ผมร่วงวันละกี่เส้น ผมร่วงทุกวันปกติไหม? เสี่ยงโรคร้ายหรือเปล่า?

ผมร่วงวันละกี่เส้น

ผมร่วง เป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ จากการผลัดผมออกตามวงจรชีวิตของเส้นผมปกติ แต่หากสางผมแล้วผมติดมืออกมามาก ติดอยู่ตามหวี หรือตามท่อน้ำมากกว่าปกติ ก็อาจจะเป็นสัญญาณบอกได้ว่า อาการผมร่วงเริ่มผิดปกติแล้ว

ผมร่วงไม่ได้มีเกณฑ์ที่ชัดเจนในแต่ละคนว่าแค่ไหนถึงจะเรียกว่าผิดปกติ แต่ในบทความนี้ Absolute Hair Clinic จะให้ความรู้ว่า ผมร่วงมากแค่ไหน หรือร่วงในลักษณะใด จึงควรกังวล และควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาวิธีรักษาต่อไป

Absolute Hair Clinic คลินิกรักษาทุกปัญหาผม โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านเส้นผมและหนังศีรษะ


สารบัญ

โดยปกติคนเราผมร่วงวันละกี่เส้น

ผมร่วงทุกวันปกติไหม? ผมร่วงทุกวันเป็นเรื่องปกติ เนื่องจากเส้นผมของเรา เมื่องอกขึ้นมาจะเจริญเติบโตอยู่บนศีรษะประมาณ 2 – 6 ปี จากนั้นจะหยุดเจริญ และร่วงออก เพื่อให้ผมชุดใหม่งอกออกมาแทนที่ วนเวียนอยู่แบบนี้ไปเรื่อยๆจนกว่าจะงอกไม่ได้อีก เนื่องจากรากผมฝ่อด้วยสาเหตุต่างๆ

ปกติผมร่วงวันละกี่เส้น? ในทุกๆวัน ผมจะร่วงประมาณ 50 – 100 เส้น จากผมทั้งศีรษะที่มีประมาณ 80,000 – 140,000 เส้น เมื่อชุดเก่าร่วงไป ชุดใหม่ก็ขึ้นมาแทน ดังนั้นแม้จะร่วงไปมากถึงร้อยเส้นต่อวัน ก็ไม่ได้ทำให้ผมบางลง หรือน้อยลงแต่อย่างใด

แต่เมื่อไหร่ก็ตาม ที่มีปัจจัยบางอย่างทำให้ผมร่วงมากกว่า 100 เส้นต่อวัน หรือมากเกินกว่าที่ผมจะงอกออกมาทดแทนส่วนที่ร่วงไปได้ ผมก็จะดูบางลง อาจจะเกิดเฉพาะบางบริเวณ หรือเกิดทั่วทั้งศีรษะก็ได้ หากเป็นเช่นนี้ ก็ควรรีบพบแพทย์ก่อนที่จะรักษายาก

อัตราผมร่วงต่อวันของผู้หญิง Vs ผู้ชาย

ผู้หญิงกับผู้ชาย ผมร่วงวันละกี่เส้น จำนวนเท่ากันหรือไม่? คำตอบคือผู้หญิงและผู้ชาย จำนวนผมที่ร่วงจะไม่เท่ากัน

โดยปกติแล้ว ผมจะร่วงมากหรือน้อยในแต่ละคน ขึ้นอยู่กับจำนวนผมทั้งหมด สภาพผม ฮอร์โมน เวลาที่ผมเจริญเติบโตในวงจรเส้นผม หรือการจัดแต่งทรงผม และปัจจัยเหล่านี้เอง ที่ทำให้ผู้หญิงส่วนมากผมร่วงมากกว่าผู้ชาย

ผู้หญิงส่วนใหญ่จะไว้ผมยาว และจัดแต่งทรงผมด้วยสารเคมี หรือความร้อน ทำให้ผมเสีย หนังศีรษะแห้ง และผมร่วงได้มากกว่าผู้ชาย นอกจากนี้ผู้หญิงยังประสบกับปัจจัยที่ทำให้ระดับฮอร์โมนเปลี่ยนจนผมร่วงได้มากกว่าผู้ชาย เช่นในช่วงหลังคลอด ใช้ยาคุม หรือช่วงวัยทอง

ผู้ชายผมร่วงวันละกี่เส้น? ผู้ชายปกติจะผมร่วงประมาณวันละ 50 – 60 เส้น ส่วนผู้หญิงจะร่วงวันละประมาณ 100 – 150 เส้น ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับจำนวนรูขน สภาพเส้นผม และสุขภาพโดยรวมของแต่ละคนด้วย

แต่ทำไมผู้ชายผมบาง ศีรษะล้านมากกว่าผู้หญิง? เนื่องจากในผู้หญิงมีฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ที่ช่วยทำให้ผมแข็งแรง ไม่ร่วงง่าย 

ในทางกลับกัน ในผู้ชายมีฮอร์โมน DHT มาก ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้ทำให้เส้นผมมีช่วงเวลาที่จะเจริญเติบโตสั้นลง ผมเส้นเล็ก และบางลง จนทำให้รากผมฝ่อ ไม่งอกผม เกิดเป็นหัวล้านในที่สุด

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับฮอร์โมน DHT : DHT

วิธีสังเกตจำนวนเส้นผมที่ร่วงใน 1 วัน

ปกติผมร่วงวันละกี่เส้น

การจะนับว่าผมคนเราร่วงวันละกี่เส้นเป็นเรื่องยาก แต่จะสามารถกะประมาณได้ด้วยวิธีต่างๆ โดยวิธีนับผมร่วงที่ใช้กันมีหลายวิธี ดังนี้

  1. นับเส้นผมที่ร่วงหลังสระผม หากสระผมทุกวันผมไม่ควรร่วงหลังสระผมเกิน 100 เส้น แต่หากสระผมวันเว้นวัน ผมก็ไม่ควรร่วงเกินวันละ 200 เส้น
  2. นับผมที่ร่วงเฉลี่ยในแต่ละวันเป็นเวลา 1 อาทิตย์ โดยให้เก็บผมทั้งวัน วันละประมาณ 5 ครั้ง แต่ละครั้ง ให้ใช้หวี หวีผมทั้งศีรษะ และรวบรวมเก็บไว้เป็นเวลา 1 อาทิตย์ แล้วจึงนับรวมทั้งหมด ให้นับรวมผมที่ร่วงหลังสระผมแต่ละครั้งด้วย แล้วจึงหาค่าเฉลี่ยว่าผมร่วงวันละกี่เส้น
  3. หากวิธีที่แนะนำยุ่งยากเกินไป วิธีที่ง่ายที่สุดคือให้หวีผม 1 นาทีก่อนสระผม หากผมร่วงออกมาน้อยกว่า 10 – 20 เส้น ก็จะถือว่ายังอยู่ในเกณฑ์ปกติ

เรียนรู้เพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีวัดผมร่วงอย่างง่าย : การวัดผมร่วงโดยการหวีผมหนึ่งนาที

ผมร่วงแค่ไหน ถึงเรียกว่าผิดปกติ

ผมร่วงทุกวันเป็นเรื่องปกติ ผมร่วงวันละ 20 เส้น 30 เส้น เป็นเรื่องปกติ แต่หากผมร่วงวันละ 200 เส้น ถือว่าผิดปกติแล้ว

หากผมร่วงมากกว่า 50 – 60 เส้นในผู้ชาย หรือ 100 – 150 เส้นในผู้หญิง จะถือว่าผิดปกติ แต่หากเกินมาเล็กน้อย ก็ไม่ต้องกังวลมาก เพราะอาจจะเกิดจากการที่เป็นคนผมเยอะ หรือเกิดจากความผิดปกติเพียงเล็กน้อยของร่างกาย เช่นความเครียด พักผ่อนน้อย หากแก้ปัญหาเล่านี้ได้ ร่างกายจะกลับเป็นปกติเอง

เมื่อไหร่ที่ควรพบแพทย์

หาหมอผมร่วง ผมร่วงหาหมออะไร

ผู้ที่ผมร่วงมาก ควรพบแพทย์เมื่อผมร่วงมากกว่าปกติ และมีปัจจัยอื่นๆร่วมด้วย ดังนี้

  1. ผมร่วงมากกว่าเกณฑ์ปกติมาก ผู้ป่วยบางรายอาจจะผมร่วงได้มากถึง 700 เส้นต่อวัน 
  2. ผมร่วงเป็นหย่อม หรือมีขนส่วนอื่นๆของร่ายกายร่วงเป็นหย่อมร่วมด้วย
  3. เจ็บหนังศีรษะ หนังศีรษะแดง อักเสบ บวม เป็นหนอง เป็นขุย หรือเป็นสะเก็ด
  4. ผมร่วงจนผมบางเห็นหนังศีรษะ อาจจะเกิดขึ้นเฉพาะบริเวณกลางศีรษะ หน้าผาก หรือ
    เกิดทั้งศีรษะก็ได้
  5. มีปัญหาทางจิตเวชร่วมด้วย เช่นเป็นโรคดึงผมตัวเอง โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า
  6. ผมร่วงจนขาดความมั่นใจ รู้สึกว่าผมร่วงเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิตอย่างปกติ
    หรือการเข้าสังคม
  7. รู้สึกว่าไม่ควรปล่อยให้ผมร่วงมากแบบนี้ไปเรื่อยๆ อยากแก้ปัญหาอาการผมร่วงก่อนผมบางศีรษะล้าน

หากมีอาการเหล่านี้ ควรพบแพทย์เฉพาะทางด้านเส้นผมและหนังศีรษะ เพื่อรักษาปัญหาต่างๆที่เป็นสาเหตุทำให้ผมร่วง และปัญหาต่างๆที่อาจจะตามมาหลังผมร่วง

ผมร่วงเกิดจากอะไรได้บ้าง มีวิธีรักษาอย่างไร และสามารถส่งผลอย่างไรกับผู้ป่วยได้บ้าง? : ผมร่วง

การวินิจฉัยอาการผมร่วง

ในขั้นแรกแพทย์จะสอบถามว่าผมร่วงเยอะกว่าปกติแค่ไหน หากผู้เข้ารับการรักษานับมาว่าผมร่วงวันละกี่เส้น แพทย์ก็จะวินิจฉัยง่ายขึ้น จากนั้นแพทย์จะตรวจดูในบริเวณที่ผมร่วงว่าเป็นอย่างไร มีอาการอักเสบ รอยบวมแดงร่วมหรือไม่ ผมร่วงเป็นหย่อมหรือเปล่า

หากมี อาการผมร่วงก็อาจจะเกิดจากโรคผิวหนัง โดยแพทย์ก็จะตรวจลึกลงไปอีกว่าเกิดจากโรคอะไร เพื่อรักษาที่ต้นตอของโรค

แต่หากไม่มีรอยอื่นๆ หรือไม่มีผมร่วงเป็นหย่อม แต่ผมร่วงกระจายทั่วทั้งศีรษะ แพทย์จะสอบถามประวัติอาการผมร่วงของคนในครอบครัวร่วมด้วย เพื่อดูว่ามีโอกาสเกิดจากพันธุกรรมหรือไม่ 

แพทย์จะสอบถามอาการป่วยย้อนหลัง 1 – 4 เดือน ว่าผ่านการผ่าตัดมาหรือไม่ เพิ่งหายจากโรค อาการช็อก หรือเพิ่งคลอดบุตรหรือเปล่า เพราะอาการเหล่านี้สามารถทำให้ผมร่วงได้หลังผ่านระยะดังกล่าวมาประมาณ 1 – 4 เดือน

นอกจากนี้ แพทย์จะสอบถามประวัติอาการป่วยโรคอื่นๆร่วมด้วย เช่นโรคมะเร็ง เอดส์ ไทรอยด์ ด่างขาว หรือภาวะทางจิตต่างๆ อย่างความเครียด ความกังวล โรคซึมเศร้า โรคดึงผมตัวเอง โรควิตกกังวลประเภทย้ำคิดย้ำทำ 

หากรู้สาเหตุแล้ว แพทย์ก็จะรักษาในส่วนที่เกี่ยวกับหนังศีรษะและเส้นผม หากผมร่วงเกิดจากโรคอื่นๆ แพทย์จะแนะนำให้รักษากับแพทย์เฉพาะทางก่อน แล้วจึงมารักษาเกี่ยวกับผมร่วงภายหลัง หรือโรคบางอย่างก็สามารถรักษาควบคู่กันไปทั้งสองอย่างได้

รู้จักกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้สนเส้นผมและหนังศีรษะ

พร้อมทั้งผลงานของแพทย์แต่ละท่านจาก Absolute Hair Clinic : 

อาการผมร่วงผิดปกติ เกิดจากอะไร

ผมร่วงเยอะมาก เกิดจากอะไร? ผมร่วงเกิดได้จากหลายสาเหตุ ส่วนใหญ่เป็นความผิดปกติทางร่างกายเนื่องจากโรค หรือการรักษาโรคบางอย่าง แต่ในขณะเดียวกัน ผมร่วงก็สามารถเกิดจากภาวะทางจิตใจได้ด้วย โดยอาการผมร่วงสามารถเกิดได้จากสาเหตุต่างๆ ดังนี้

โรคผมบางพันธุกรรม

สำหรับโรคผมบางกรรมพันธุ์ (Androgenetic Alopecia) การนับว่าผมร่วงวันละกี่เส้นเป็นเรื่องสำคัญมาก เนื่องจากผมบางกรรมพันธุ์จะเริ่มจากผมร่วงมากทั้งศีรษะ แล้วจะค่อยๆเห็นว่าผมบางลงจนเห็นหนังศีรษะ 

ในผู้ชาย โรคผมบางพันธุกรรมจะเกิดจากการที่รากผมตอบสนองต่อฮอร์โมนที่ทำให้ผมร่วงได้ดีจนเกินไป ทำให้ผมร่วงมากกว่าปกติ อาจจะร่วงจากกลางศีรษะ หรือที่หน้าผากก่อน จากนั้นจะเกิดขึ้นทั้งสองที่ แล้วค่อยๆลามเข้าหากัน จนหัวล้าน

ส่วนผมบางกรรมพันธุ์ในผู้หญิง ผมจะร่วงมากทั้งศีรษะ จากนั้นผมจะบางบริเวณกลางศีรษะ และขยายพื้นที่ออกไปจนหัวล้าน

หากผมบางกรรมพันธุ์มีอาการรุนแรงขึ้น ทั้งยังไม่ได้รักษา จะเกิดเป็นโรคหัวล้านกรรมพันธุ์ ที่จะรักษาได้ยาก หรือหากเป็นรุนแรงมาก อาจจะรักษาไม่ได้เลย

โรคผมบางพันธุกรรม รักษาอย่างไรได้บ้าง? :

วิธีแก้ผมร่วง แก้ปัญหาผมร่วง

โรคเชื้อราบนหนังศีรษะ

หากเป็นโรคเชื้อราบนหนังศีรษะ (Tinea Capitis) ผมจะร่วงเป็นหย่อม และมีอาการอักเสบอื่นๆร่วมด้วย หากผมร่วงเป็นหย่อม ไม่จำเป็นต้องนับว่าผมร่วงวันละกี่เส้น แม้ไม่เกินเกณฑ์ก็ควรพบแพทย์ เพราะโรคเชื้อราบนหนังศีรษะไม่สามารถทิ้งไว้ให้หายเองได้ ต้องรักษาอย่างถูกวิธีเท่านั้น

เชื้อราบนหนังศีรษะเป็นโรคติดต่ออย่างหนึ่ง สามารถติดได้จากธรรมชาติ สัตว์ คนที่เป็นโรคนี้อยู่แล้ว หรือของใช้ในชีวิตประจำวันต่างๆที่ใช้ร่วมกับผู้ที่ติดเชื้อ เช่นหวี หมวก ผ้าเช็ดตัว หรือเสื้อผ้า

หากเป็นเชื้อราบนหนังศีรษะ แพทย์จะรักษาด้วยการให้ใช้แชมพู และยาทาเพื่อฆ่าเชื้อราบนหนังศีรษะ ถ้ามีการอักเสบร่วมด้วย แพทย์จะให้ยาลดอักเสบ หรือยากดภูมิคุ้มกันร่วมด้วย เพราะหากไม่แก้ไข ปล่อยให้อักเสบมาก อาจจะเป็นหนอง เป็นชันตุ เมื่อหายจะเป็นแผลเป็น ทำให้ผมไม่ขึ้นในบริเวณนั้นถาวร

หากรักษาทัน เมื่อเชื้อโรคหายไปแล้วผมในส่วนที่ร่วงเป็นหย่อมไปจะงอกกลับมาใหม่ดังเดิม แต่ถ้าผมไม่ขึ้น อาจจะเกิดจากสาเหตุอื่นๆร่วมด้วย ควรไปพบแพทย์เพื่อให้ผมกลับมาขึ้นอย่างปกติอีกครั้ง หรือหากเป็นแผลเป็น ก็ยังสามารถรักษาได้ ด้วยการปลูกผมลงในแผลเป็น

เชื้อราบนหนังศีรษะมักเกิดมากในเด็ก หรือผู้ที่ร่างกายอ่อนแอ แต่หากป้องกันโรคให้ดี ก็สามารถหลีกเลี่ยงได้

โรคดึงผมตัวเอง

โรคดึงผมตัวเอง Trichotillomania

โรคดึงผมตัวเอง (Trichotillomania) เกิดได้จากทั้งภาวะทางจิต และโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยจะเกิดมากในเด็ก ผู้ป่วยจะชอบดึงผมตัวเอง เพื่อให้รู้สึกดี รู้สึกผ่อนคลาย หรือทำให้ตัวเองเครียดน้อยลง อาจจะทำโดยตั้งใจ หรือทำไปโดยไม่รู้ตัวก็ได้

การนับว่าผมร่วงวันละกี่เส้นสำหรับผู้ที่เป็นโรคนี้ อาจจะเป็นเรื่องยาก เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเด็ก อีกทั้งผู้ป่วยจะนำผมมาเล่น กัด ดึง หรืออาจจะกินเข้าไปด้วย ทำให้บางครั้งไม่สามารถสังเกตโรคจากการนับเส้นผมได้ ควรสังเกตโรคนี้จากพฤติกรรม หรือหนังศีรษะที่มีผมหายไปบางส่วนมากกว่า

โรคนี้เป็นมากในเด็ก และถ้าเข้ารับการรักษา หรือมีคนรอบข้างคอยเตือน ก็จะสามารถหายได้ แต่ถ้าไม่รักษา หรือไม่หาย ปล่อยไว้จนถึงวัยผู้ใหญ่ อาการจะรุนแรงมากขึ้น และรักษาให้หายได้ยากขึ้น

แพทย์จะแนะนำให้รักษากับจิตแพทย์ก่อน เมื่อผู้ป่วยเลิกดึงผมตัวเองได้แล้ว ค่อยมารักษาผมส่วนที่ถูกดึงไปกับแพทย์ด้านเส้นผมและหนังศีรษะ

หากคนรอบข้าง หรือตัวเองเป็นโรคนี้ ควรเข้าพบจิตแพทย์ เนื่องจากการดึงผมจนผมบาง จะทำให้เสียบุคลิก มีผลต่อการเข้าสังคม บางครั้งผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า (Major Depressive Disorder) หรือโรควิตกกังวลประเภทย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive-compulsive disorder หรือ OCD) ร่วมด้วย 

ดังนั้นไม่ควรปล่อยไว้จนโรคนี้ทำให้เกิดปัญหากับการใช้ชีวิต

โรคผมร่วงเป็นหย่อม

โรคผมร่วงเป็นหย่อม เป็นอีกโรคที่ไม่จำเป็นต้องนับว่าผมร่วงวันละกี่เส้น หากเห็นว่าผมหายไปเป็นหย่อม ไม่ว่าจะหย่อมเดียว หลายหย่อม หรือมีขนส่วนอื่นๆร่วงเป็นหย่อมร่วมด้วย ก็ควรพบแพทย์

ผมร่วงเป็นหย่อมบางครั้งก็เป็นโรคที่ไม่อันตราย บางครั้งก็อันตรายมาก

เนื่องจากผมร่วงเป็นหย่อมเกิดจากการอักเสบของผิวหนังชั้นในบริเวณรากผม การแพทย์ปัจจุบันสันนิษฐานว่า เกิดจากภูมิคุ้มกันผิดปกติ จนไปทำลายเซลล์รากผมของตัวเอง ทำให้เกิดการอักเสบขึ้น 

หากไม่อันตราย ภาวะการอักเสบนี้จะเกิดชั่วคราว อาจจะเพราะร่างกายเสียสมดุลจากสาเหตุบางอย่าง ไม่ได้มีโรคอะไรที่เป็นต้นเหตุให้ภูมิคุ้มกันผิดปกติ หากเป็นกรณีนี้ อาการผมร่วงเป็นหย่อมสามารถหายได้เอง เมื่อเวลาผ่านไปผมจะงอกใหม่เอง

แต่หากเป็นนาน ไม่หายสักที อาการอักเสบอาจจะเกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน มักพบร่วมกับโรคเกี่ยวกับไทรอยด์ หรือโรคด่างขาว ส่วนในกรณีที่อันตราย ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันนั้นอาจจะเกิดจากโรคบางอย่าง เช่นโรคมะเร็ง โรคเอดส์ โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือโรคที่เกิดจากภูมิคุ้มกันอื่นๆ

ดังนั้นหากผมร่วงเป็นหย่อม ควรรีบมาพบแพทย์ เพราะอาจจะเกิดจากโรคอื่นที่จะส่งผลเสียมากกว่าการผมร่วงได้

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคผมร่วงเป็นหย่อมได้ที่ ผมร่วงเป็นหย่อม

ผมร่วงจากการได้รับยาหรือการฉายแสง

ฉายแสงผมร่วงไหม

ยาบางชนิดอาจจะทำให้ผมร่วงเยอะมาก มาเนื่องจากยาเหล่านั้นมีผลข้างเคียงทำให้ผมส่วนใหญ่เข้าสู่ระยะพัก หรือมีระยะเจริญที่สั้นลง ผมส่วนใหญ่บนศีรษะจึงร่วงพร้อมๆกัน

ส่วนยาเคมีบำบัดที่ใช้รักษามะเร็ง จะทำให้ผมร่วงด้วยสาเหตุอื่น คือยาเคมีบำบัดมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ยาบางตัวไม่ได้ออกฤทธิ์เฉพาะที่ ดังนั้นหากยาเคมีบำบัดไปออกฤทธิ์ที่เซลล์รากผม รากผมจะสร้างผมได้น้อยลง ทำให้ผมบาง เส้นเล็กสั้น ร่วงง่าย หรืออาจจะหยุดงอกไปชั่วคราว

ส่วนการฉายรังสีบริเวณศีรษะ ทำให้ผมร่วงได้ เพราะรังสีจะไปรบกวนเซลล์รากผม บางรายอาจจะร่วงเล็กน้อย บางรายไม่ร่วงเลย บางรายผมบาง เส้นเล็กลงถาวร หรือหากรักษาด้วยรังสีพลังงานสูงมากๆ ผมก็จะร่วงถาวร และไม่ขึ้นอีกเลย

ผมร่วงจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน

ฮอร์โมนมีผลอย่างมากต่อการทำให้ผมร่วง โดยสามารถเกิดได้จาก 2 ฮอร์โมนหลัก คือฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) และฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen)

  • ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone)

เทสโทสเตอโรน คือฮอร์โมนเพศชาย ที่เป็นฮอร์โมนตั้งต้นในการสร้างฮอร์โมนที่ทำให้ผมร่วงอย่างฮอร์โมน DHT และเป็นเหตุผลว่าทำไม ในผู้ชายจึงผมร่วงจากฮอร์โมนได้มากกว่าผู้หญิง 

หากระดับฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง ฮอร์โมนเพศชายมากกว่าปกติ ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย ก็จะทำให้ผมร่วงจากฮอร์โมนนี้ได้มากขึ้น

  • ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen)

ฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นฮอร์โมนเพศหญิง ที่มีผลมากต่อการเจริญเติบโตของเส้นผม ยิ่งฮอร์โมนตัวนี้มาก ยิ่งทำให้ผมดกหนา ระยะเวลาที่ผมจะเจริญเติบโตมีมากขึ้น อีกทั้งยังช่วงลดผมร่วงได้ด้วย

แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง ระดับฮอร์โมนตัวนี้ลดลง ผมส่วนใหญ่จะเข้าสู่ระยะพักการเจริญเติบโต และผมส่วนใหญ่นั้นจะร่วงพร้อมๆกัน ทำให้ผมร่วงเยอะมาก ส่วนใหญ่จะพบภาวะนี้ในผู้ที่ผมร่วงหลังคลอด  ช่วงใช้ยาคุมกำเนิด หรือผู้หญิงในวัยทอง

ผมร่วงจากโรคที่มีไข้สูง หลังการผ่าตัด และอาการช็อก

หากเกิดภาวะนี้ขึ้น ไม่จำเป็นต้องนับว่าผมร่วงวันละกี่เส้น เนื่องจากจะเห็นได้ชัดว่าผมเริ่มบางลง เพราะผมอาจจะร่วงได้มากถึง 700 เส้นต่อวัน

อาการผมร่วงจากภาวะเหล่านี้ เกิดจากผมส่วนใหญ่บนศีรษะ ถูกบังคับให้เข้าสู่ระยะพักก่อนเวลา ระยะพักคืออะไร?

ระยะพัก (Telogen Phase) คือระยะที่เส้นผมจะคงอยู่บนหนังศีรษะ โดยไม่เจริญเติบโต และไม่หลุดออก ปกติแล้วผมจะอยู่ในระยะพักแค่ประมาณ 10 – 15% ของผมทั้งศีรษะ 

ถ้าหากผมส่วนใหญ่ถูกผลักให้เข้าสู่ระยะพักก่อนเวลา เมื่อครบเวลาระยะพักประมาณ 1 – 4 เดือน ผมเหล่านั้นจะเข้าสู่ Exogen Phase และร่วงออกพร้อมกัน

ผู้ที่ผมร่วงจากโรคที่มีไข้สูง หลังการผ่าตัด และอาการช็อก ส่วนใหญ่จะไม่รู้ตัวว่าผมร่วงเกิดจากอะไร เนื่องจากผมจะไม่ได้ร่วงทันที แต่จะร่วงหลังจากเกิดภาวะนั้นไปประมาณ 1 – 4 เดือน เมื่อไปพบแพทย์ แพทย์จึงมักสอบถามถึงภาวะเหล่านี้ย้อนหลังนั่นเอง

ความเครียด

ความเครียดเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผมร่วง เนื่องจากเป็นภาวะทางจิตใจ ที่ทำให้ร่างกายเสียสมดุล และเกิดความผิดปกติขึ้น ความเครียดสามารถทำให้เกิดโรคที่ทำให้ผมร่วงได้หลายโรค เช่น โรคผมร่วงทั่วศีรษะ (Telogen Effluvium), โรคผมร่วงเป็นหย่อม (Alopecia Areata) หรือโรคดึงผมตัวเอง (Trichotillomania)

การขาดสารอาหาร

สารอาหารเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการสร้างผม หากขาดสารอาหารที่สำคัญไป รากผมก็จะไม่มีวัตถุดิบสำหรับสร้างผม โดยสารอาหารสำคัญ เช่น โปรตีน ไบโอติน และซิงค์

นอกจากนี้สารอาหารที่จำเป็นกับเลือดเช่นเหล็ก ก็มีผลต่อการสร้างเส้นผมเช่นกัน หากขาดธาตุเหล็ก เลือดจะลำเลียงสารอาหารมาที่รากผมได้ไม่เพียงพอ ทำให้ผมไม่สามารถงอกได้ดีเท่าที่ควร

สารอาหารอะไรบ้างที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของผม อาหารอะไรควรทาน อะไรควรเลี่ยง : อาหารบำรุงผม

ผมร่วงมาก ทำอย่างไรดี

บางท่านที่กำลังประสบปัญหา อาการผมร่วงโดยไม่ทราบสาเหตุ เช่น หวีผมแล้วผมร่วง หรือสางผมแล้วผมร่วงเยอะมาก เป็นต้น จนเกิดคำถามว่าวันนึงผมร่วงกี่เส้น แล้วผมที่ร่วงขึ้นใหม่ไหม วันนี้เรามีวิธีแก้ผมร่วงคร่าวๆมาบอกต่อ เพื่อหวังว่าจะสามารถช่วยลดอาการผมร่วงให้กับทุกท่าน พร้อมเพิ่มความมั่นใจในการดำเนินชีวิตต่อไปได้อีกด้วย

  1. มองหาแชมพูสระผมสูตรแก้ผมร่วง หรือสูตรอ่อนโยนต่อหนังศีรษะ บางท่านที่สังเกตถึงความเปลี่ยนแปลงของสภาพเส้นผม มีอาการผมร่วงการเปลี่ยนแชมพูสระผมที่มีสารสกัดจากธรรมชาติ จากสมุนไพรบางชนิด หรือสูตรอ่อนโยนต่อหนังศีรษะ จึงเป็นอีกวิธีที่ช่วยแก้ปัญหา เพื่อให้ผมกลับมาแข็งแรง ดกดำ โดยมีส่วนช่วยกระตุ้นให้ผมงอกขึ้นมาใหม่ได้อีกด้วย สูตรสมุนไพรดังเช่น สูตรที่มีส่วนผสมของ อัญชัน ขิง มะกรูด มะขามป้อม ว่านหางจระเข้ เป็นต้น
  2. การปรับวิธีสระผมให้ถูกต้อง ก่อนการสระผมควรหวีผมก่อนสระเพื่อลดการพันของเส้นผมในช่วงสระผม ไม่ควรเกาศรีษะแรง เพื่อลดการอักเสบของหนังศีรษะ ควรใช้น้ำอุณหภูมิปกติ เพื่อเป็นการรักษาสภาพเส้นผมให้ชุ่มชื่น ไม่แห้งกรอบนั้นเอง และควรล้างแชมพู/ครีมวดผมให้สะอาดหมดจดจากหนังศีรษะ เพื่อไม่ให้หนังศรีษะมัน เกิดรังเคจนเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกดผมร่วงนั้นเอง
  3. การหวีผมให้ถูกวิธี เพื่อลดการขาดหลุดร่วง การหวีผมไม่ว่าขณะที่ยังเปียกชื้น พันกันนั้นไม่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะจะเป็นการกระตุ้นให้ผมขาดหลุดล่วงมากยิ่งขึ้น ควรหวีผมด้วยการหวีเบาๆจากปลายผม หรือกลางผม เพื่อไม่ให้ผมพันกัน แล้วจึงหวีจากหนังศรีษะตามลงมานั้นเอง
  4. การรับประทานอาหารที่ช่วยบำรุงเส้นผม การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ที่มีแร่ธาตุ วิตามินต่างๆ ที่พร้อมจะช่วยให้เส้นผมแข็งแรงจากเซลล์รากผมจนถึงปลายผมได้ ท่านควรทานแร่ธาตุที่มีส่วนผสมของธาตุเหล็ก สังกะสี(Zinc) ไข่แดง ธัญพืช ผัก ผลไม้ เป็นต้น รวมทั้งวิตามินเอเช่น ถั่วเหลือง รำข้าวที่มีส่วนช่วยในการกระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นผมได้อีกด้วย
  5. การดูแลสุขภาพร่างกาย และจิตใจให้แจ่มใสอยู่เสมอ การรับประทานอาหารที่ไม่ครบ 5 หมู่ รวมทั้งมีความเครียดตลอดเวลา อาจจะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดผมร่วงได้นั้นเอง
  6. การเข้าปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่สามารถวิเคราะห์ถึงปัญหาผมขาด หลุดร่วงที่ท่านกำลังเผชิญก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ทราบถึงสาเหตุที่แท้จริง พร้อมกับการแก้ไขได้อย่างตรงจุด โดยสามารถเข้ารับการแก้ไขผ่านโปรแกรมต่างๆ จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ดังนี้
  • การเข้ารับการรักษาด้วยยาแก้ผมร่วง ซึ่งการใช้ยาแก้ผมร่วงอาจจะเป็นเพียงการดูแลรักษาอาการผมร่วงเบื้องต้นเท่านั้น การรับประทานยาแก้ผมร่วงนี้จะเป็นเพียงช่วยส่งเสริมการสร้างเซลล์รากผมที่ยังทำงานอยู่ให้กลับมาแข็งแรง ลดปัจจัยที่เป็นสาเหตุให้เกิดผมร่วงเท่านั้น
  • การฉีดสเต็มเซลล์ผม Rigenera Activa ซึ่งคือการนำเซลล์ที่เรียกว่า เซลล์ต้นกำเนิด หรือ สเต็มเซลล์ (Stem cell) จากรากผมของตนเองมาฉีดลงไปในหนังศีรษะ เพื่อกระตุ้นให้รากผมแข็งแรงขึ้น สามารถสร้างเส้นผมมากยิ่งขึ้น ลดการขาดหลุดร่วงของเส้นผมได้อีกทางหนึ่ง
  • เลเซอร์ LLLT (Low Level Laser Therapy) ที่เป็นการใช้เลเซอร์จากคลื่นแสงในความถี่ต่ำ เพื่อฉายลงศรีษะให้เซลล์ต่างๆได้ดูดซับพลังงานจากคลื่นความถี่ต่ำดังกล่าว จนเกิดกระตุ้นการหมุนเวียนของเลือดในบริเวณหนังศีรษะ พร้อมกับนำสารอาหารมาหล่อเลี้ยงเซลล์รากผมให้แข็งแรง ผมงอกเร็ว ร่วงน้อยลง ผมดูหนายิ่งขึ้นนั้นเอง
  • การปลูกผม FUE (Follicular Unit Extraction) เป็นการปลูกถาวรอีกรูปแบบหนึ่ง ที่ใช้การปลูกถ่ายเซลล์รากผมลงไปในบริเวณที่ต้องการ ทำให้ผมบริเวณนั้นมีเซลล์รากผมถาวร ไม่หลุดร่วงซ้ำ จึงมีแผลการผ่าตัดขนาดเล็ก

หากท่านใดมีความกังวลใจต่ออาการผมขาดหลุมร่วง จนลดความมั่นใจต่อการดำเนินชีวิตนั้น ทาง Absolute hair clinic คลินิกปลูกผมถาวรด้วยเทคนิค การปลูกผม FUE , การปลูกผมDHI , การปลูกผม FUT  รวมทั้งช่วยรักษาผมร่วง ผมบางให้กับท่านที่พบเจอปัญหาดังกล่าว ด้วยอาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการยอมรับจาก American board, FISHRS, Platinum Follicle Award พร้อมทั้งได้รับการยอมรับจากการวิจัยระดับโลกที่พร้อมให้คำปรึกษาทุกปัญหาผมขาดหลุดร่วงกับท่านโดยตรง

คำถามที่พบบ่อย

สระผมแล้วผมร่วงเยอะมาก ผิดปกติไหม

สระผมแล้วผมร่วงเยอะ เป็นเรื่องปกติ เนื่องจากช่วงที่ผมเปียก เป็นช่วงเวลาที่ผมจะอ่อนแอที่สุด ทำให้ผมขาดร่วงได้ง่าย ประกอบกับผมที่เตรียมร่วง จะร่วงได้มากในช่วงที่สระผม ผมจึงร่วงมาก แต่ก็เป็นปริมาณปกติ

หากสระผมทุกวัน ผมสามารถร่วงได้ประมาณครั้งละ 100 เส้น หรือหากสระผมวันเว้นวัน ผมก็สามารถร่วงในช่วงที่สระผมได้มากถึง 200 เส้นเป็นปกติ หากสงสัยว่าผมกำลังร่วงมาก ควรเก็บผมมานับ หากร่วงมากกว่าจำนวนดังกล่าว อาจจะต้องไปพบแพทย์เพื่อขอคำปรึกษา

หวีผมบ่อยทำให้ผมร่วง จริงไหม

หวีผมบ่อยทำให้ผมร่วงจริง แต่ผมที่ร่วงเป็นผมที่รูขุมขนเตรียมจะผลัดออกมาอยู่แล้ว ดังนั้นการหวีผมไม่ได้ทำให้ผมร่วงมากกว่าที่ควรเป็น ในทางกลับกัน การหวีผมเป็นวิธีทำให้ผมหนาด้วย

การหวีผมที่ถูกวิธีจะไปกระตุ้นรากผมให้ทำงานได้ดีขึ้น ช่วยผลัดผมชุดเก่า ผลัดเซลล์ผิวหนังเก่าที่เตรียมหลุดออก ดังนั้นการหวีผมไม่ได้ทำให้ผมร่วงมากขึ้น แต่ทำให้ผมดกหนาขึ้นในทางอ้อม

การหวีผมให้ถูกวิธีทำอย่างไร มีวิธีอื่นๆที่ทำให้ผมดกหนาได้อีกหรือไม่ : วิธีทำให้ผมหนา

ข้อสรุป ‘ผมคนเราร่วงวันละกี่เส้น’

ผมคนเราร่วงวันละประมาณ 50 – 100 เส้น ขึ้นอยู่กับการใช้ชีวิต ฮอร์โมน จำนวนผม และรูขุมขนบนศีรษะ 

การนับว่าผมร่วงวันละกี่เส้น เป็นเรื่องที่ดี เนื่องจากจำนวนเส้นผมจะเป็นตัวช่วยตรวจสอบในเบื้องต้นว่า ผมร่วงมากเกินไป หรือร่วงมากกว่าที่เคยเป็นหรือไม่ หากรู้ตัวเร็ว รีบมาพบแพทย์ ก็จะรักษาได้ง่าย ทำให้ผมกลับมาดกดำเหมือนเดิมได้ในเวลาไม่นาน

กำลังเครียดเรื่องอาการผมร่วง ผมบาง เป็นโรคบางอย่างที่หนังศีรษะ สามารถสอบถามเพิ่มเติม หรือส่งรูปศีรษะมาปรึกษากับแพทย์จาก Absolute Hair Clinic ได้โดยตรงที่ Line: @Absolutehairclinic


วิธีแก้ผมร่วง ด้วยการพบแพทย์

References

Jamie Smith (2018 ,January 18).Traction alopecia: Symptoms and prevention. Retrieved  May 2023 ,from www.medicalnewstoday.com/articles/320648

Scott Frothingham (2018, September 21).What Can I Do About an Uneven Hairline?. Retrieved  May 2023 ,from https://www.healthline.com/health/uneven-hairline

SHARLYN PIERRE (2021,December 21).How to Tell If Traction Alopecia Is Causing Your Hair Loss , Retrieved  May 2023 ,from www.allure.com/story/traction-alopecia-hair-loss-prevention-and-care

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณเองได้โดยการคลิกตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยการเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหาให้เหมาะสมกับความสนใจของคุณ หากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจของคุณได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า