ปัญหารังแค เป็นสิ่งที่ส่งผลกระทบอย่างมากกับใครหลายคน แม้ว่าจะไม่ใช่โรคร้ายแรงอะไร แต่ก็สร้างความรำคาญอย่างมากจากอาการคัน และยังทำให้เสียบุคลิกภาพจากฝุ่นรังแคสีขาวบนบ่า ไหล่ และเส้นผมด้วย
หนังศีรษะลอก หนังหัวแห้งเป็นรังแค ทำไมถึงมีรังแค? เป็นรังแคหนักมากทำอย่างไรดี? สาเหตุรังแคเกิดจากอะไร วิธีรักษาต้องทำอย่างไร? เป็นรังแครักษายังไงให้หายขาด? ในบทความนี้ Absolute Hair Clinic จะให้ความรู้ทุกอย่างเกี่ยวกับรังแค รวมทั้งข้อแนะนำการขจัดรังแค และเป็นรังแคใช้อะไรหาย? ที่คุณสามารถทำได้ที่บ้าน
รังแค คืออะไร
รังแคคืออะไร? รังแค (Dandruff) คือเศษชิ้นส่วนของหนังศีรษะ ที่ผลัดออกมาเร็วเกินไปจนจับตัวกันเป็นแผ่น ทำให้หนังศีรษะแห้ง และมีอาการคัน เกิดได้จากหลายสาเหตุ ส่วนใหญ่เกิดจากการที่ร่างกายหรือหนังศีรษะเสียสมดุล จนทำให้การผลัดเซลล์ผิวผิดปกตินั่นเอง
การผลัดเซลล์ผิวหนังเป็นเรื่องปกติก็จริง แต่เซลล์หนังศีรษะที่ผลัดตามปกติจะถูกล้างไปกับน้ำตอนสระผม แต่รังแคที่จับตัวกันเป็นก้อน ไม่สามารถหลุดออกได้จากการสระผม และจะมีขนาดใหญ่กว่าเซลล์ผิวที่ผลัดไปตามปกติ
เราจะสามารถรู้ได้ว่าเซลล์หนังศีรษะผลัดตัวผิดปกติก็ต่อเมื่อ พบรังแคเป็นแผ่นสีขาวหรือสีเหลือง ที่หนังศีรษะ เส้นผม และที่บ่าหรือไหล่ มีอาการคันมากกว่าปกติ และหนังศีรษะบางส่วนแดงจากการอักเสบเล็กน้อย
รังแคไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่ในบางคนอาจจะเป็นโรคเรื่อรังที่ต้องรักษา โดยการเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นหลัก และใช้ยาสระผมแก้รังแคควบคู่ไปด้วย แต่ถ้าใช้สระผมแล้วมีรังแค ควรมาพบแพทย์ เพราะรังแคอาจจะเกิดจากสาเหตุอื่นที่อาจร้ายแรงขึ้น อย่างการเป็นโรคที่ทำให้ผิวหนังอักเสบรุนแรง หรือโรคที่เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันได้
รังแค เกิดจากอะไร
รังแคเยอะมากเกิดจากการผลัดเซลล์ผิวที่ปกติ แล้วความผิดปกตินั้นเกิดจากอะไร? สาเหตุต่างๆที่ทำให้ระยะเวลาผลัดเซลล์ผิวของหนังศีรษะสั้นกว่าปกติ มีดังนี้
- เชื้อรามาลาสซีเซีย (Malassezia)
เชื้อรามาลาสซีเซีย หรือมาลาสซีเซีย โกลโบซ่า เป็นสาเหตุรังแคส่วนใหญ่ที่เกิดโดยธรรมชาติ เชื้อราชนิดนี้เป็นเชื้อราที่มีอยู่แล้วบนหนังศีรษะของเรา เวลาปกติถ้าร่างกายไม่ได้เสียสมดุล หรือมีอะไรไปกระตุ้นให้เชื้อราเหล่านี้เพิ่มจำนวน เชื้อราก็จะอยู่อย่างปกติ ไม่ทำให้เกิดโรคอะไร
แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่มีสิ่งไปกระตุ้น ไม่ว่าจะด้วยโรค ฮอร์โมน หรือแม้แต่การสระผมน้อย หรือบ่อยจนเกินไป จนทำให้หนังศีรษะมีน้ำมันมากกว่าปกติ เชื้อราเหล่านี้ก็จะเพิ่มจำนวนขึ้น เนื่องจากน้ำมันที่หนังศีรษะเป็นอาหารตามธรรมชาติของเชื้อราเหล่านี้
เมื่อน้ำมันที่ผมหายไปจากการถูกเชื้อรากิน ร่างกายเราจะตอบสนองโดยการผลิดกรดโอเลอิก (Oleic Acid) ซึ่งเป็นกรดไขมันชนิดหนึ่งออกมา โดยร่างกายของคนส่วนใหญ่จะไวต่อกรดตัวนี้ ทำให้หนังศีรษะอักเสบเล็กน้อยและเกิดการระคายเคือง เราจึงรู้สึกคัน และหนังศีรษะเป็นผื่นแดงเมื่อมีรังแค
หลังจากนั้น อาการอักเสบเล็กน้อยบนศีรษะจะทำให้การผลัดเซลล์ผิวของเราผิดปกติ ผิวจะผลัดตัวเร็วขึ้นเพื่อตอบสนองอาการระคายเคือง เซลล์เหล่านั้นก็จะจับตัวเป็นแผ่นบาง จนเกิดเป็นรังแคเต็มหัวนั่นเอง
ถ้าร่ายกายตอบสนองกับเชื้อรามาลาสซีเซียมากเกินไป การอักเสบจะพัฒนาขึ้นจนกลายเป็นโรคผิวหนังอักเสบ (Seborrheic Dermatitis) ซึ่งเป็นโรคที่ทำให้เกิดรังแคเรื้อรังที่แค่ปรับพฤติกรรมหรือใช้แชมพูกำจัดรังแคก็อาจจะไม่หาย แพทย์อาจจะให้ใช้ยาในการรักษาร่วมด้วย
หลายคนอาจจะคิดว่าการมีเชื้อราบนหนังศีรษะเป็นเรื่องน่ากลัว แต่จริงๆแล้วเชื้อรามาลาสซีเซียไม่ได้ทำอันตรายอะไรนอกจากทำให้หัวเป็นรังแค อีกทั้งเชื้อรามาลาสซีเซียยังไม่ใช่เชื้อราที่ก่อโรคเชื้อราบนหนังศีรษะ ซึ่งทำให้ผมร่วงเป็นหย่อมหรือเป็นชันตุ ดังนั้นสามารถสบายใจได้ และไม่ต้องกำจัดเชื้อราดังกล่าวออกจากร่างกาย
อ่านเพิ่มเติม : เชื้อราบนหนังศีรษะ
- ผิวหนังอักเสบจากการแพ้
การแพ้สารต่างๆในผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับเส้นผมและหนังศีรษะ ก็ทำให้ผิวหนังอักเสบจนทำให้เกิดรังแคขึ้นได้เช่นกัน เช่น ยาสระผมที่แรงเกินไป น้ำยาย้อมหรือกัดสีผม น้ำยายืดหรือดัดผม มูส และเจลใส่ผมประเภทต่างๆ โดยผลิตภัณฑ์เหล่านี้นอกจากจะทำให้ผิวหนังอักเสบจากการแพ้แล้ว ยังทำให้ศีรษะแห้ง และทำให้ผมเป็นรังแคได้ในที่สุด
- ผิวหนังอักเสบจากโรคต่างๆ
โรคต่างๆที่สามารถทำให้ผิวหนังอักเสบได้ ก็จะทำให้ผิวหนังผลัดเซลล์ผิวผิดปกติจนเกิดเป็นรังแคได้เช่นกัน ดังนี้
- โรคที่ส่งผลกับการแบ่งตัวของเซลล์โดยตรง จนทำให้เซลล์ผลัดไวกว่าปกติ เช่น โรคสะเก็ดเงิน
- โรคทางระบบประสาทที่ส่งผลต่อการผลิตน้ำมันของต่อมไขมัน เช่น โรคพาร์กินสัน
- โรคที่ส่งผลกับระบบภูมิคุ้มกัน จนทำให้เกิดการอักเสบง่ายกว่าปกติและทำให้เกิดรังแค เช่น โรคเอดส์
- ความชุ่มชื้นที่หนังศีรษะ
น้ำมันบนหนังศีรษะที่น้อยเกินไป ทำให้หนังศีรษะไม่ได้รับการบำรุง และไม่ชุ่มชื้นมากพอ หนังศีรษะจึงแห้ง และผลัดตัวออกมาเป็นแผ่น ดังนั้นจะเห็นได้ว่า น้ำมันบนหนังศีรษะมีผลอย่างมากกับการเกิดรังแค ทำให้มีรังแคได้ทั้งในกรณีที่มีน้ำมันน้อยเกินไป และมากเกินไป
ปัจจัยที่กระตุ้นการเกิดรังแค
ปัจจัยบางอย่างเกิดจากสภาพร่างกายในเรื่องของเพศ วัย บางปัจจัยก็เป็นสิ่งที่เราทำในชีวิตประจำวัน จนทำให้ร่างกายเกิดปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นรังแคได้โดยไม่รู้ตัว ซึ่งปัจจัยต่างๆ ว่าทำไมถึงเป็นรังแค? จะแบ่งเป็นสองอย่าง ดังนี้
1. ปัจจัยภายใน
- อายุ – รังแคเป็นได้ทุกวัย แต่จะพบมากที่สุดในวัยประมาณ 20 ปี จากนั้นจะน้อยลงเรื่อยๆ ถึงอายุประมาณ 50 ปีรังแคก็จะน้อยมากๆแล้ว
- เพศ – เพศชายเป็นรังแคได้มากกว่าเพศหญิง เนื่องจากมีฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgen) หรือฮอร์โมนเพศชายมากกว่านั่นเอง
- ฮอร์โมน – หากมีฮอร์โมนแอนโดรเจนมาก ฮอร์โมนจะไปกระตุ้นต่อมไขมันให้ผลิตไขมันมากกว่าปกติ เมื่อไขมันมาก เชื้อราก็จะมากตาม ทำให้หนังศีรษะอักเสบ เกิดรังแคได้
- ความเครียด – ความเครียดทำให้ระบบร่างกาย และฮอร์โมนเสียสมดุล ทำให้ร่างกายผิดปกติจนอาจจะเกิดการอักเสบ หรือทำให้หนังศีรษะแห้งได้ง่าย
- พันธุกรรม – ลักษณะของหนังศีรษะ และโรคผิวหนังที่ทำให้เกิดรังแคบางอย่างสามารถถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรม
2. ปัจจัยภายนอก
- อุณหภูมิ และสภาพอากาศ – ทั้งความร้อน ความเย็น ความชื้น มีผลทั้งหมด เพราะหากยิ่งศีรษะแห้ง จะยิ่งทำให้หนังศีรษะเสียความชุ่มชื้นจนเป็นรังแคได้
- เหงื่อ – เหงื่อมีผลต่อความชื่นที่หนังศีรษะ และการผลิตน้ำมัน
- มลภาวะ – มลภาวะทำให้เกิดการสะสมสิ่งสกปรกบนหนังศีรษะ อาจจะทำให้หนังศีรษะอักเสบได้
- ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป – ทำให้ร่างกายเสียสมดุล และอาจจะทำให้เกิดรังแคในทางอ้อม
- การรับประทานอาหารบางชนิด – กรดไขมัน หรือวิตามินบีมีผลต่อการทำงานของต่อมไขมันมาก อาจจะทำให้เชื้อราเพิ่มจำนวนได้
อ่านเพิ่มเติม : อาหารแต่ละอย่าง ส่งผลกับผมอย่างไร? อาหารอะไรช่วยบำรุงผมและหนังศีรษะบ้าง?
อาการของรังแค
อาการของรังแคแบ่งออกเป็น 2 ชนิดหลักๆ ทั้งสองชนิดลักษณะอาการต่างกัน ต้นเหตุต่างกัน และวิธีการรักษาก็จะต่างกันด้วย โดยรังแคทั้งสองชนิด ได้แก่
รังแคแห้ง (Dry Dandruff)
รังแคแห้ง เป็นรังแคที่เกิดจากหนังศีรษะเสียความชุ่มชื้นไป ส่วนใหญ่อาจจะเกิดจากการกระทำบางอย่างของเราที่ไปรบกวนการสร้างน้ำมันของต่อมไขมัน จนทำให้น้ำมันที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเคลือบหนังศีรษะรักษาความชุ่มชื่นไว้ มีน้อยกว่าปกติ
เมื่อหนังศีรษะแห้งก็จะทำให้เซลล์ที่หนังศีรษะชั้นนอกแห้ง แตก จนเกิดการผลัดตัวออกมามากกว่าปกติ ทำให้หลุดออกมาเป็นรังแคในที่สุด
รังแคแห้งจะเป็นสีขาว แผ่นรังแคมีขนาดเล็ก มักสร้างความรำคาญจากการร่วงหล่น และติดอยู่ตามเสื้อผ้าของเรา ทั้งยังทำให้รู้สึกคันจากหนังศีรษะแห้งอีกด้วย
สามารถรักษาได้ด้วยการทำให้หนังศีรษะชุ่มชื้น จากการปรับพฤติกรรม ปรับอาหาร สระผมให้น้อยลง เพื่อเพิ่มน้ำมันที่หนังศีรษะ หรือใช้ยาสระผมขจัดรังแคที่มีส่วนผสมของวิตามินอี แพนธีนอล และไนอาซินาไมด์
รังแคเปียก (Oily Dandruff)
รังแคเปียกจะเกิดจากคนละสาเหตุกับรังแคแห้ง รังแคเปียกจะเกิดจากต่อมไขมันสร้างไขมันมากเกินไป อาจจะเป็นผลมาจากฮอร์โมน ร่างกายขาดสมดุล หรือทานอาหารบางอย่างที่ไปกระตุ้นต่อมไขมันให้ทำงานมากกว่าปกติ
เมื่อน้ำมันมากเกินไป เชื่อรามาลาสซีเซียจะเพิ่มจำนวน และทำให้เกิดการอักเสบเล็กๆที่ศีรษะ จนทำให้เซลล์ผิวหนังผลัดตัวไวกว่าปกติ และเกิดเป็นรังแคในที่สุด
รังแคเปียกจะทำให้ศีรษะมัน และมีอาการคันจากกรดโอเลอิก ชิ้นรังแคสีเหลือง เหนียวจากน้ำมัน รังแคแผ่นใหญ่ และหนากว่ารังแคแห้ง
รังแคเปียกสามารถรักษาได้ด้วยการใช้แชมพูขจัดรังแค หรือแชมพูควบคุมความมันของหนังศีรษะ อาจจะสระผมให้บ่อยมากขึ้น และปรับพฤติกรรมเพื่อรักษาสมดุลให้ร่างกาย
เมื่อไหร่ที่ควรพบแพทย์
โดยปกติแล้วทุกคนสามารถกำจัดรังแคเองได้ด้วยการควบคุมความมัน ความแห้งของหนังศีรษะ และลดความเสี่ยงต่างๆที่ทำให้เกิดรังแค เช่น ควบคุมความเครียด ทานอาหารที่มีประโยชน์ ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ใช้สารเคมีที่อาจจะทำให้หนังศีรษะแห้ง หรือทำให้แพ้จนอักเสบ
หากเป็นรังแคไม่หาย ก็ใช้ยาสระผมขจัดรังแคได้ ใช้แล้วไม่หายก็ลองเปลี่ยนยาสระผมที่ส่วนผสมต่างกัน บางกรณีเป็นรังแคหนักกว่าเดิมเพราะยาระผมขจัดรังแคบางยี่ห้อมีสารเคมีที่แรงเกินไป จนทำให้เกิดอาการแพ้ได้ หากใช้อะไรแล้วหาย หรือดีขึ้น ก็ให้ใช้อย่างต่อเนื่อง เพราะถ้าหยุดใช้รังแคอาจจะกลับมาได้
หรือถ้าใช้ทุกอย่างแล้วประมาณ 1 เดือนยังไม่หายอีก ก็อาจจะเป็นเพราะรังแคที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดจากหนังศีรษะแห้งหรืออาการอักเสบเล็กน้อยที่ศีรษะ แต่อาจจะเกิดจากโรคที่ทำให้เป็นรังแคเรื้อรัง หรือโรคอื่นๆที่มีผลข้างเคียงทำให้เกิดรังแคได้
โรคที่อาจเกิดร่วมกับรังแค
โรคที่อาจจะเกิดร่วมกับรังแค มีทั้งโรคที่ทำให้เกิดรังแคโดยตรง และโรคที่ส่งผลกับระบบร่างกายจนทำให้เกิดรังแค ดังนี้
โรคที่ทำให้เกิดรังแค
- โรคผิวหนังอักเสบ (Seborrheic Dermatitis) – โรคนี้เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อรามาลาสซีเซียเช่นเดียวกันกับรังแคเปียก หรือเกิดจากสาเหตุอื่นๆได้ แต่โรคนี้จะต่างจากรังแคธรรมดา ที่อาการจะรุนแรงกว่า และจะเป็นอย่างเรื้อรัง อาจจะต้องใช้ยาลดการอักเสบ หรือยาสเตียรอยด์ในการรักษาร่วมด้วย
- โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis) – เป็นโรคที่ทำให้เกิดการอักเสบที่ผิวหนังอย่างรุนแรง ทำให้เซลล์ผิวหนังผลัดตัวอย่างรวดเร็ว รังแคจะมีลักษณะหนา และมีเลือดออกบริเวณที่มีรังแคด้วย สาเหตุของโรคยังไม่แน่ชัด แต่การแพทย์ปัจจุบันเข้าใจว่าเป็นโรคที่ติดต่อทางพันธุกรรม
- โรคเชื้อราบนหนังศีรษะ (Tinea Capitis) – เป็นโรคที่ทำให้ผิวหนังอักเสบจากการติดเชื้อรา จนทำให้เกิดรังแค และสะเก็ดที่หนังศีรษะ มีอาการผมคัน ผมร่วงเป็นหย่อมร่วมด้วย
โรคเหล่านี้ไม่สามารถรักษาให้หายได้เองจากแค่การดูแลตัวเอง หรือใช้แชมพูกำจัดรังแค หากเป็นโรคเหล่านี้ควรพบแพทย์ เพื่อรักษาอาการต่อไป ไม่ควรปล่อยไว้ เพราะอาจจะเป็นสาเหตุให้ผมร่วงถาวรจากแผลเป็นได้
ผมร่วงถาวรจากแผลเป็นเกิดจากอะไร? มีวิธีแก้ไขอย่างไร? อ่านเพิ่มเติมได้ที่ ปลูกผมลงในแผลเป็น
โรคที่ส่งผลกับระบบร่างกายจนทำให้เกิดรังแคในทางอ้อม
- โรคที่เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน – หากระบบภูมิคุ้มกันมีปัญหา จะเกิดการอักเสบได้ง่ายจนเป็นรังแค ตัวอย่างโรค เช่น โรคเอดส์ ไทรอยด์ ด่างขาว
- โรคเกี่ยวกับระบบประสาท – โรคที่เกี่ยวกับระบบประสาทบางโรคส่งผลต่อการควบคุมต่อมไขมัน และการมีน้ำมันมากหรือน้อยเกินไปบนหนังศีรษะ ทำให้เกิดรังแคได้ ตัวอย่างโรค เช่น โรคพากินสัน
โรคเหล่านี้ การเป็นรังแคเป็นแค่อาการเกิดร่วมอย่างหนึ่งเท่านั้น ดังนั้นการรักษาจะรักษาที่ตัวโรค เมื่อโรคหาย หรือดีขึ้น รังแคก็จะหายไปด้วย
กำลังกังวลเกี่ยวกับปัญหารังแค หรือปัญหาอื่นๆ เกี่ยวกับเส้นผมและหนังศีรษะ สามารถขอคำปรึกษา หรือส่งรูปมาสอบถามอาการกับแพทย์เฉพาะทางจาก Absolute Hair Clinic ได้ที่ Line: @Absolutehairclinic
รู้จักกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ พร้อมทั้งผลงานของแพทย์แต่ละท่านจาก Absolute Hair Clinic
วิธีขจัดรังแค
1. ใช้แชมพูขจัดรังแค
วิธีนี้เป็นวิธีแก้รังแคเยอะที่ง่ายที่สุด แต่แชมพูขจัดรังแคในท้องตลาดมีเยอะมาก เป็นรังแคใช้แชมพูอะไรดี? ผู้ที่ต้องการใช้ควรเลือกแชมพูจากส่วนผสมต่างๆ โดยแต่ละส่วนผสม มีคุณสมบัติดังนี้
- คีโตโคนาโซล (Ketoconazole) เป็นยากำจัดเชื้อราอย่างหนึ่ง สามารถลดจำนวนเชื้อรามาลาสซีเซียได้
- ซิงค์ ไพริไธโอน (Zinc Pyrithione) ช่วยลดเชื้อรามาลาสซีเซีย ต้นเหตุการเกิดรังแค
- ไพรอกโทน โอลามีน (Piroctone Olamine) ช่วยลดเชื้อรามาลาสซีเซีย
- ซีลีเนียมซัลไฟด์ (Selenium Sulfide) ช่วยลดเชื้อรามาลาสซีเซีย และช่วยชะลอกระบวนการผลัดเซลล์ผิว
- น้ำมันดิน (Coal Tar) มีสารช่วยชะลอการผลัดเซลล์ผิว
- Tea Tree Oil ช่วยควบคุมความมันบนหนังศีรษะ
- ซาลิไซลิก แอซิด (Salicylic Acid) เป็นสารที่ช่วยให้ผิวหนังที่ผลัดแล้วหลุดจากหนังศีรษะได้ง่าย แต่ก็อาจจะทำให้หนังศีรษะแห้งได้ บางคนใช้แล้วเป็นรังแคเยอะกว่าเดิม
เมื่อเลือกแชมพูขจัดรังแคได้แล้ว หากอยากรักษารังแคให้หายขาด ควรใช้แชมพูขจัดรังแคอย่างต่อเนื่องเพื่อไม่ให้กลับมาเป็นอีก นอกจากนี้ควรอ่านที่ข้างขวดด้วยว่าต้องใช้บ่อยขนาดไหน ส่วนใหญ่จะแนะนำให้ใช้สัปดาห์ละ 1 – 3 ครั้ง เพราะหากใช้มากๆจะทำให้ศีรษะแห้ง และเป็นรังแคมากกว่าเดิมได้
หากเป็นรังแคแห้งจากศีรษะแห้งเป็นหลัก สภาพหนังศีรษะอาจจะไม่ได้เหมาะกับยาสระผมขจัดรังแค เพราะสารเคมีที่เยอะเกินไปอาจจะทำให้ศีรษะแห้ง ควรใช้แชมพูที่เป็นสูตรชุ่มชื้น หรือสูตรอ่อนโยนจะดีกว่า
อีกสิ่งหนึ่งที่ควรระวังในการเลือกยาสระผม คือยาสระผมไม่ควรมีสาร SLS หรือ Sodium Lauryl Sulfate สารตัวนี้พบมากในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด เนื่องจากราคาถูก และขจัดความมันได้ดีมาก แต่ในขณะเดียวกัน สารตัวนี้จะนำน้ำมันออกไปจากหนังศีรษะมากเกินไป จนทำให้หนังศีรษะแห้งและเป็นรังแคได้
2. ไม่ควรเกาหนังศีรษะแรงๆ
รังแคทำให้คันศีรษะมากก็จริง แต่นอกจากการเกาศีรษะจะทำให้เสียบุคลิกแล้ว ยังทำให้เป็นรังแคมากกว่าเดิม เนื่องจากการเกาทำให้เกิดการอักเสบมากขึ้น อีกทั้งยังทำให้รากผมบนหนังศีรษะถูกทำลาย จนอาจจะเป็นสาเหตุให้เกิดอาการผมร่วงได้
ปัญหาผมร่วง ผมบาง สามารถแก้ไขได้ด้วยยาแก้ผมร่วง และการปลูกผมถาวร
3. สระผมอย่างถูกวิธี
วิธีสระผมไม่ให้มีรังแคที่ถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญเพราะการสระผมมีผลอย่างมากกับน้ำมันบนหนังศีรษะ ถ้าน้ำมันมากก็ทำให้เชื้อราเยอะจนอักเสบและเกิดรังแค ถ้าน้ำมันน้อย หนังศรีษะก็จะแห้งจนเกิดเป็นรังแคได้เช่นกัน ดังนั้นควรสระผมอย่างพอดี ไม่มากไม่น้อยจนเกินไป ประมาณสัปดาห์ละ 3 ครั้ง น้ำที่ใช้สระผมก็ไม่ควรใช้น้ำร้อนเพราะจะทำให้ศีรษะแห้ง
4. ทานอาหารที่มีประโยชน์ เหมาะกับสภาพหนังศีรษะ
กรดไขมันโอเมก้า 3, ซิงค์, และวิตามินบี มีผลดีอย่างมากต่อต่อมไขมัน แต่ถ้ามีน้ำมันบนหนังศีรษะมากอยู่แล้วก็ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีกรดไขมัน เพื่อให้สภาพหนังศีรษะดีขี้น กลับเข้าสู่จุดสมดุลอีกครั้ง
อ่านเพิ่มเติม : 10 อาหารบำรุงผม พร้อมสารอาหารที่เส้นผมต้องการ รักษาผมร่วง ผมบาง จากภายใน
5. ลดความเครียด
ความเครียดเป็นปัจจัยให้เกิดรังแคได้ในทางอ้อม ถ้าให้เวลาตนเองได้พักผ่อน ไม่เครียด ก็จะทำให้หนังศีรษะสมดุลขึ้น รังแคน้อยลง และหายไป
วิธีป้องกันรังแค
- ไม่ปล่อยให้หนังศีรษะแห้ง หรือมันจนเกินไป จนเป็นสาเหตุให้เกิดรังแค
- รักษาความสะอาดของหนังศีรษะอยู่เสมอ จะได้ไม่เกิดการสะสมสิ่งสกปรกจนอักเสบ
- ไม่ใช้ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับหนังศีรษะและเส้นผมที่มีสารเคมีมากเกินไปจนทำให้เกิดการแพ้
- ออกไปทำกิจกรรมกลางแจ้งบ้าง เนื่องจากเมื่อหนังศีรษะโดนแสงแดด จะทำให้เชื้อรามาลาสซีเซียมลดจำนวนลง
- รักษาสมดุลร่างกายอยู่เสมอ เช่น ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารที่มีประโยชน์ ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น
คำถามที่พบบ่อย
รังแคเป็นสาเหตุทำให้ผมร่วงได้ไหม?
รังแคทำให้ผมร่วงได้ในทางอ้อม เนื่องจากรังแคทำให้คันศีรษะมาก และเมื่อเราเกา การเกาสามารถทำให้หนังศีรษะเป็นแผล และทำลายรากผมได้ ทำให้รากผมในบริเวณนั้นไม่แข็งแรงเท่าเดิม ส่งผลให้ผมร่วงหรือบางลงได้ และถ้าบริเวณที่เกาเป็นแผลเป็น ก็อาจจะทำให้ผมในบริเวณนั้นร่วงไป ไม่งอกขึ้นมาอีกเลย
เป็นรังแคควรสระผมบ่อยๆ จริงไหม?
เป็นรังแคควรสระผม แต่ไม่ควรสระผมบ่อยจนเกินไป ถ้าหากเป็นรังแคเปียกก็ควรสระผมให้บ่อยขึ้นเพื่อลดความมัน แต่ก็ไม่ควรสระบ่อยเกินไป แม้การสระผมจะช่วยลดความมัน ทั้งยังล้างสิ่งสกปรก และเซลล์ผิวที่ตายแล้วออกไปทำให้รังแคลดลง แต่การสระผมที่บ่อยเกินไปก็จะทำให้หนังศีรษะแห้ง จนอาจจะเกิดรังแคได้
รังแคเกิดจากความสกปรก จริงไหม?
รังแคเกิดจากความสกปรก ประโยคนี้จริงแค่บางกรณี เพราะความสกปรกทำให้เกิดรังแคได้ แต่ไม่ใช่ทุกคนที่เป็นรังแคจะมีหนังศีรษะที่สกปรก รังแคสามารถเกิดได้จากการไม่สระผม จนทำให้มลภาวะ ความมัน และผิวหนังที่เซลล์ผลัดออกไปสะสมจนเกิดเป็นรังแคได้
ในขณะเดียวกัน คนส่วนใหญ่ที่เป็นรังแคมักจะเกิดจากการเสียสมดุลของปริมาณน้ำมันบนหนังศีรษะ ดังนั้นไม่สามารถพูดได้ว่ารังแคเกิดจากความสกปรกในทุกกรณี
รังแคติดกันได้ไหม?
รังแคไม่สามารถติดกันได้ แม้รังแคบางประเภทจะเกิดจากเชื้อรา แต่เชื้อราดังกล่าวก็เป็นเชื้อราที่มีอยู่แล้วในร่างกายของทุกคน ส่วนปัจจัยอื่นๆไม่ได้เกี่ยวกับการติดเชื้อ หรือการติดต่อกันเลย แม้โรคบางอย่างที่ทำให้เกิดรังแคจะเป็นโรคติดต่อ แต่ก็ไม่สามารถพูดได้ว่ารังแคเป็นโรคติดต่อ
แกะ เกา รังแคได้ไหม?
รังแคเป็นส่วนประกอบของเส้นผมที่อยู่ภายในหนังศีรษะและผิวหนัง การแกะหรือเการังแคอาจทำให้เส้นผมถูกทำลายหรือเสียหายได้ นอกจากนี้รังแคเป็นส่วนของระบบที่ซับซ้อนของการเจริญเติบโตของเส้นผม การแกะหรือเการังแคอาจไม่สามารถกำจัดรังแคทั้งหมดได้
หากคุณมีปัญหารังแคหรือปัญหาเกี่ยวกับเส้นผม ควรพบผู้เชี่ยวชาญด้านเส้นผม เช่น ช่างทำผมหรือหมอผม เพื่อให้ได้คำแนะนำและการรักษาที่เหมาะสมสำหรับสถานะของเส้นผมและรังแคของคุณ
สระผมบ่อยๆช่วยลดรังแคไหม?
การสระผมบ่อย ๆ อาจช่วยลดรังแคบางส่วนได้ แต่ต้องควรระมัดระวังว่าการสระผมบ่อย ๆ อาจมีผลกระทบต่อสภาพและความเป็นมันของเส้นผมได้ ซึ่งอาจทำให้การรู้สึกว่ารังแคเพิ่มขึ้น ดังนั้น วิธีกําจัดรังแคที่ดีไม่ควรสระผมบ่อยเกินไปถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ
ข้อสรุป ‘รังแค’
รังแคเป็นอาการที่เกิดบนหนังศีรษะ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แม้จะเป็นเรื่องปกติ แต่ก็สามารถทำให้เสียบุคลิดภาพ และสร้างความไม่มั่นใจให้กับผู้ที่เป็นรังแคได้ ดังนั้นผู้ที่เป็นรังแคควรรักษาแต่เนิ่นๆ เพื่อให้หายเร็ว และไม่เป็นอย่างเรื้อรัง หากพยายามรักษาเองแล้วไม่หาย ก็ควรพบแพทย์ เพราะรังแคอาจจะเกิดจากโรคผิวหนังชนิดอื่นๆ หรืออาจจะมีปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันได้
รักษารังแคเองไม่หาย ต้องการขอคำปรึกษา หรือพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สามารถส่งข้อความเข้ามาสอบถาม หรือส่งรูปเข้ามาปรึกษาแพทย์เฉพาะทางจาก Absolute Hair Clinic ได้ที่ Line: @Absolutehairclinic
References
Mayo Clinic Staff (Sep 21, 2020) Dandruff – Symptoms and causes Retrieved May 2023 ,from
https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/dandruff/symptoms-causes/syc-20353850
Medical News Today (Mar 20, 2019) How to treat dandruff Retrieved May 2023 ,from
https://www.medicalnewstoday.com/articles/152844#_noHeaderPrefixedContent