การปลูกผมส่วนใหญ่ จะเป็นการผ่าตัดรักษาอาการผมร่วง ศีรษะล้านที่ค่อนข้างรุนแรง เพื่อให้มีผมขึ้นมาอย่างเก่า แต่การปลูกผม ก็มีความเสี่ยงที่ผมจะไม่ขึ้นเหมือนกัน
การปลูกผมไม่ขึ้น ไม่ใช่เรื่องปกติ อาจจะเกิดจากความผิดพลาดของแพทย์ การดูแลตัวเองของผู้เข้ารับการรักษา หรือสภาพร่างกายและโรคต่างๆของผู้เข้ารับการรักษาเอง
ในบทความนี้ Absolute Hair Clinic จะอธิบายว่า ปัจจัยใดบ้างที่ทำให้ปลูกผมไม่ขึ้น และมีวิธีการแก้ไขปัญหานั้นอย่างไร
Absolute Hair Clinic คลินิกรักษาทุกปัญหาเส้นผมและหนังศีรษะ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
ปลูกผมไม่ขึ้น ปัญหาที่เกิดขึ้นได้หลังปลูกผม
การปลูกผม เป็นเหมือนกับปลูกถ่ายเซลล์กลับเข้าไปในร่างกาย การผ่าตัดปลูกผมจึงเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมาก เกิดการผิดพลาดได้ง่ายทั้งในขั้นตอนการผ่าตัด และหลังผ่าตัด
ดังนั้นการปลูกผมไม่ขึ้น จึงเป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นได้หลังการปลูกผม
แต่หลังการปลูกผมผมก็สามารถร่วงได้เป็นปกติ ทั้งยังใช้เวลานานกว่าผมจะขึ้น เราจะรู้ได้อย่างไรว่าผมที่ปลูกมีปัญหาปลูกผมไม่ขึ้น?
จะต้องเริ่มจากทำความเข้าใจก่อนว่า หลังปลูกผม ผมจะร่วงเป็นปกติจากอาการที่เรียกว่า Shock Loss หลังปลูกผม 2 – 8 สัปดาห์ ผมที่ปลูก และบริเวณรอบๆที่มีอาการช้ำ จะหยุดเจริญ และเข้าสู่ระยะพัก คือระยะที่รากผมจะไม่งอกผม
หลังจากรากผมเข้าสู่ระยะนี้ ผมจะหลุดร่วงออกไป และจะไม่งอกผมใหม่ไปอีก 3 – 4 เดือน
หลังจากพ้นช่วงนี้ไปผมจะเริ่มงอกขึ้นมาใหม่ หากเป็นการปลูกผมที่ได้ผลตามปกติ คือปลูกขึ้นเกิน 90% ของผมทั้งหมดที่ปลูก ผมจะขึ้นมาประมาณ 70% หลังจากปลูกผมไป 6 เดือน และในช่วง 9 – 12 เดือน ผมจะขึ้นเกือบทั้งหมด
เมื่อพ้น 18 เดือนไปแล้ว ผมที่ปลูกขึ้นได้จะขึ้นมาทั้งหมด และเป็นผลลัพธ์สุดท้ายหลังการปลูกผม
ดังนั้น การสังเกตว่าตนเองปลูกผมขึ้นไหม ควรสังเกตในช่วง
- 18 เดือนหลังปลูกผม หากการปลูกผมไม่เป็นที่น่าพอใจ ไม่เป็นไปตามที่คุยกับแพทย์ไว้ จะถือว่าปลูกผมไม่ขึ้นเท่าที่ควร
- ช่วงเกือบ 12 เดือนหลังการปลูกผม หากไม่มีอะไรขึ้นมาเลย หรือขึ้นมาน้อยมาก แสดงว่าเกิดข้อผิดพลาดบางอย่าง ทำให้ปลูกผมแล้วไม่ขึ้น
หากปลูกผมในคลินิกที่ไม่ได้มาตรฐาน แพทย์อาจจะไม่ได้แจ้งว่าตอนนี้เคสของคุณปลูกผมไม่ขึ้น หรือไม่ได้อธิบายว่าที่ผมไม่ขึ้นนี้เกิดจากอะไร หากเป็นแบบนี้ควรเปลี่ยนคลินิกรักษา เพื่อปลูกผมเพิ่ม แก้ไขส่วนที่ปลูกแล้วไม่พึงพอใจ และเพื่อหาสาเหตุต่อไปว่าที่ปลูกไม่ขึ้นเป็นเพราะอะไร
การผิดพลาดขณะผ่าตัด จากความไม่ชำนาญของแพทย์และทีมงาน เป็นสาเหตุกว่า 90% ของการปลูกผมไม่ขึ้น
หากแพทย์และทีมผู้ช่วยไม่ชำนาญมีผลต่อ
- เวลาที่ใช้ในการผ่าตัด – หากนานเกินไปกราฟผมจะตาย ทำให้ปลูกผมไม่ขึ้น
- ความลึกในการปลูกผม – การปลูกผมลงไปควรมีความลึกที่พอดึ ไม่ลึก ไม่ตื้นเกินไป หากลึกไปจะปลูกผมไม่ขึ้น ถ้าตื้นไปกราฟผมจะหลุดออกง่าย
- การใส่กราฟผมลงไปในปากกาปลูกผม (Implanter) – ถ้าไม่ชำนาญจะทำให้กราฟผมช้ำ และไม่แข็งแรงพอที่จะปลูกได้
- การเจาะกราฟผมในการปลูกผม FUE – หากแพทย์ไม่ชำนาญ กราฟผมที่เจาะออกมาจะเสียหายจนปลูกไม่ได้
- การตัดแบ่งกราฟผมในการปลูกผม FUT – หากแพทย์และทีมงานไม่ชำนาญ อาจจะตัดพลาดจนรากผมถูกทำลาย เมื่อนำไปปลูกจะปลูกผมไม่ขึ้น
- การคัดเลือกกราฟผมที่แข็งแรง – หากทีมแพทย์ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ จะไม่สามารถแยกกราฟผมที่ไม่แข็งแรงได้ เมื่อนำกราฟผมที่ไม่แข็งแรงไปปลูก ก็จะปลูกผมไม่ขึ้น
บางคลินิกให้ทีมงานเป็นผู้ปลูกผม จะยิ่งส่งผลให้ปลูกผมไม่ขึ้น เพราะจะทำให้ผิดพลาดได้ง่าย ทีมงานที่ไม่ได้เรียนเฉพาะทางด้านการปลูกผมมา ไม่ได้มีความชำนาญพอที่จะปลูกผม ซึ่งเป็นการผ่าตัดที่ละเอียดอ่อนมาก หากอยากปลูกผม ควรเลือกคลินิกที่แพทย์เป็นผู้ปลูกเองเท่านั้น
2. เทคนิคที่ใช้ใ นการปลูกผม
เทคนิคการปลูกผมในปัจจุบันมี 2 อย่าง คือปลูกผม FUT กับปลูกผม FUE ซึ่งวิธีการปลูกผมแต่ละวิธี มีความเสี่ยงที่จะทำให้ปลูกผมไม่ขึ้นแตกต่างกันออกไป
ปลูกผม FUT เป็นการปลูกผมที่มีประสิทธิภาพสูง โอกาสปลูกผมไม่ขึ้นมีน้อย แต่ก็สามารถพบได้หากแพทย์หรือทีมงานไม่เชี่ยวชาญมากพอ อาจจะเกิดจากการที่ทีมงานตัดแบ่งกราฟผมไม่ชำนาญ ตัดโดนรากผมจนรากผมไม่สมบูรณ์ เมื่อนำไปปลูก ผมจึงไม่ขึ้น
ปลูกผม FUE ไม่ขึ้น สามารถพบได้บ่อยกว่า เนื่องจากมีโอกาสที่รากผมจะเสียหายมากกว่า เพราะการเจาะรากผมออกมาให้สมบูรณ์ ต้องใช้ความชำนาญมาก ถ้าแพทย์ไม่เชี่ยวชาญ อาจจะเจาะโดนรากผมจนกราฟผมเสียหาย เมื่อนำไปปลูกจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ปลูกผมไม่ขึ้น
นอกจากนี้กราฟผมที่ได้จากการปลูกผม FUE ยังช้ำง่ายกว่าเมื่อเทียบกับกราฟผมที่ได้จากการปลูกผม FUT เนื่องจากกราฟผมที่ได้ออกมาจะไม่มีชั้นของไขมันหุ้มอยู่รอบๆรากผม เพื่อปกป้องเซลล์รากผมด้านใน
เมื่อใช้เครื่องมือต่างๆหนีบ หรือคีบกราฟผม กราฟจะมีประสิทธิภาพลดลง หากแพทย์หรือทีมงานไม่ชำนาญก็จะยิ่งที่ให้โอกาสปลูกผมขึ้นตามปกติลดลง
3. กราฟผมที่นำมาปลูกไม่แข็งแรงพอ
กราฟผม คือชื่อเรียกทางการแพทย์ของกอรากผมที่ได้ออกมาจากบริเวณท้ายทอยหรือหลังกกหู (Donor Area) เพื่อนำไปปลูกในที่ที่ต้องการปลูกผมต่อไป
กราฟผมเป็นกลุ่มของเนื้อเยื่อที่บอบบาง เสียหายได้ง่าย หากนำกราฟผมที่เสียหายไปปลูก หากร่างกายฟื้นฟูได้ ผมงอกได้ก็เป็นเรื่องที่ดี แต่ถ้าเสียหายเกินกว่าที่ร่างกายจะฟื้นฟูได้ กราฟผมจะตาย เป็นสาเหตุให้ปลูกผมไม่ขึ้นในที่สุด
4. ระยะเวลาในการปลูกผมที่นานเกินไป
ปลูกผมครั้งหนึ่งใช้เวลาประมาณ 3 – 8 ชั่วโมง แล้วแต่เทคนิค และจำนวนกราฟที่ปลูก แต่ยิ่งกราฟผมอยู่นอกร่างกายนานมากเท่าไหร่ กราฟผมก็จะยิ่งมีโอกาสปลูกติดน้อยลงมากเท่านั้น
เมื่อเซลล์อยู่นอกร่างกายจะตายได้ง่าย จากการขาดความชุ่มชื้น หรือจากการทำงานตามปกติโดยไม่มีสารอาหารมาเลี้ยงเพิ่ม เมื่อทำงานจนสารอาหารหมดไป เซลล์จะตายลง
หากเซลล์กราฟผมตาย เมื่อนำไปปลูก จะปลูกผมไม่ขึ้น
วิธีแก้ในเรื่องระยะเวลา คือแพทย์จะใช้น้ำยาแช่กราฟ แช่กราฟผมไว้ นำยาตัวนี้จะให้ความชุ่มชื้นกับเซลล์ ทั้งยังทำให้เซลล์อยู่ในสภาวะที่ทำงานช้าลง ทำให้เซลล์สามารถอยู่นอกร่างกายได้นานขึ้น
ทั้งนี้ แม้จะยืดเวลาออกไปก็ใช่ว่าจะใช้เวลานานเท่าไหร่ก็ได้ แพทย์จะต้องทำงานแข่งกับเวลา ยิ่งใช้เวลานาน ประสิทธิภาพของกราฟผมก็จะยิ่งลดลง
แพทย์จาก Absolute Hair Clinic จะใช้เทคนิค First out – First in กราฟไหนออกมาจากร่างกายก่อน จะนำไปปลูกผมก่อน ทำให้ระยะเวลาที่ผมแต่ละกราฟอยู่นอกร่างกายสั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้ มีโอกาสทำให้ผมปลูกติดได้มากขึ้น
5. อุปกรณ์ที่ใช้ในการปลูกผมไม่ได้มาตรฐาน
อุปกรณ์ที่ใช้ปลูกผมควรเป็นอุปกรณ์เฉพาะ ที่ใช้เพื่อการปลูกผมเท่านั้น และต้องเป็นอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน อุปกรณ์ดังกล่าว เช่น เครื่องเจาะกราฟผมไฟฟ้า (Trivellini) กับหัวเจาะเฉพาะ (Trivellini’s Flared Rim Punch) ที่ใช้ในการปลูกผม FUE, ปากกาปลูกผม (Implanter), หรือคีมคีบกราฟผม (Forceps)
นอกจากอุปกรณ์แล้ว น้ำยาหรือยาต่างๆที่ใช้ ก็ต้องมีมาตรฐานด้วย เช่น น้ำยาแช่กราฟ ควรเป็นน้ำยาตัวเดียวกับน้ำยาที่ใช้แช่อวัยวะสำคัญก่อนการปลูกถ่ายอวัยวะ, ยานอนหลับ หรือยาชา ก็ต้องมีคุณภาพ เพื่อให้ออกฤทธิ์ดี ผลข้างเคียงน้อย
หากไม่ได้ใช้ยาเฉพาะ หรือไม่ได้ใช้อุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน จะส่งผลต่อความแข็งแรงของรากผม ทำให้ปลูกผมไม่ขึ้น อีกทั้งยังทำให้ผู้เข้ารับการรักษาเสี่ยงต่อการผ่าตัดผิดพลาด ได้รับอันตราย หรือติดเชื้อระหว่างผ่าตัดด้วย
6. การดูแลหลังผ่าตัดปลูกผมไม่ดีพอ
การดูแลตัวเองหลังปลูกผม เป็นปัจจัยที่สำคัญมากอีกอย่างที่อาจจะทำให้ผมไม่ขึ้น หากดูแลตัวเองไม่ดี
หลังปลูกผมช่วง 2 สัปดาห์แรก รากผมจะยังไม่เชื่อมติดกับเนื้อเยื่อโดยรอบ ถ้าดูแลตัวเองไม่ดีในช่วงนี้ จะทำให้กอรากผมที่ปลูกไปหลุดออก จนปลูกผมไม่ขึ้น หรืออาจจะทำให้เกิดการอักเสบ ติดเชื้อ จนรากผมเสียหายได้
ในช่วงเวลา 1 เดือนหลังปลูกผม ควรดูแลตัวเองดังนี้
- ไม่ควรเกา หรือแกะแผลปลูกผม
- ไม่ควรให้บริเวณปลูกผมถูกถู หรือกระแทกกับของแข็ง
- สระผมให้ถูกวิธี
- ไม่ควรก้มศีรษะต่ำ
- นอนหมอนสูงอย่างถูกวิธี
- ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่
หากมีข้อสงสัยว่าข้อห้ามแต่ละอย่างส่งผลเสียอย่างไรกับการปลูกผม หรือการสระผม การนอนอย่างถูกวิธีควรทำอย่างไร สามารถเข้าไปอ่านข้อปฏิบัติหลังปลูกผมโดยละเอียดได้ที่นี่ 10 ข้อปฏิบัติ หลังปลูกผม ดูแลยังไง? พร้อมวิธีสระผมหลังปลูกผมที่ถูกต้อง
7. ปลูกผมไม่ขึ้นจากสาเหตุอื่นที่คาดเดาไม่ได้
โรคประจำตัว หรือยาที่ทาน มีผลต่อการปลูกผมไม่ขึ้นเช่นกัน ส่วนใหญ่จะเป็นโรคที่เกี่ยวกับระบบเลือด และการแข็งตัวของเลือด เนื่องจากแผลปลูกผมจำเป็นต้องใช้สารอาหารจากเลือดในการฟื้นตัว ถ้าระบบเลือดไม่ดี ก็จะทำให้แผลฟื้นตัวได้ช้าลง ทำให้รากผมที่ปลูกไปมีโอกาสหลุดออกได้มาก
นอกจากนี้หากเลือดไหลมากเกินไปก็จะทำให้ปลูกผมไม่ขึ้นเช่นกัน เนื่องจากเลือดจะดันให้กราฟผมที่ปลูกไปหลุดออกจากตำแหน่งปลูก จนทำให้ปลูกผมแล้วไม่ขึ้นนั่นเอง
นอกจากปัจจัยที่กล่าวมาทั้งหมด ยังมีอีกปัจจัยหนึ่งที่ยังคงเป็นที่ถกเถียงกัน เรียกว่า “X Factor”
“X Factor” เป็นชื่อที่แพทย์ปลูกผมท่านหนึ่งตั้งขึ้นมา ใช้เรียกสาเหตุของการปลูกผมไม่ขึ้น ที่เป็นปัจจัยนอกเหนือจากปัจจัยอื่นที่แพทย์รู้กันอยู่แล้ว
X Factor ถูกสันนิษฐานว่าเป็นการปฏิเสธเนื้อเยื่อ ถ้าพูดให้เข้าใจง่ายคือการที่ร่างกายไม่รับกราฟผม เมื่อปลูกลงไป ระบบภูมิคุ้มกันจะคิดว่ากราฟผมนี้เป็นสิ่งแปลกปลอม แล้วเข้ามาโจมตีเนื้อเยื่อ ทำให้เกิดการขาดเลือดเฉพาะที่ เป็นสาเหตุให้ปลูกผมแล้วไม่ขึ้น
แต่อาการแบบนี้ก็เกิดได้น้อยมาก เพราะกราฟผมที่เอามาปลูกเป็นเนื้อเยื่อของร่างกายผู้เข้ารับการรักษาเอง การที่ร่างกายจะปฏิเสธเนื้อเยื่อตัวเองจึงพบได้ยาก
ทั้งนี้ ในปัจจุบัน “X Factor” ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ แพทย์บางท่านก็เชื่อว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ แพทย์บางท่านก็ไม่เชื่อว่า X Factor มีอยู่จริง การปลูกผมไม่ขึ้นของเคสที่บอกว่าเป็น X Factor อาจจะเกิดจากปัจจัยอื่นๆที่ไม่ใช่ X Factor ก็ได้
ปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุร่วมกันว่าเกิดจากอะไร
หากปลูกผมไม่ขึ้น ให้พบแพทย์ที่ปลูกผมให้ หรือแพทย์ท่านอื่นที่มีความชำนาญด้านการปลูกผม เพื่อหาสาเหตุร่วมกันว่าเป็นเพราะอะไร
การหาสาเหตุที่ปลูกผมไม่ขึ้นนั้นสำคัญ เพราะถ้าไม่ได้เกิดจากแพทย์ไม่ชำนาญ หรือผู้ป่วยดูแลตัวเองไม่ดี ผู้ป่วยอาจจะเป็นโรคบางอย่าง หรือมีความผิดปกติที่ทำให้ปลูกผมไม่ขึ้น
หากไปปลูกผมแก้อีกโดยที่ยังไม่รู้สาเหตุว่าปลูกผมครั้งที่แล้วไม่ขึ้นเพราะอะไร อาจจะทำให้เกิดปัญหาเดิมได้ ทำให้ปลูกผมกี่รอบก็ไม่ขึ้น
ลองรักษาด้วยวิธีการอื่นๆ
หากปลูกผมแล้วไม่ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ รู้สึกไม่อยากทำอีก หรือกลัวการปลูกผม สามารถรักษาด้วยวิธีการทางเลือกอื่นๆได้ด้วยวิธีการต่างๆ ดังนี้
- การทำ PRP ผม – เป็นการฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้น พร้อม Growth Factors ต่างๆเข้าที่หนังศีรษะ
- ฉีดสเต็มเซลล์ผม – เป็นการฉีดสเต็มเซลล์จากรากผมเข้าที่หนังศีรษะ นิยมทำร่วมกับขั้นตอนการปลูกผม
- เลเซอร์ LLLT – เลเซอร์พลังงานต่ำ ให้พลังงานกับเซลล์ นิยมทำหลังปลูกผมเพื่อให้แผลหายไวขึ้น
- โฟโตน่าเลเซอร์ – เลเซอร์กระตุ้นหนังศีรษะ เทคโนโลยีใหม่ที่เพิ่งนำเข้ามาในไทย
ทั้ง 4 วิธีเป็นการรักษาที่ไม่ต้องผ่าตัด ไม่มีแผล ไม่เจ็บตัว และไม่มีผลข้างเคียง เนื่องจากทั้งสี่วิธีเป็นการกระตุ้นเซลล์รากผม และหนังศีรษะ ให้ทำงานได้มากขึ้น ผมที่เคยบางลง เส้นเล็กลง จะกลับมางอกได้ดีอีกครั้ง ผมจะหนาขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
นอกจากนี้การทานยาแก้ผมร่วงก็สามารถช่วยได้ ส่วนใหญ่แพทย์จะใช้รักษาอาการหัวล้านจากกรรมพันธุ์ และจากฮอร์โมน DHT เป็นหลัก
ทั้งนี้ ทั้ง 5 วิธีที่กล่าวมา สามารถใช้รักษาได้เพียงอาการผมร่วง ผมบาง ศรีษะล้านในขั้นที่ยังไม่รุนแรงเท่านั้น หากเป็นรุนแรง รากผมฝ่อ จะไม่สามารถกระตุ้นให้รากผมกลับมาทำงานได้
การปลูกผมในบริเวณที่ไม่มีผมขึ้นแต่แรก หรือมีผมน้อยอยู่แล้วตั้งแต่ต้น ก็ไม่สามารถรักษาด้วยวิธีเหล่านี้แทนได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น การปลูกผมหน้าผากเพื่อปรับรูปหน้า ปลูกผมบนแผลเป็น การปลูกหนวด เครา จอน และการปลูกคิ้วถาวร
หากต้องการให้มีผมในบริเวณดังกล่าว หรือศีรษะล้านรุนแรง สามารถรักษาได้ด้วยการปลูกผมเท่านั้น
ปลูกผมหน้าผากเพื่อปรับรูปหน้านิยมทำกันมากในผู้หญิง การปลูกผมผู้หญิงเหมือนผู้ชายหรือไม่? ผู้หญิงนิยมปลูกผมด้วยเทคนิคไหน? : ไขข้อสงสัย! ปลูกผมผู้หญิง ราคาเท่าไหร่ ? มีขั้นตอนอย่างไร ? แตกต่างกับปลูกผมผู้ชายไหม
ปลูกผมซ้ำ
หากปลูกผมไม่ขึ้น ผู้เข้ารับการรักษามักจะเปลี่ยนคลินิก และปลูกผมแก้
ปลูกผมสามารถทำมากกว่าหนึ่งครั้งได้ หากปลูกผมแล้วไม่ขึ้นในรอบแรก หรือผลลัพธ์ไม่เป็นที่น่าพอใจ ก็สามารถปลูกผมซ้ำ เพื่อเติมให้ผมหนาขึ้น หรือให้ได้ไรผมแบบที่ต้องการได้
แต่การปลูกผมหลายรอบไม่ใช่เรื่องดี เพราะการปลูกผมครั้งหนึ่งจะต้องเจาะกราฟผมออกมา เจาะหนังศีรษะเพื่อปลูกผม ทำให้หนังศีรษะบริเวณนั้นช้ำ หรืออาจจะเกิดการอักเสบ เมื่อเกิดอาการที่ว่า ผิวหนังในบริเวณดังกล่าวจะมีเลือดมาเลี้ยงได้ไม่ดีเท่าเดิม
ทำให้การปลูกผมครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 ผมจะขึ้นได้ไม่ดีเท่าการปลูกผมครั้งแรก ที่หนังศีรษะยังสมบูรณ์อยู่นั่นเอง
ดังนั้นหากต้องการปลูกผม ควรเลือกคลินิกให้ดีตั้งแต่ครั้งแรก เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด มีประสิทธิภาพที่สุด ทั้งยังไม่ต้องเสียเงินแก้หลายรอบด้วย
ปลูกผมครั้งหนึ่งราคาเท่าไหร่? ทำไมแต่ละคลินิกราคาต่างกันมากขนาดนั้น? ปลูกผมแบบเหมากราฟคืออะไร? : ปลูกผม ราคาเท่าไหร่ ? ราคาปลูกผม ถูก-แพง ขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง ? อัพเดตล่าสุด
ปลูกผมถาวรอย่างมั่นใจกับ Absolute Hair Clinic
เพราะ 90% ของสาเหตุการปลูกผมไม่ขึ้น เกิดจากความชำนาญของแพทย์และทีมผู้ช่วย ที่ Absolute Hair Clinic คุณสามารถตัดปัจจัยนี้ทิ้งได้เลย
เพราะที่ Absolute Hair Clinic ดำเนินการทุกขั้นตอนการปลูกผมโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านเส้นผมและหนังศีรษะ ร่วมด้วยผู้ช่วยแพทย์และพยาบาลที่ผ่านการอบรม และปฏิบัติจริงจนชำนาญ ในการผ่าตัดแพทย์จะเป็นผู้ปลูกผมเองทุกเคส ทุกกราฟ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ผิดพลาดน้อยที่สุด
อุปกรณ์ที่ใช้ทันสมัย ได้มาตรฐาน ให้บริการในพื้นที่ที่สะอาด และเดินทางสะดวก
ผู้เข้ารับการรักษาสามารถมั่นใจได้ว่าการปลูกผมครั้งแรกจะไม่เสียเปล่า และการปลูกผมแก้ จะให้ผลลัพธ์ที่เป็นที่น่าพึงพอใจ โดยทาง Absolute Hair Clinic จะมีบริการเสริมหลังการปลูกผม
- คลินิกจะสระผมให้ในการล้างแผลครั้งแรกๆ รวมถึงมีบริการสอนสระผมอย่างถูกวิธีด้วย
- บริการฉายเลเซอร์พลังงานต่ำหลังปลูกผม เพื่อทำให้แผลสมานเร็วขึ้น ลดการอักเสบบริเวณผ่าตัดปลูกผม
- นัดพบแพทย์เพื่อติดตามผลการปลูกผมเป็นระยะ สามารถแก้ไขได้เร็วหากปลูกผมไม่ขึ้น เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีในเวลาไม่นาน
รู้จักกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ พร้อมทั้งผลงานของแพทย์แต่ละท่านจาก Absolute Hair Clinic :
คลินิกปลูกผมที่ดี ควรพิจารณาจากอะไรบ้าง? ควรเลือกปลูกผมกับคลินิกแบบไหน? : ปลูกผมที่ไหนดี ? เคล็ดลับการเลือกคลินิกปลูกผมที่เหมาะสม ก่อนตัดสินใจปลูกผมถาวร
ข้อสรุป ‘ปลูกผมไม่ขึ้น’
ปลูกผมไม่ขึ้น สามารถสังเกตได้หลังการปลูกผมประมาณ 12 – 18 เดือน อาจจะเกิดจากแพทย์ไม่ชำนาญ หรือผู้เข้ารับการรักษาไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์หลังผ่าตัด หากผมไม่ขึ้นจะต้องพบแพทย์ เพื่อหาทางรักษาร่วมกันต่อไป
ปลูกผมไม่ขึ้น ต้องการพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ หรือต้องการเปลี่ยนแพทย์เพราะไม่พอใจผลการรักษา สามารถทักเข้ามาเพื่อสอบถามเพิ่มเติม และนัดเวลาเพื่อพูดคุยกับแพทย์ได้ที่ Line: @Absolutehairclinic
ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก
When will my hair grow after hair transplant surgery?
Graft Injury from Dehydration: H2O and the X-factor