนที่ส่งผลกับการดูดซับและลำเลียงสารอาหารในร่างกาย จะทำให้ผมร่วงได้
ในบางครั้ง ความเครียดอาจทำให้ผมร่วงโดยตรงได้โดยไม่ทราบสาเหตุ สาเหตุบางอย่างนั้นจะทำให้เส้นผมส่วนใหญ่บนศีรษะเข้าสู่ระยะพักในเวลาไล่เลี่ยกัน ปกติแล้วเส้นผมจะอยู่ในระยะพักประมาณ 10 – 15 % ของเส้นผมทั้งศีรษะ หากเส้นผมเข้าสู่ระยะพักจำนวนมากกว่าปกติ จะทำให้ผู้หญิงหัวล้านในช่วงเวลาหนึ่งได้
ขาดสารอาหาร
สารอาหารมีผลกับการเจริญเติบโตของเส้นผมมาก ถ้าสารอาหารไม่พออาจทำให้ผู้หญิงหัวล้านได้ อาการแบบนี้มักพบในผู้ที่ลดน้ำหนักโดยการงดอาหารอย่างฉับพลัน หรือลดโปรตีนมากจนเกินไป เพราะเส้นผมเป็นหนึ่งในส่วนแรกๆที่ร่างกายจะไม่ลำเลียงอาหารไปเลี้ยงหากร่างกายอยู่ในภาวะขาดสารอาหาร
เมื่อสารอาหารไม่ไปเลี้ยงที่รากผม รากผมจะไม่สามารถสร้างเส้นผมได้ เนื่องจากเส้นผมสร้างจากเคราติน (Keratin) และเคราตินก็เป็นโปรตีนที่ต่อกันเป็นสายยาว หากร่างกายขาดสารอาหารโดยเฉพาะโปรตีน จะทำให้รากผมหยุดสร้างเส้นผม เข้าสู่ระยะพัก และเส้นผมจะค่อยๆร่วงออกไป
ยา
ยามีผลข้างเคียงทำให้ผมร่วงได้จากหลายสาเหตุ ทั้งมีผลกับฮอร์โมน ระบบเลือด หรือการทำงานของรากผมโดยตรง ตัวอย่างยาดังกล่าว เช่น ยาต้านมะเร็ง ยาเคมีบำบัดที่รู้จักในชื่อของคีโม, ยาลดการแข็งตัวของเลือด, ยาต้านซึมเศร้า เป็นต้น
โรคต่างๆ
โรคที่ทำให้ผมร่วง หัวล้านในผู้หญิง สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 อย่างคือโรคที่ส่งผลกับรากผมโดยตรง โรคที่ส่งผลกับรากผมในทางอ้อม และโรคจากจิตเวชที่ทำให้ถอนผมตนเองจนผู้หญิงหัวล้านได้
โรคที่ส่งผลกับรากผมโดยตรง ได้แก่ โรคผมร่วงทั่วศีรษะ (Telogen Effluvium) ที่อาจมีสาเหตุเกิดจากพันธุกรรม หรือสาเหตุอื่นๆ, โรคผมร่วงเป็นหย่อม (Alopecia Areata) ทำให้ผมร่วงเฉพาะหย่อมโดยไม่ทราบสาเหตุ, และโรคเชื้อราบนหนังศีรษะ (Tinea Capitis) ที่ทำให้เกิดการอักเสบจนรากผมโดนทำร้าย เป็นต้น
นอกจากนี้การเป็นโรคร้าย หรือเป็นโรคที่ทำให้มีไข้สูงสามารถทำให้ผมร่วงทั่วศีรษะ (Telogen Effluvium) หลังจากหายป่วยประมาณ 3 เดือนได้
เนื่องจากร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เส้นผมส่วนใหญ่บนศีรษะเข้าสู่ระยะพักในเวลาไล่เลี่ยกัน เมื่อครบระยะพัก ผมเส้นเก่าจะถูกผมเส้นใหม่ดันออกพร้อมๆกันจนทำให้ผู้หญิงหัวล้านในช่วงเวลาหนึ่ง อาการผมร่วงหลังจากเป็นโควิดก็เกิดจากสาเหตุนี้ได้เช่นเดียวกัน
โรคที่ส่งผลกับเส้นผมทางอ้อม อาจทำให้รากผมได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ เกิดการอักเสบที่หนังศีรษะจนผมร่วงเป็นหย่อม หรือฮอร์โมนเปลี่ยนจนผมร่วงทั้งศีรษะได้ เช่น โรคขาดสารอาหาร, โรคภูมิแพ้รากผม, โรคแพ้ภูมิตัวเอง, โรคเกี่ยวกับไทรอยด์, โรคมะเร็ง เป็นต้น
โรคทางจิตเวชที่ทำให้ถอนผมตนเอง ได้แก่ โรคดึงผม (Trichotillomania), โรคซึมเศร้า (Major depressive disorder), โรควิตกกังวลประเภทย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive Compulsive Disorder) เป็นต้น โดยผู้ป่วยอาจจะดึงผมตนเองจากความเครียด ความกังวล หรืออาจทำไปโดยไม่รู้ตัวก็ได้
หลังผ่าตัด
หลังการผ่าตัดใหญ่ หรือการเกิดอุบัติเหตุ ร่างกายจะเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน เส้นผมส่วนใหญ่เข้าสู่ระยะพักและร่วงออกเหมือนกับการป่วยเป็นโรคร้าย หรือโรคที่มีไข้สูง
นอกจากนี้การผ่าตัดปลูกผมเองก็ทำให้ผมร่วงได้ในผู้เข้ารับการรักษาบางรายเช่นกัน เนื่องจากการผ่าตัดปลูกผมเป็นการไปรบกวนหนังศีรษะ ทำให้รากผมในบริเวณที่ปลูกผมและบริเวณใกล้เคียง เข้าสู่ระยะพัก และร่วงออกได้นั่นเอง แต่เมื่อเวลาผ่านไปเส้นผมก็จะขึ้นมาเองตามปกติ
โลหิตจาง
โลหิตจางทำให้ผู้หญิงหัวล้านได้จากการที่รากผมขาดแคลนสารอาหาร เพราะระบบเลือดสำคัญกับการลำเลียงอาหาร เมื่อโลหิตจาง เลือดจะลำเลียงสารอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงตามส่วนต่างๆของร่างกายได้ไม่ดีเท่าทีควร หากสารอาหารไปเลี้ยงที่รากผมไม่เพียงพอ รากผมจะไม่สามารถสร้างผมได้ ทำให้ผมบางและศีรษะล้านในที่สุด
พฤติกรรมทำร้ายหนังศีรษะ
ผู้หญิงหัวล้านอาจเกิดจากพฤติกรรมที่ไปทำร้ายเส้นผม การใช้สารเคมีกับเส้นผมทำให้ผมเสียและผมร่วงจนศีรษะล้านได้ อย่างการใช้น้ำยายืดผม หรือยาย้อมผม หากแพ้จนหนังศีรษะอักเสบ จะทำให้ผมร่วงเป็นหย่อมจากการแพ้ และหากไม่รีบรักษาอาจเกิดเป็นศีรษะล้านอย่างถาวร
นอกจากนี้ พฤติกรรมทำร้ายรากผมอื่นๆ อย่างการถอนผมตนเอง รัดผมตึงเกินไป เกาหนังศีรษะแรงเกินไป ก็เป็นการทำร้ายรากผมเช่น ทำให้รากผมสร้างผมได้ไม่ดีเท่าเดิม และหากทำร้ายรากผมมากๆ รากผมอาจจะหยุดสร้างผมและฝ่อไปได้
การดื่มสุราและสูบบุหรี่เป็นอีกพฤติกรรมหนึ่งที่ส่งผลเสียกับเส้นผม สุราและบุหรี่จะส่งผลกับระบบเลือดเป็นหลัก ทำให้ความดันโลหิตสูง ทำลายเส้นเลือดฝอย สารอาหารลำเลียงผ่านเลือดได้ไม่ดี ทำให้รากผมได้รับสารอาหารไม่ดีเท่าที่ควร
หัวล้านผู้หญิง เกิดกับใครได้บ้าง
- ผู้หญิงในช่วงวัยทอง หรือตั้งแต่อายุ 50 ปีขึ้นไป
- ผู้หญิงอายุ 15 – 40 ปี ที่มีผู้หญิงในครอบครัวหัวล้าน
- ผู้หญิงที่ระดับฮอร์โมนผิดปกติ จากการคุมกำเนิด ใช้ยาที่มีผลกับระดับฮอร์โมน หรือป่วยเป็นโรคที่ทำให้ระดับฮอร์โมนผิดปกติ
- ผู้หญิงที่ขาดสารอาหาร
- ผู้หญิงที่เพิ่งผ่านการผ่าตัด ป่วยเป็นโรคร้าย หรือมีไข้สูง เป็นเวลาประมาณ 3 เดือน
- ผู้หญิงที่เป็นโรคที่ทำให้ผมร่วงได้มาก
- ผู้หญิงที่กำลังรับยาเคมีบำบัด หรือยาอื่นๆที่สามารถทำให้ผมร่วงได้มาก
- ผู้หญิงที่เป็นโรคโลหิตจาง
- ผู้หญิงที่ดื่มสุราและสูบบุหรี่
- ผู้หญิงที่แพ้สารเคมีในผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับเส้นผมและหนังศีรษะ
ผู้หญิงหัวล้าน เมื่อไหร่ที่ควรพบแพทย์
ผู้หญิงหัวล้าน ทำไงดี? ผู้หญิงหัวล้านควรพบแพทย์ และสามารถพบแพทย์ได้ตั้งแต่รู้สึกว่าผมร่วงมากกว่าปกติ ไม่จำเป็นต้องรอให้ผมร่วงหรือหัวล้านก่อนจึงพบแพทย์
วิธีสังเกตุว่าผมร่วงมากกว่าปกติหรือไม่ มีด้วยกันทั้งหมด 3 วิธี คือ
- นับเส้นผมที่ร่วงโดยให้นับผมที่ร่วงออกมาหลังสระผม หากสระผมทุกวัน นับผมร่วงได้มากเกินกว่า 100 เส้น ก็จะถือว่าผมร่วงมากกว่าปกติ หรือถ้าสระผมวันเว้นวันผมไม่ควรร่วงเกินวันละ 200 เส้น ถ้ามากกว่านี้จะถือว่าผมร่วงมากกว่าปกติ
- นับเส้นผมเป็นเวลา 1 อาทิตย์ ให้เก็บผมที่ร่วงวันละ 5 ครั้ง ช่วงเช้า สาย บ่าย ช่วงเย็นก่อนสระผม และก่อนนอน ทำแบบนี้ทุกวัน แล้วหาค่าเฉลี่ยนว่าแต่ละวันผมร่วงออกมากี่เส้น หากค่าเฉลี่ยเกินกว่า 100 เส้นจะถือว่าผมร่วงมากกว่าปกติ
- ใช้วิธีการวัดผมร่วงโดยการหวีผม 1 นาที โดยให้หวีผมทั้งศีรษะไปเรื่อยๆเป็นเวลา 1 นาที หากผมร่วงออกมามากกว่า 10 – 20 เส้น จะถือว่าผมร่วงมากกว่าปกติ
หากผู้หญิงหัวล้าน จะสามารถเห็นได้จากภายนอกตามรอยแสก แพทย์จะวินิจฉัยหาสาเหตุของโรคโดยการดูจากความหนาแน่นของเส้นผมโดยเครื่อง Dermoscope ประกอบกับดูว่าผมร่วงในลักษณะใด หัวล้านจากผมบางกลางศีรษะ หรือผมร่วงเป็นหย่อม
รวมทั้งดูสภาพหนังศีรษะว่ามีรอยของโรคอะไรหรือไม่ มีรอยแดง กลาก มีอาการบวม มีสะเก็ดเลือดหรือไม่ เพื่อหาสาเหตุของโรค และรักษาที่ต้นเหตุหรือรักษาตามอาการต่อไป
หากเป็นโรคทางจิตเวช หรือโรคที่ทำให้ผมร่วงทางอ้อม แพทย์จะส่งผู้เข้ารับการรักษาให้กับแพทย์เฉพาะทางเพื่อรักษาโรคต้นเหตุก่อน เมื่อรักษาโรคต้นเหตุแล้ว เส้นผมยังมีปัญหา ผมไม่ขึ้น จึงค่อยรักษากับแพทย์เฉพาะทางด้านเส้นผมและหนังศีรษะในภายหลัง
การปรับพฤติกรรมเป็นการลดความเสี่ยงที่ทำให้ผู้หญิงหัวล้าน ในบางกรณีหากลดความเสี่ยงโดยการปรับพฤติกรรมตั้งแต่เนิ่นๆ ผมที่บางมีโอกาสหนาขึ้นได้ก่อนที่จะศีรษะล้าน ซึ่งพฤติกรรมที่ควรปรับเพื่อสุขภาพเส้นผมและหนังศีรษะที่ดีขึ้น มีดังนี้
- ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เป็นการทำร้ายหนังศีรษะ เลี่ยงการมัดผมตึงเกินไป การเกาศีรษะแรงๆ และพยายามไม่ถอนผม แม้จะเป็นผมคัน หรือผมที่หงิกงอ
- ไม่ใช้ความร้อนและสารเคมีจากเส้นผม เพื่อหลีกเลี่ยงอาการแพ้ที่อาจเกิดขึ้นได้
- ผ่อนคลายความเครียด ลดโอกาสที่ทำให้ผมร่วง
- ทานอาหารบำรุงผม โดยเฉพาะโปรตีน เพื่อส่งเสริมการสร้างผมให้กับรากผม
- ควบคุมโรคต้นเหตุที่ทำให้ผมร่วงได้ โดยปฏิบัติตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
รักษาด้วยยาแก้ผมร่วง
ยาแก้ผมร่วงที่ใช้กับผู้หญิงหัวล้าน คือยาไมนอกซิดิวล์ (Minoxidil) ยาตัวดังกล่าวจะออกฤทธิ์เพื่อขยายหลอดเลือด ให้เลือดไปเลี้ยงที่รากผมได้มากขึ้น อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นการงอกของเส้นผม ชะลอผมร่วง ทำให้ระยะเจริญมีเวลานานขึ้น
ไมนอกซิดิวล์มีทั้งแบบทาและแบบเม็ด แบบเม็ดสามารถออกฤทธิ์ได้ทั่วถึงกว่า แต่ก็จะมีผลข้างเคียงมากกว่า ผู้ใช้ยาบางรายอาจจะมีอาการแขนขา ใบหน้าบวม เวียนศีรษะ หัวใจเต้นเร็ว และขนขึ้นในบริเวณอื่นๆของร่างกาย โดยเฉพาะใบหน้าและที่หู เนื่องจากยาจะไปออกฤทธิ์ทั้งร่างกาย ไม่ใช่แค่ที่หนังศีรษะ
ไมนอกซิดิวล์แบบทาจะออกฤทธิ์เฉพาะบริเวณที่ทา ทำให้มีผลข้างเคียงน้อยกว่า อาจมีเพียงอาการหนังศีรษะแห้งจากแอลกอฮอล์ในตัวยาเท่านั้น สำหรับผู้หญิง ให้ใช้ยาไมนอกซิดิวล์แบบทา ความเข้มข้น 2% Minoxidil ทางบางๆวันละ 2 ครั้งก็เพียงพอแล้ว
หลายคนอาจจะทราบมาบ้างว่ายาแก้ผมร่วงมียาที่ชื่อว่าไฟแนสเตอรายด์ (Finasteride) ด้วย แต่จริงๆแล้วกรณีผู้หญิงหัวล้านส่วนใหญ่ไม่สามารถใช้ไฟแนสเตอรายด์ได้
เนื่องจากไฟแนสเตอรายด์ออกฤทธิ์ลดการฮอร์โมน DHT จึงเหมาะใช้แก้ปัญหาผมร่วงในผู้ชายมากกว่า อีกทั้งไฟแนสเตอรายด์ยังมีผลข้างเคียงที่อันตรายอย่างมากเมื่อใช้กับผู้หญิง ยาไมนอกซิดิวล์จึงเหมาะสมมากกว่า
ทั้งนี้ หากต้องการใช้ยาปลูกผมควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มใช้ เนื่องจากยาแก้ผมร่วงสามารถแก้อาการผมร่วง หัวล้านผู้หญิงได้ในบางกรณีเท่านั้น และการใช้ยาผิดวิธียังมีผลทำให้เกิดผลข้างเคียงรุนแรงได้อีกด้วย
การรักษาแบบทางเลือก
การรักษาแบบทางเลือก เป็นการรักษาอาการผมร่วง หัวล้านผู้หญิง ในกรณีที่ไม่อยากใช้ยา ใช้ยาแก้ผมร่วงไม่ได้ผล และอาการไม่ได้รุนแรงถึงขั้นต้องผ่าตัดปลูกผม โดยการรักษาแบบทางเลือกที่ทาง Absolute Hair Clinic เปิดให้บริการ มี 4 อย่าง ดังนี้
- PRP ผม – เป็นการฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้นจากร่างการผู้เข้ารับการรักษาเอง เข้าไปที่บริเวณหนังศีรษะ ทำให้ผลข้างเคียงน้อย เกล็ดเลือดเข้มข้นที่เต็มไปด้วย Growth Factor ต่างๆ จะไปฟื้นฟูรากผม ซ่อมแซมรากผมที่เสียหายกระตุ้นการสร้างเส้นเลือดฝอยที่หนังศีรษะ เพื่อฟื้นฟูให้ผมที่บางจนใกล้ล้าน กลับมาหนา สุขภาพดีดังเดิม
- ฉีดสเต็มเซลล์ผม – เป็นการนำสเต็มเซลล์ผมจากรากผมของผู้เข้ารับการรักษาเอง มาปั่นแยกเป็นเซลล์ด้วยเครื่อง Rigenara Activa แล้วฉีดกลับเข้าไปที่หนังศีรษะ ช่วยกระตุ้นให้เส้นผมแข็งแรง กระตุ้นรากผมให้สร้างเส้นผมมากขึ้น และยังไม่มีผลข้างเคียงอีกด้วย
- เลเซอร์ LLLT – เป็นการฉายคลื่นแสงความถี่ต่ำ (Low Level Laser Light) เข้าไปที่หนังศีรษะ เพื่อให้พลังงานกับเซลล์ ช่วยกระตุ้นให้เซลล์ทำงานได้ดีขึ้น การหมุนเวียนเลือดดีขึ้น ทำให้เส้นผมงอกได้มากขึ้น และมีคุณภาพดีกว่าเดิม ทั้งยังสามารถลดอาการอักเสบบริเวณหนังศีรษะได้อีกด้วย
- โฟโตน่าเลเซอร์ – เป็นการฉายเลเซอร์โฟโตน่าพลังงานต่ำเข้าที่หนังศีรษะ เพื่อกระตุ้นการทำงานของรากผม เสริมสร้างรากผม กระตุ้นระบบไหลเวียนเลือด ทำให้เส้นผมแข็งแรง เส้นใหญ่ ไม่ขาดร่วงง่าย โดย Absolute Hair Clinic เป็นเจ้าแรกในไทย ที่นำเลเซอร์ตัวดังกล่าวเข้ามาเพื่อรักษาอาการผมร่วง หัวล้าน
ทั้ง 4 วิธี สามารถทำอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทำร่วมกันกับวิธีการรักษาทางเลือกอื่นๆ หรือทำร่วมกับการปลูกผมก็ได้ ผู้เข้ารับการรักษาแต่ละคนเหมาะกับการรักษาด้วยวิธีใดนั้น แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะเป็นผู้เลือกให้ตามความเหมาะสม
การปลูกผมแก้หัวล้านในผู้หญิง
วิธีแก้หัวล้านด้วยการปลูกผม เป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถเห็นผลได้ชัดเจนตั้งแต่หลังรักษา วิธีการปลูกผม มีทั้งการปลูกผม FUT และปลูกผม FUE แตกต่างกันที่วิธีการนำรากผมออกจากตำแหน่งที่ต้องนำรากผมออกไปปลูก (Donor Area) โดยวิธีการปลูกผมผู้หญิงที่นิยมใช้รักษาหัวล้านผู้หญิง คือการปลูกผม FUE
การปลูกผม FUE เป็นการนำรากผมออกมาโดยการเจาะเฉพาะรากผมด้วยเครื่องเจาะไฟฟ้า ทำให้แผลจากการย้ายรากผมเป็นแผลขนาดเล็ก เมื่อแผลหายจะไม่ทิ้งรอยแผลเป็นที่ Donor Area
นอกจากนี้การปลูกผม FUE ยังมีกรณีที่แพทย์ย้ายรากผมเส้นยาวออกมาปลูก ทำให้มีผมยาวในบริเวณที่ปลูกผมตั้งแต่หลังปลูก เรียกว่า Long Hair FUE โดยที่ราคาปลูกผมแบบนี้จะแพงกว่าปลูกผม FUE ตามปกติ
การรักษาหัวล้านผู้หญิงด้วยการปลูกผม มีข้อจำกัดคือ นิยมใช้แก้ไขหัวล้านจากแนวผมสูงตั้งแต่กำเนิด ผมร่วงเป็นหย่อมจากแผลเป็นหรือโรคต่างๆ มากกว่าการรักษาหัวล้านที่เกิดจากผมร่วงทั้งศีรษะ เพราะผู้หญิงไม่มีเส้นผมถาวรสำหรับปลูกผมเหมือนกับผู้ชาย
ในการรักษาอาการผมร่วงผมบางของผู้ชาย จะใช้เส้นผมจากบริเวณท้ายทอยและหลังกกหูสำหรับปลูก เนื่องจากเส้นผมในบริเวณนี้ไม่มีผลกับฮอร์โมน DHT เหมือนกับเส้นผมที่ร่วงไป ทำให้เมื่อนำเส้นผมในบริเวณนี้ไปปลูก เส้นผมจะไม่ร่วงอีก เพราะฮอร์โมน DHT ไม่สามารถทำให้เส้นผมกลุ่มนี้ร่วงได้
แต่ผู้หญิงหัวล้านจากผมร่วงทั้งศีรษะมักเกิดจากกรรมพันธุ์ที่ทำให้ระยะเจริญของเส้นผมสั้นกว่าปกติ และระยะพักยาวกว่าปกติ โดยที่เส้นผมทุกเส้นบนศีรษะ ได้รับผลของกรรมพันธุ์นี้เหมือนกันหมด ในผู้หญิงจึงไม่มีเส้นผมถาวรสำหรับแก้ไขผมบาง
แพทย์จะแนะนำให้ปลูกผมเพื่อแก้ไขหัวล้านจากผมร่วงผมบางทั้งศีรษะเฉพาะในกรณีที่ศีรษะล้านมาก และรักษาด้วยวิธีอื่นไม่ได้แล้ว เพราะถ้าศีรษะยังไม่ล้าน หรือยังรักษาด้วยวิธีอื่นได้อยู่ การปลูกผมอาจทำร้ายหนังศีรษะ จนทำให้เส้นผมอ่อนแอและเสี่ยงหัวล้านมากกว่าเดิมได้
วิธีป้องกันศีรษะล้านในผู้หญิง
- ไม่ซื้อยาต่างๆมาทานเอง โดยเฉพาะยาที่ส่งผลกับฮอร์โมน ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยาทุกชนิด
- ผ่อนคลายความเครียด และพักผ่อนให้เพียงพอ
- ทำความสะอาดเส้นผมและหนังศีรษะอยู่เสมอ
- ไม่ใช้สารเคมีที่ทำร้ายเส้นผมและหนังศีรษะ
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- นวดหนังศีรษะเป็นประจำ เพื่อให้เลือดหมุนเวียนได้ดี
- งดทานอาหารที่เป็นอันตรายกับร่างกายและเส้นผม โดยเฉพาะอาหารที่มีไขมันสูง เพราะส่งผลกับระบบเลือดได้มาก
- งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และงดสูบบุหรี่
รักษาหัวล้านผู้หญิงที่ไหนดี
เส้นผมและทรงผม เป็นสิ่งที่สำคัญกับผู้หญิงส่วนใหญ่อย่างมาก เนื่องจากทรงผมมักจะมีผลต่อความมั่นใจในการใช้ชีวิต และสภาพจิตใจ หากผู้หญิงหัวล้านโดยไม่ได้ตั้งใจ สามารถให้เกิดความเครียด จนทำให้เกิดผลเสียทั้งกับสุขภาพกายและสุขภาพจิตตามมาได้มาก
ที่ Absolute Hair Clinic เราให้คำปรึกษา และรักษาอาการศีรษะล้านทุกเคสโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเส้นผมและหนังศีรษะ พร้อมด้วยเครื่องมือเฉพาะ ได้มาตรฐาน วิธีการรักษาหลากหลาย เพื่อให้ผู้เข้ารับการรักษามีทางเลือกในการรักษามากขึ้น เพิ่มโอกาสให้กลับมามีสุขภาพเส้นผมและหนังศีรษะที่ดีดังเดิม
รู้จักกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ พร้อมทั้งผลงานของแพทย์แต่ละท่านจาก Absolute Hair Clinic :
ข้อสรุป
ผู้หญิงหัวล้าน เป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้ และสามารถป้องกันได้เช่นกัน หากสังเกตตัวเองอยู่เสมอ รู้ว่าผมร่วงมากกว่าปกติ มาพบแพทย์เร็ว ก็ยิ่งมีโอกาสป้องกันอาการหัวล้านในผู้หญิงได้มาก
มีอาการหัวล้าน หรือผมร่วงมากกว่าปกติ มีข้อสงสัยเพิ่มเติม ต้องการปรึกษาแพทย์ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียด หรือนัดเวลากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจาก Absolute hair clinic ได้ที่ Line: @Absolutehairclinic หรือ ติดต่อ Absolute Hair Clinic